ถ้าจะพูดถึงเทรนด์ที่คนไทยและคนทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องโลกร้อน ที่นับวันมีแต่จะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น นอกจากการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแล้ว การสร้างบ้านโดยคำนึงถึงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราจะช่วยดูแลโลกอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ตอนสร้างไปจนถึงตอนที่เข้าอาศัยอยู่
วันนี้จระเข้จะพาทุกคนไปพูดคุยกับรองศาสตราจารย์ ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาคาร (Building Technology) อาคารประหยัดพลังงานและอาคารเขียวกันว่าจะมีนวัตกรรมใดที่น่าสนใจบ้าง
- นอกจากภาวะโลกร้อน ยังมีอะไรอีกที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น?
- นอกจากวัสดุก่อสร้างแล้ว ยังมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่จะช่วยลดคาร์บอนในการสร้างบ้าน
- ควรเลือกสีทาบ้านแบบที่ผลิตจากวัสดุแบบไหน ถึงจะช่วยลดคาร์บอนได้
- สีทาบ้านที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือฉลากลดโลกร้อน มีเกณฑ์การตัดสินอย่างไรบ้าง
- เทคโนโลยีการสร้างบ้านที่ช่วยลดคาร์บอนที่น่าจับตามองในอนาคตมีอะไรบ้าง
ปัจจุบันเทรนด์การสร้างบ้านพร้อมกับลดคาร์บอนมีอะไรบ้าง?
ภาพ: แนวคิดการสร้างบ้านเพื่อลดคาร์บอน
“ในเรื่องการก่อสร้าง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนมองได้ 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรก คือเรื่องการก่อสร้าง เรื่องวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง อย่างที่สองเป็นเรื่องของการใช้งานสอยภายในบ้าน การใช้พลังงาน การใช้น้ำ การผลิตขยะ"
ดังนั้นไทม์ไลน์การปล่อยคาร์บอนจึงแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ช่วงที่ก่อสร้างเสร็จแล้วแล้วมีขั้นตอนปฏิบัติ (Operate) อย่างไร ถ้าถามว่าเทรนด์เป็นอย่างไร เราจะมาดูสัดส่วนของการใช้งานของบ้านหลังหนึ่ง การปล่อยคาร์บอนจากการก่อสร้างในช่วงต้น จะมีประมาณ 40% แล้วอีก 60% เป็นการปล่อยคาร์บอนในช่วงที่เราใช้สอยบ้าน
เพราะฉะนั้นตอนนี้ถ้าเราพูดถึงเรื่องบ้าน เราจะเน้นเรื่องของการใช้สอยเป็นหลัก เช่น การติดโซลาร์เซลล์ ยังไม่ได้ไปมองเรื่องการก่อสร้างและการใช้วัสดุที่ Low Carbon มากมายเท่าไรนัก แต่เทรนด์ในอนาคตก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
นอกจากภาวะโลกร้อน ยังมีอะไรอีกที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น?
ภาพ: ผังเมืองที่แออัด
โลกร้อนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิสูงมากขึ้น แต่สังคมเมืองที่หนาแน่นก็ทำให้โลกร้อนขึ้นด้วย โดยการออกแบบเมืองที่หนาแน่น รถติด ต้นไม้ใหญ่ไม่ค่อยมี ทำให้อากาศร้อนสะสมตัวอยู่ในเมือง อย่างเช่นกรุงเทพฯ ก็จะร้อนอบอ้าวมากในช่วงเดือนเมษายน ไปจนถึงช่วงกลางคืน ทำให้คนเปิดหน้าต่างรับลมเย็นไม่ได้ ต้องเปิดแอร์ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการใช้สอยภายในบ้านก็จะยิ่งปล่อยคาร์บอนมากขึ้นไปอีก
นอกจากวัสดุก่อสร้างแล้ว ยังมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่จะช่วยลดคาร์บอนในการสร้างบ้าน
ภาพ: บ้านรับแสงสว่างโดยตรง
“นวัตกรรมเรื่องสีไม่เพียงให้ความสำคัญกับเรื่องโลกร้อน แต่ยังให้ความสำคัญกับการใช้งานที่สะดวกขึ้น”
เรื่องสีจะเห็นได้ว่าเมืองร้อนจะมีประสิทธิภาพค่อนข้างเยอะ เราจะเคยได้ยินการผลิตสีที่ขาวมาก ๆ ออกมา เพื่อให้สะท้อนความร้อนได้ดี ซึ่งเหมาะกับการใช้ในเขตร้อนอย่างกรุงเทพฯ ที่แดดจัด ๆ
สีแบบนี้จะช่วยลดความร้อน ช่วยให้เราใช้เครื่องปรับอากาศน้อยลงไป
ภาพ: สีทาบ้าน
ในอนาคตเราก็จะได้เห็นสีที่สะท้อนความร้อนได้ดีมาก ๆ กันมากขึ้น เพราะมีสถานที่วิจัยอยู่หลายที่ ทั้งสหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น กลไกของการทำสีแบบนี้ก็คือจะช่วยสะท้อนความร้อนให้กลับสู่บรรยากาศ ทำให้เมืองไม่อบความร้อนไว้ ซึ่งจะส่งผลต่ออาคารต่าง ๆ ให้ใช้ไฟฟ้าน้อยลง ไม่ใช่แค่ส่งผลดีต่ออาคารที่ทาสีเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว
ควรเลือกสีทาบ้านแบบที่ผลิตจากวัสดุแบบไหน ถึงจะช่วยลดคาร์บอนได้
ภาพ: สีทาภายนอกบ้าน
ตอนนี้นวัตกรรมที่ใช้ผลิตสีทาบ้าน จะมีการผสมเม็ดที่เรียกว่าเม็ดซิลิคอน เป็นซิลิก้าเข้าไปในสีทาอาคาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มการสะท้อนได้ดีกว่าเม็ดสีทั่ว ๆ ไป เพราะฉะนั้นวัสดุเหล่านี้ก็จะมีมากขึ้น การพัฒนาในช่วงนี้เป็นซิลิก้า ต่อไปก็จะเป็นนาโนอย่างอื่นเข้ามาผสม
“เม็ดซิลิคอนจะช่วยเพิ่มการสะท้อนแสงและความร้อนได้ดีกว่าเดิม”
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องความคงทนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ผสมนาโนเข้าไปแล้วฝุ่นไม่เกาะ เพราะสีเหล่านี้ถ้ามีฝุ่นมาเกาะ ก็จะทำให้ผนังเก่าเร็ว และสะท้อนความร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็ต้องพัฒนาสารเคลือบ และจะต้องดูแลรักษากันเป็นประจำ เพื่อคงประสิทธิภาพไว้
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
นอกจากการเติมเม็ดซิลิคอนและนาโนในเนื้อสีแล้ว ก็ยังมีนวัตกรรมอื่น ๆ อีก เช่น สีที่ผลิตจาก Lime Base เป็นหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง เทคโนโลยีกราฟีนที่ช่วยให้เนื้อสีแข็งแกร่งและยืดหยุ่นได้ดี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสีทาบ้านที่ช่วยลดคาร์บอนที่น่าจับตามองไม่น้อยเลยทีเดียว
สีทาบ้านที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือฉลากลดโลกร้อน มีเกณฑ์การตัดสินอย่างไรบ้าง
ภาพ: สีจระเข้ ช่วยดูดซับคาร์บอน
ปัจจุบันมีฉลากลดโลกร้อนอยู่เยอะมาก บางฉลากก็จะให้ความสำคัญกับสารเคมีที่นำไปผสม ว่าส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อาคารและสภาพแวดล้อมมากแค่ไหน บางฉลากก็จะเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิต เช่น ฉลาก Low Carbon บางฉลากก็อาจจะพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว เช่น ฉลากเขียว
เพราะมีฉลากให้เลือกหลายแบบ จึงจะต้องดูว่าการออกแบบอาคารนั้นเน้นไปที่เรื่องใด เช่น เรื่องพลังงาน เรื่องสุขภาพ (Well-Being) ในอนาคตฉลากเหล่านี้จะมีบทบาทมากขึ้น
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
หยุด! ทำลายโลกด้วยการลดคาร์บอนไดออกไซด์ เปลี่ยนมาใช้สีจระเข้ Biosphere Premium, Ecosphere Premium, Stuki Premium สีที่พัฒนามาเพื่อรักษาโลกของเรา ตามแนวทางจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศของ COP 26 การประชุมระดับโลกเรื่องภาวะโลกร้อนของ 190 ประเทศ เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยคุณสมบัติของสีจระเข้ที่ช่วยลดโลกร้อนได้แก่
- Lime Base ผลิตจากหินปูนธรรมชาติ 100% ไม่มีสารระเหยเป็นพิษ ต้นเหตุของโรคมะเร็ง
- หินปูนช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่สีแห้งตัว เปรียบเสมือนได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบ้าน
ภาพ: สีจระเข้ ไร้สารระเหย
ถ้าเป็นการเลือกสีทาบ้าน เรามักจะได้ยินคำว่า Green Guard หรือ Green Seal ที่จะเน้นเรื่องสีที่มี VOCs หรือสารระเหยอยู่น้อย แต่ถ้าหากเป็นฉลากเขียวทั่วไป ฉลากประหยัดพลังงาน หรือฉลาก Low Carbon ก็จะเน้นเรื่องค่าการสะท้อนความร้อนเป็นหลัก ถ้าสะท้อนได้มากก็จะได้ฉลากประเภทนี้ไป
ดังนั้นบางอาคารก็เลือกทำเรื่องอาคารเขียว บางอาคารอาจเลือกเรื่อง Well-Being หรือจะเลือกทำทั้งคู่พร้อมกันไปเลย สีส่วนใหญ่ก็จะพัฒนาเพื่อให้เข้ากับมาตรฐานหลากหลายด้าน
เรื่องของวัสดุคาร์บอนต่ำ เราก็จะนึกถึงพวกวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ แต่ด้านการใช้งานก็มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้พลังงานทดแทนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงาน การใช้แสงสว่างธรรมชาติ จะเป็นตัวที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ภาพ: การติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
สำหรับต้นทุนการติดโซลาร์เซลล์ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท ตัวอย่างเช่นถ้าเราจะติดโซลาร์เซลล์ 5 กิโลวัตต์ ก็จะต้องจ่ายประมาณ 100,000-200,000 บาท อย่างไรก็ตามก็จะขึ้นอยู่กับเกรดของแผงโซลาร์เซลล์ และก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าขออนุญาต ค่าบำรุงรักษา ค่าประกัน เป็นต้น
เพราะระบบโซลาร์เซลล์เป็นส่วนที่ติดตั้งบนหลังคา จึงต้องเผชิญกับแสงแดด ฝน ฝุ่น สิ่งสกปรก เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็อาจจะมีสิ่งสกปรกเกาะติด รวมถึงระบบภายในอาจชำรุดได้ จึงควรจะบำรุงรักษาอยู่เป็นประจำ โดยแบ่งตามส่วนต่าง ๆ ได้แก่
- แผงโซลาร์เซลล์ ควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด หรือฉีดน้ำให้ฝุ่นผงหลุดออกให้หมด หลีกเลี่ยงแปรงโลหะ เพราะจะทำให้เกิดร่องรอยเสียหายได้
- ระบบควบคุม ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดฝุ่นบนระบบแปลงกระแสไฟฟ้าและระบบควบคุมต่าง ๆ พร้อมทั้งตรวจสอบว่ามีจุดไหนเสียหายหรือไม่
- ระบบสายไฟ ควรเช็กดูว่ามีร่องรอยความเสียหาย เช่น รอยสัตว์แทะ รอยไหม้ หรือมีส่วนไหนเสื่อมสภาพหรือไม่ ถ้าพบควรเรียกช่างมาซ่อมทันที
- แบตเตอรี่ ตรวจสอบดูว่าปริมาณสารละลายอิเล็กโทรไลท์มีเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ และดูบริเวณขั้วว่ามีฝุ่นหรือคราบสกปรกหรือไม่ และอย่าลืมตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับสม่ำเสมอ
เทคโนโลยีการสร้างบ้านที่ช่วยลดคาร์บอนที่น่าจับตามองในอนาคตมีอะไรบ้าง
ภาพ: การรีไซเคิลวัสดุเหล็ก
ทุกวันนี้การลดคาร์บอนเราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่า คาร์บอนซิงก์ (Carbon Sink) เป็นตัวกักเก็บคาร์บอน เราจะเห็นเรื่องการใช้เหล็กและไม้มากขึ้น เป็นเทรนด์ที่มาจากต่างประเทศ เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้ ส่วนไม้เป็นตัวกักเก็บคาร์บอน แต่ถ้าเป็นคอนกรีตจะรีไซเคิลได้ยากกว่า เทรนด์ที่จะเห็นได้มากขึ้นจึงเป็นเรื่องของไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ลามิเนต หรือเหล็กที่รีไซเคิลได้เกือบ 100% มาใช้กันมากขึ้น
รองศาสตราจารย์ ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร
ศาสตราจารย์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาคาร (Building Technology) อาคารประหยัดพลังงานและอาคารเขียว
ที่ปรึกษาของ International Well Being Institute (IWBI)
คณะกรรมการมูลนิธิอาคารเขียวไทย
คณะกรรมการรับรองการลดหรือหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม ประเทศสหรัฐอเมริกา
สนใจความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างในด้านอื่น ๆ ไปอ่านกันต่อได้เลยที่