สำหรับคนใส่ใจสุขภาพแล้ว สภาพแวดล้อมที่ดีก็มีส่วนช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วย การเลือกวัสดุตกแต่งบ้านจึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อทั้งคนในบ้าน และโลกของเรา ใครที่อยากสร้างหรือรีโนเวทบ้านให้ทั้งดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สีทาบ้านก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทีช่วยเสริมได้ เพราะนวัตกรรมสีทาบ้านยุคใหม่นั้นถูกพัฒนาให้มีสารเคมีน้อยลง พร้อมด้วยคุณสมบัติช่วยประหยัดพลังงาน ดีต่อคนในบ้านและช่วยรักษาโลกไปพร้อม ๆ กัน
วันนี้จระเข้จะพาทุกคนไปพูดคุยกับรองศาสตราจารย์ ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสร้างอาคาร (Building Technology) อาคารประหยัดพลังงานและอาคารเขียวกันว่าจะมีนวัตกรรมสีทาบ้านแบบใดที่น่าสนใจ และตอบโจทย์กับการสร้างอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันบ้าง
ตามหลักอาคารสีเขียว สีที่เหมาะสมต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
เราจะแบ่งประเภทสีเป็นสีภายในและภายนอก ถ้ามองในเรื่องของอาคารเขียวจะประกอบไปด้วยการประหยัดพลังงาน และส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายใน ก็คือสุขภาพของคนอยู่อาศัย
ภาพ: สีทาภายนอก
“สีทาภายนอก ควรเป็นสีอ่อนที่สะท้อนความร้อนได้ดี”
ถ้าเป็นเรื่องของการประหยัดพลังงาน สีภายนอกเป็นส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันความร้อนและความชื้น ไม่ให้ซึมเข้าไปในบ้าน สีภายนอกจึงควรเป็นสีอ่อน ที่ดูดซับความร้อนต่ำ และ สะท้อนความร้อนได้ดี ลดปัญหาเรื่องความร้อนสะสม และลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ มีการยึดเกาะแน่น คงทน ทนทานต่อมลภาวะ และสภาพอากาศ
ภาพ: สีทาภายใน
“สีทาภายในควรจะดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย”
สำหรับสีทาภายในจะเน้นเรื่องสุขภาพของคน ซึ่งหลักอาคารเขียวจะคำนึงถึงเรื่องนี้ สีที่ใช้จึงไม่ควรเป็นสีที่มีสารตกค้าง ทั้งโลหะหนักหรือสาร VOCs ที่จะทำลายสุขภาพของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอาคารประเภทโรงเรียนและโรงพยาบาล จะให้ความสำคัญกับสีทาภายในเป็นพิเศษ จะต้องมีค่าการปล่อยสารVOCs ที่ต่ำตามมาตรฐานของสถานที่นั้นๆ
สาร VOCs ในสีทาบ้านคืออะไร? แล้วควรจะเลือกซื้ออย่างไรเพื่อมาใช้ที่บ้าน?
ภาพ: สีจระเข้ สี Non VOCs ไม่มีสารระเหย
VOCs (Volatile Organic Compounds) สารที่ผสมเข้าไปในสีเพื่อเป็นสารละลาย ช่วยให้ทาสีแล้วเกาะติดง่าย เราจะเห็นว่าสีทาบ้านในปัจจุบันที่ใช้สาร VOCs น้อย จะเป็นสีสูตรน้ำ โดยสีเหล่านี้จะไม่มีส่วนผสมของเบนซี (Benzene) หรือทินเนอร์ (Thinner) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้ทาง่าย เกาะติดง่าย แต่เวลาทาไปแล้วใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งแน่นอนว่าผู้อยู่อาศัยก็จะได้รับสารเหล่านี้ไปจนกว่าสารจะระเหยออกจนแห้งสนิท หรือการปล่อยสารจะลดลงจนถึงจุดที่ปลอดภัย
ดังนั้นสารระเหยเหล่านี้จะไม่ค่อยพบแล้วในอาคารเก่า แต่ถ้าเป็นอาคารสร้างเสร็จใหม่ ๆ เช่น อาคารที่สร้างเสร็จเดือนแรก จะปล่อยสารระเหยออกมาเยอะมาก เพราะว่าสียังไม่ค่อยแห้ง จนบางครั้งผู้อยู่อาศัยก็สามารถรู้สึกถึงสารระเหยได้ จากกลิ่นฉุขของสารเคมีภายในห้อง
สำหรับใครที่สร้างบ้านใหม่ ควรถามผู้รับเหมาก่อนไหมว่า สีที่ใช้มี VOCs หรือเปล่า
ภาพ: สีจระเข้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ LEED
ปกติสีทาบ้านจะมีฉลากบอกค่า VOCs ถ้าเป็นสีที่มีฉลากเขียวก็จะมีสารเหล่านี้เจือปนอยู่น้อย ส่วนอาคารเขียวก็จะมีหลายมาตรฐาน มาตรฐานต่างประเทศก็จะดูเยอะหน่อย เช่น มาตรฐานรัฐแคลิฟอร์เนียจะมีการเติมสารนี้น้อยมาก อาจจะแตกต่างมาตรฐานของที่ยังไม่มีการควบคุมอย่างเต็มที่นัก แต่ในอนาคตก็คงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
เพราะฉะนั้นผู้ซื้อบ้านสามารถถามได้ เช็กได้ว่าสีที่ใช้ได้รับฉลากเขียวหรือเปล่า ถ้าหากเป็นอาคารที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว ก็อาจจะใช้มาตรฐานเดียวกับที่รัฐแคลิฟอร์เนียเป็นฉลากของอาคาร
นวัตกรรมสีทาบ้านสำหรับอาคารสีเขียวแบบไหนบ้างที่น่าจับตามองในอนาคต?
ภาพ: สีจระเข้ยึดเกาะแน่น ไม่ต้องทาสีรองพื้น
“สีที่ทาแล้วพื้นผิวจะเหมือนกับใบบัวที่สะอาดอยู่ตลอดเวลา”
สำหรับสีภายนอก นวัตกรรมที่น่าจับตามองก็คือคุณสมบัติ Self-Clean หรือ Easy to clean ที่ช่วยให้สีไม่ดำง่าย ไม่ด่างง่าย วันนี้เราจะเห็นว่าสีทาภายนอกจำนวนหนึ่ง มีส่วนผสมของสารนาโนต่าง ๆ ซึ่งสารนาโนตรงนี้จะช่วยให้คราบต่าง ๆ เกาะติดน้อยลง โดยอนุภาคที่ผสมลงไปในสีจะช่วยให้ฝุ่นเกาะผนังยากขึ้น พูดง่าย ๆ คือ เมื่อทาสีแล้วพื้นผิวจะมีลักษณะคล้ายกับใบบัว เป็นใบบัวที่สะอาดอยู่ตลอดเวลา นวัตกรรมสำหรับสีภายนอกก็จะเป็นไปทางด้านนี้ค่อนข้างมาก
ภาพ: บ้านสีขาว
อีกส่วนหนึ่งของการพัฒนาสีภายนอกก็คือ “การพัฒนาสีที่ขาวที่สุด” เราอาจจะเคยได้ยินเรื่อง BMW ทำสีรถที่ดำที่สุด ซึ่งเป็นสีที่ดูดซึมแสงเข้าไปจนแทบจะไม่ปล่อยออกมา สีจึงดำสนิทมาก ๆ ส่วนสีที่ขาวที่สุดก็มีมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา พยายามผสมสีที่ขาวที่สุด ซึ่งจะมีค่าการสะท้อนแสงสูงมาก ๆ จึงดูดซึมความร้อนน้อยมาก ทางนักวิชาการก็เคลมว่ามีคุณสมบัติเหมือนกับการติดฉนวนให้อาคารเลย ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมในด้านนี้ก็จะช่วยประหยัดพลังงานภายนอกอาคาร
ภาพ: สีจระเข้ผลิตจากหินปูนธรรมชาติ 100%
“สีทาภายในลด VOCs เพื่อให้ตอบโจทย์เรื่อง Well-Being”
ส่วนสีทาภายในจะให้ความสำคัญกับเรื่อง Well-Being (สุขภาวะ) มากยิ่งขึ้น โดยสีทาภายในจะผสมสาร VOCs ให้น้อยที่สุด น้อยลงเรื่อย ๆ เพื่อให้ตอบโจย์การสร้างอาคารแบบ Well-Being ถ้าเป็นอาคารเขียวทั่วไป ระดับสาร VOCs ก็อาจจะสูงได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นอาคารที่ผ่านการรับรองด้าน Well-Being ก็จะต้องปล่อยสารออกมาน้อยลงไปอีก
ในอนาคตสีทาบ้านฉลากเขียว จะถูกนำไปใช้กับการสร้างคอนโดมากขึ้นไหม?
ภาพ: คอนโดมิเนียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตอนนี้เราเริ่มเห็นคอนโดต่าง ๆ อยากจะนำโครงการไปผ่านการรับรองกันมากขึ้น ทั้งเรื่องของอาคารเขียว และอาคาร Well-Being อาคารเหล่านั้นก็คงจะต้องใช้สีที่มีคุณภาพแบบนี้ แต่ว่าที่เหลือคงจะต้องค่อย ๆ เรียนรู้กันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ผู้ซื้อมีความสนใจในด้านนี้อย่างไร แต่คิดว่าก็คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น
รองศาสตราจารย์ ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร
รองศาสตราจารย์ ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร
- ศาสตราจารย์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีอาคาร (Building Technology) อาคารประหยัดพลังงานและอาคารเขียว
- ที่ปรึกษาของ International Well Being Institute (IWBI)
- คณะกรรมการมูลนิธิอาคารเขียวไทย
- คณะกรรมการรับรองการลดหรือหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
- การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม ประเทศสหรัฐอเมริกา
สนใจความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างในด้านอื่น ๆ ไปอ่านกันต่อได้เลยที่