ประเด็นสำคัญ
- นอกจากคาน เสา คานคอดิน และตอม่อแล้ว ฐานรากก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่รองรับน้ำหนักของวัสดุก่อสร้างทั้งหมดของอาคาร ซึ่งหากไม่สร้างให้เหมาะสมตามมาตรฐาน ก็อาจทำให้อาคารทรุดตัว พังทลาย เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยได้
- งานฐานรากมีให้เลือกหลายแบบทั้งฐานรากแผ่ ฐานรากเสาเข็ม ซึ่งมีประเภทแยกย่อย จะต้องเลือกให้เหมาะกับประเภทพื้นดินในบริเวณที่จะก่อสร้าง รวมถึงรูปแบบอาคารที่จะใช้งานอีกด้วย
งานฐานรากเป็นส่วนประกอบส่วนล่างสุดของบ้านหรืออาคาร ซึ่งช่วยรองรับน้ำหนักวัสดุก่อสร้างทั้งหมด โดยถ่ายเทน้ำหนักลงมาจากคาน เสา คานคอดิน และตอม่อ ซึ่งโครงสร้างส่วนนี้ก็มีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่จะก่อสร้าง เพื่อให้อาคารหรือที่อยู่อาศัยนั้นแข็งแรง มั่นคง ไม่เสี่ยงต่อปัญหาทรุดตัว หรือความเสียหายที่ยากต่อการซ่อมแซม อีกทั้งยังอาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยอีกด้วย วันนี้จระเข้จึงอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับโครงสร้างส่วนนี้กันให้มากขึ้นว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท และควรจะเลือกอย่างไรให้เหมาะสม
ฐานราก คืออะไร?
ภาพ: การก่อสร้างฐานราก
ฐานราก คือ โครงสร้างชั้นล่างสุดของบ้านที่อยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของอาคารที่ถ่ายเทลงมาผ่านคาน เสา ผ่านฐานรากผ่านสู่ดิน โดยนิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะแข็งแรงทนทาน รองรับน้ำหนักทั้งหมดได้ดี ไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือทำให้หน้าดินพังทลายจนรับน้ำหนักไม่ไหว ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ อีกทั้งยังก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็ว
วิธีเลือกฐานรากดูจากอะไรได้บ้าง?
ภาพ: การสร้างฐานรากบนพื้นดิน
การเลือกฐานรากให้เหมาะกับอาคารนั้น จะต้องดูที่พื้นที่ที่จะก่อสร้างเป็นหลัก ว่ามีลักษณะพื้นดินเป็นอย่างไร เป็นพื้นดินแข็งหรือพื้นดินอ่อนที่มีดินแข็งอยู่ลึกลงไป โดยจะต้องให้วิศวกรมาตรวจสอบพื้นที่ เพื่อให้เลือกรูปแบบฐานรากให้เหมาะสม และคำนวณว่าควรสร้างฐานรากขนาดและความหนาเท่าไร จึงจะรองรับน้ำหนักทั้งหมดของอาคารได้ เพื่อความปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการทรุดหรือเสียหายในอนาคต
เนื่องจากการสร้างรากฐานอาคารนั้นต้องเลือกตามลักษณะพื้นดินที่แตกต่างกันออกไป ลักษณะของงานรากฐานจึงมีให้เลือกหลายแบบ ตามจระเข้ไปดูกันต่อว่าจะมีทั้งหมดกี่แบบและแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร
ลักษณะของงานฐานรากมีกี่แบบ
1. ฐานรากแผ่
ภาพ: ฐานรากแผ่
ฐานรากแผ่ (Shallow Foundation) ฐานรากที่วางบนดิน (Spread Foundation) หรือฐานรากตื้น คือ พื้นฐานโครงสร้างที่ไม่มีเสาเข็ม นิยมสร้างขนาดใหญ่เพื่อกระจายน้ำหนักลงไปยังพื้นดินโดยตรง นิยมสร้างบนพื้นดินที่เป็นพื้นแข็ง หนาแน่น รองรับน้ำหนักได้ดี เหมาะสำหรับอาคารที่ไม่มีน้ำหนักมากจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นอาจรับน้ำหนักโครงสร้างอาคารไม่ไหว นอกจากนี้ฐานรากแผ่ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ฐานรากแผ่เดี่ยว (Isolated Footing) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยจะต้องมีความหนาเพียงพอต่อการรับน้ำหนักจากเสาและตอม่อ โดยตอม่อจะตั้งอยู่ตรงกลางฐานราก
- ฐานรากแผ่ร่วม (Combined Footing) ใช้สำหรับรองรับเสาและตอม่อสองต้นขึ้นไป มักใช้กับการสร้างเสาใกล้กันมาก ๆ ประมาณ 1.5-2 เมตร ใช้สำหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถสร้างฐานรากให้สมมาตรกันได้ ซึ่งอาจส่งผลให้อาคารทรุดตัวในอนาคต
- ฐานรากแผ่ปูพรม (Mat or Raft Foundation) หรือฐานรากแพ มีลักษณะเป็นฐานแผ่ร่วมขนาดใหญ่แผ่นเดียวกันทั้งหมด ใช้รับน้ำหนักเสาหลายต้นได้ นิยมใช้กับอาคารสูงขนาดใหญ่ที่สร้างบนพื้นที่แคบ แต่เป็นรูปแบบที่มีค่าใช้จ่ายสูง
2. ฐานรากเสาเข็ม
ภาพ: ฐานรากเสาเข็มแบบฐานเดี่ยว
สั่งซื้อ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ ซีเมนต์เกร้าท์ได้เลยตอนนี้ คลิก
ฐานรากเสาเข็ม (Piled Foundation) คือ ฐานรากที่ใช้งานร่วมกับเสาเข็ม โดยเสาเข็มจะเป็นตัวช่วยรองรับน้ำหนักอาคาร และกระจายลงไปใต้ดิน เหมาะสำหรับพื้นดินที่ไม่หนาแน่นมากนัก เช่น พื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งมีระยะพื้นดินแข็งอยู่ลึกลงไปประมาณ 17-23 เมตร หากไม่มีเสาเข็มฐานรากก็ไม่สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้ นอกจากการรับน้ำหนักแล้วฐานรากเสาเข็มยังแบ่งแยกย่อยตามลักษณะได้ดังต่อไปนี้
- ฐานเดี่ยว (Isolated Footing) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือวงกลม ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตอม่อเพียงต้นเดียวแล้วถ่ายเทน้ำหนักลงสู่เสาเข็ม โดยตอม่อจะอยู่ตรงกลางฐานพอดี
- ฐานใต้กำแพง (Strip Footing) หรือฐานแบบต่อเนื่อง ใช้สำหรับรองรับน้ำหนักผนัง ได้ทั้งผนังก่ออิฐและผนังคอนกรีต เป็นรูปแบบที่นิยมในอดีตเพราะไม่จำเป็นต้องมีเสา แต่จะสร้างฐานรากยาวไปตลอดทั้งแนวผนัง เหมาะสำหรับอาคารที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น
สินค้าแนะนำ
ภาพ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ ซีเมนต์เกร้าท์ (ปูนเกร้าท์ให้กําลังอัดสูง >750 ksc ไหลตัวได้ดี)
สั่งซื้อ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ ซีเมนต์เกร้าท์ได้เลยตอนนี้ คลิก
3. ฐานรากสำเร็จรูป
ภาพ: ฐานรากสำเร็จรูป
ฐานรากสำเร็จรูป คือ ฐานรากรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ก่อสร้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะมาในรูปแบบของกรอบฐานราก นำมาวางที่หน้างานแล้วเทคอนกรีตลงในส่วนที่เหลือ โดยไม่ต้องถอดแบบหล่อออก ตามวิธีดั้งเดิมที่จะต้องวางแบบหล่อเทคอนกรีต ซึ่งกินเวลานานกว่า เพราะฐานรากสำเร็จรูปสามารถฝังลงดินไปได้เลย ถือเป็นทางเลือกที่ช่วยให้ก่อสร้างได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น
ภาพ: จระเข้ แอดมิค พรูฟ
การก่อสร้างฐานรากให้เหมาะสมกับประเภทพื้นดินและอาคาร จะช่วยให้โครงสร้างที่อยู่อาศัยแข็งแรง ทนทาน มั่นคงคู่กับครอบครัวของคุณอย่างยาวนาน สำหรับการเทคอนกรีตเพื่อสร้างรากฐาน ควรเสริมความแข็งแรงด้วยน้ำยาจระเข้ แอดมิค พรูฟ น้ำยาผสมคอนกรีตลดการซึมน้ำ ซึ่งช่วยปรับสภาพเนื้อคอนกรีตให้หนาแน่นมากขึ้น ลดรูพรุนจากการกระจายตัวที่ไม่สม่ำเสมอ และยังช่วยป้องกันน้ำซึมผ่านเนื้อคอนกรีต ช่วยให้คอนกรีตที่ได้นั้นทนทาน ไหลตัวได้ดีขึ้น ป้องกันการแตกร้าวเมื่อคอนกรีตแห้งตัว นอกจากนี้ยังไม่มีส่วนผสมของสารประกอบคลอไรด์ จึงปลอดภัยต่อเหล็กเสริม เพราะไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน ปลอดภัยต่อการทรุดตัวเสียหายที่แก้ไขได้ยากในอนาคต ชมรายละเอียดจระเข้ แอดมิค พรูฟ
สั่งซื้อ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ ซีเมนต์เกร้าท์ได้เลยตอนนี้ คลิก