จระเข้ จีพี เกร้าท์ พร้อมเสริมความแข็งแรงโครงสร้างบ้าน!
โครงสร้างบ้านถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะถือเป็นตัวชี้วัดว่าบ้านหลังนี้มีความมั่นคง รวมถึงฐานรากแข็งแรงพอหรือไม่! เพราะฉะนั้นควรออกแบบโครงสร้างให้ได้มาตรฐาน และตรวจสอบโครงสร้างบ้านให้ละเอียด ว่ามีจุดที่เกิดปัญหา หรือได้รับความเสียหายอะไรหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ต้องตามซ่อมภายหลัง และลดความเสี่ยงโครงสร้างพังลงมา ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุแรงร้ายต่อคนในบ้าน
องค์ประกอบโครงสร้างบ้านมี 2 ส่วน ดังนี้
- โครงสร้างบนดิน ได้แก่ เสา, คาน, พื้น, บันได และหลังคา
- โครงสร้างใต้ดิน ได้แก่ เสาตอม่อ, ฐานราก และเสาเข็ม โดยเป็นส่วนที่ถูกขึ้นก่อน
อย่างที่พี่เข้ได้กล่าวไว้ในหลายบทความว่า ถ้าไม่อยากให้บ้านทรุดตัวเพราะออกแบบผิด! สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือการออกแบบบ้านที่เหมาะสม รวมถึงเลือกสถาปนิก และช่างก่อสร้างที่มีความรู้ความสามารถ ที่สำคัญคือเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และหมั่นตรวจเช็คแต่ละจุดภายในภายบ้านอย่างสม่ำเสมอ พี่เข้มีข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจเช็คโครงสร้างบ้านมาบอกครับ
ทดสอบเสาเข็ม
หากเป็นบ้านจัดสรรควรมีการทดสอบเสาเข็มตามมาตรฐานของวิศวกร และต้องมีเอกสารยืนยัน รวมถึงมีการระบุวัน และเวลาอย่างชัดเจน โดยบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านทาวน์เฮาส์ มีการทดสอบ 2 แบบ ดังนี้
1. Blow Count เป็นวิธีการประเมินกำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
2. Seismic Test เป็นการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม โดยไม่ว่าจะเป็นเข็มประเภทใดต้องทำการตรวจสอบทุกต้น 100%
ตรวจสอบรอยร้าว
หากมีแพลนซื้อบ้าน หรือกำลังสร้างบ้านใหม่ สิ่งที่ต้องสังเกตเป็นลำดับต้นๆ คือ รอยร้าวภายในบริเวณบ้าน ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัว โดยลักษณะรอยร้าวที่เป็นอันตราย ได้แก่
รอยร้าวที่คาน : เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับของเสา หรือฐานราก
รอยร้าวที่ผนัง : เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง
รอยร้าวบนพื้น : เกิดรอยร้าว หรือรอยสนิมเหล็กที่ใต้ท้องพื้นเป็นตาราง
รอยร้าวในเสา : เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง
รอยร้าวจากฐานรากทรุดตัว : เกิดจากการทรุดตัวของฐานรากหรือเสา โดยมีลักษณะที่รอยร้าวด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง หรือเกิดร้าวเฉียง 45 องศา
ตรวจสอบโครงสร้าง
หากโครงสร้างมีรอยร้าวขนาดร่องความกว้างมากกว่า 1 มม. ขึ้นไป ให้ทำการสังเกตว่ารอยร้าวมีการขยายมากแค่ไหน หากมีขนาดที่มากเกินไป แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการแก้ไขการซ่อมแซม
สำหรับใครที่มีการต่อเติมบ้าน สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือห้ามไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่ต่อเติม เชื่อมกับโครงสร้างหลักของตัวบ้าน ลดความเสี่ยงบ้านทรุดตัวตามไปด้วย เนื่องจากเสาเข็มที่ใช้มีขนาดไม่เท่ากับตัวบ้าน
รอยร้าวภายในบ้านเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาบ้านทรุดตัว! โดยรอยร้าวที่อันตราย และควรรีบทำการแก้ไข้ มีดังนี้
รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง
ถือเป็นรอยร้าวที่อันตรายมาก เกิดจากการแอ่นตัวของพื้น และคานที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น โดยรับน้ำหนักมากเกินไป หากพบรอยร้าวในลักษณะนี้ ให้รีบทำการย้ายของที่มีน้ำหนักมากออก
รอยร้าวมีสนิมบริเวณเหล็กเสริมใต้พื้น
เกิดจากการที่ไม่ได้หนุนลูกปูนขณะเทคอนกรีต ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาในเหล็กด้านในพื้นคอนกรีต จึงเกิดการขยายดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กหลุดลงมา ส่งผลให้พื้นไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้
รอยร้าวทแยงมุมบนผนัง
เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก หรือเสาบ้านที่อยู่ใกล้ผนังบริเวณนั้น โดยเป็นสัญญาณเตือนว่าโครงสร้างบ้านไม่มีความแข็งแรง ถือเป็นรอยร้าวที่อันตรายอย่างมาก ต้องรีบทำการซ่อมแซมโดยด่วน
รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาทและรอยร้าวบริเวณกลางพื้น
เกิดจากพื้นที่รับน้ำหนักมากเกินไป ถือเป็นสัญญาณเตือนถึงความอันตราย ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
ถ้าไม่อยากมีปัญหาโครงสร้างบ้านทรุด หรือเกิดปัญหาชวนปวดหัวตามมาไม่รู้จบ สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือหมั่นตรวจเช็คโครงสร้างบ้าน หากพบจุดที่เกิดปัญหาควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการแก้ไข ที่สำคัญคือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ พี่เข้ขอแนะนำ จระเข้ จีพี เกร้าท์ โดยมาพร้อมคุณสมบัติสำหรับงานเกร้าท์ใช้เป็นฐานรองส่วนโครงสร้างต่างๆ รวมถึงงานเกร้าท์ทั่วไป ช่องว่างแคบๆ รวมถึงคาน เสา และผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป และใช้สำหรับงานเกร้าท์กรอบประตูระหว่างกำแพง โดยให้กำลังอัดสูง ไม่มีน้ำเยิ้มบนผิวคอนกรีต และไหลตัวได้ดีไม่แยกตัว
เพียงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จระเข้สร้างบ้าน พร้อมลดปัญหาการซ่อมแซมในอนาคตได้ไม่มากก็น้อยแน่นอนครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างเสาและคานที่ได้มาตรฐาน ต้องมีลักษณะอย่างไร ?
โครงสร้างเหล็ก "เสาและคาน" สำคัญอย่างไร แตกร้าวแก้ไขอย่างไรดี
เลือกโครงสร้างหลังคาอย่างไร ให้เหมาะกับตัวบ้าน ?