ต่อเติมบ้านไม่ให้ถูกรื้อถอนภายหลัง ต้องระวังอะไรบ้าง?
เมื่อบ้านที่เราอยู่มานานนั้นดูแคบไป หรืออยากจะดัดแปลงให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ หรือเพียงแค่อยากปรับแต่งทัศนียภาพให้สดชื่นสบายตา เพราะเมื่อต้องต่อเติมบ้านทั้งทีจะต้องเตรียมอุปกรณ์มาก อาทิ ซื้ออุปกรณ์ปูกระเบื้องใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่เลเซอร์วัดระดับ และปูนหล่อฐานเสา (ปูนเกร้าท์) การต่อเติมจะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นการต่อเติมที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ไม่ใช่ว่าซื้อบ้านจัดสรรมาแล้วอยากขยายห้องออกไปลานจอดรถแล้วจะทำได้ มาดูกันครับว่าการต่อเติมแบบไหนต้องขออนุญาตบ้าง
คำว่า “ต่อเติม” นับรวมการทุบทิ้งหรือสร้างใหม่ โดยดูจากอะไรก็ตามที่เป็นการดัดแปลงโครงสร้างอาคาร และพื้นที่ที่บุคคลเข้าไปใช้สอยพื้นที่นั้นได้
สินค้าแนะนำ
ภาพ: จระเข้ รีแพร์ มอร์ต้า (ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้างสำเร็จรูป รับแรงอัดได้สูง การยึดเกาะดี)
สั่งซื้อ: จระเข้ รีแพร์ มอร์ต้า ได้เลยตอนนี้ คลิก
ต่อเติมบ้าน แบบไหนต้องขออนุญาต
ง
ถ้าเป็นในบ้านเราเอง การสร้างเพิ่ม / ลด จำนวนพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 5 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องแจ้งกับพนักงานท้องถิ่น โดยที่ต้องให้สถาปนิก หรือ วิศวกร ที่มีใบอนุญาตถูกต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองแบบให้ด้วย ระยะต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกันขนาดนี้ เพราะหากวันหนึ่งเกิดอัคคีภัย รถกู้ภัยจะได้เข้าถึงได้ครับ
1. ต่อเติมส่วนที่เป็นเสา คาน ทำห้องใหม่ หากทำให้พื้นที่ใช้สอยเกิน 5 ตารางเมตร ต้องขออนุญาตทั้งหมด
2. ต่อเติมที่มีระยะร่นชิดกับรั้วบ้านข้าง ๆ ต้องได้รับอนุญาตจากบ้านติดกันด้วย ห้ามทำหน้าต่าง และระเบียงยื่นออกมา เพราะอาจมองเห็นบ้านข้าง ๆ ได้อย่างไม่เหมาะสม
3. บ้านเดี่ยวต้องเหลือที่ดินรอบบ้าน 30%
4. ทาวน์เฮ้าส์ ต้องมีพื้นที่หน้าบ้านเหลือในระยะ 3 เมตร หลังบ้านต้องมีระยะเหลือ 2 เมตร
5. ต่อเติมห้องที่มีหน้าต่าง ประตู ระเบียง หรือช่องระบายอากาศ ผนังฝั่งนั้นต้องห่างจากรั้วมากกว่า 3 เมตร (บังคับเฉพาะอาคารที่มีความสูงระหว่าง 9 – 23 เมตร)
อาคาร ที่ได้รับการต่อเติม หมายถึงสิ่งก่อสร้างใดบ้าง?
อาคารในที่นี้ ไม่ได้มีแค่บ้านอย่างเดียว รวมไปถึง ตึก ร้านค้า แพ โรงเรือน คลังสินค้า สำนักงาน นับหมดครับที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีบุคคลเข้าไปอยู่อาศัย เข้าไปใช้สอยในพื้นที่นั้นได้ ส่วนที่ยื่นออกมาเป็นอัฒจันทร์ก็นับ ทางระบายน้ำ ท่าน้ำ รั้วกำแพงต่าง ๆ ก็นับ ทางกลับรถเข้าออก ลานจอดรถในอาคารก็นับรวมด้วย ดูรายละเอียดได้ที่ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ครับ หรือหากไม่แน่ใจก็โทรสอบถามกับทางเทศบาลหรือสอบถามกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
สินค้าแนะนำ
ภาพ: จระเข้ อะคริลิก แพทช์ (ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้างหนา ให้การยึดเกาะดี รับแรงดัด แรงดึงได้สูง)
สั่งซื้อ: จระเข้ อะคริลิก แพทช์ ได้เลยตอนนี้ คลิก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายถึงใคร
ในกฎหมายได้ระบุผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไว้ว่าเป็น นายกเทศมนตรี, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด, ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายกเมืองพัทยา, ผู้บริหารท้องถิ่นองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ในเขตองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ในเขตปกครองท้องถิ่นใด
เอกสารขอต่อเติมบ้านหรือดัดแปลงอาคาร (ทุกฉบับต้องลงนามสำเนาถูกต้อง)
- คำขออนุญาต ปลูกสร้างอาคาร ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร 1 ชุด
- แบบแปลนบ้านจำนวน 5 ชุด แสดงลักษณะขอบเขตที่จะดัดแปลง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการขอต่อเติม 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่ต้องการต่อเติมบ้าน 1 ชุด
- สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจริงทุกหน้า 1 ชุด
หากมีที่ดินติดกันกับข้างบ้าน (ต่อฝั่ง หากมีหลายฝั่งต้องขอเอกสารมาเพิ่ม)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของที่ดินข้างเคียง 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของข้างเคียง 1 ชุด
- สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน 1 ชุด
เหตุผลที่ต้องมีข้อกำหนดไว้ให้ได้มาตรฐานก็เพราะว่าหลายครั้งบ้านเรือนที่ต่อเติมนั้นกระทบกระทั่งกับบ้านข้าง ๆ หรือส่วนต่อเติมนั้นทำให้เกิดความเสียหายด้านโครงสร้าง เดือดร้อนไปยังผู้ที่อยู่ข้างเคียง และการต่อเติมที่ไม่ถูกต้องจะสร้างอันตรายให้แก่ผู้อยู่อาศัยอีก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง แจ้งต่อเติมให้ถูกต้องดีกว่าครับ
สั่งซื้อ: จระเข้ รีแพร์ มอร์ต้า ได้เลยตอนนี้ คลิก
สั่งซื้อ: จระเข้ อะคริลิก แพทช์ ได้เลยตอนนี้ คลิก
ที่มา :
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522,
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535,
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543,
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550