ปิดไฟบ้างเมื่อไม่ได้ใช้ ถ้ารู้ว่าจะเปลืองไฟขนาดนี้
ทุก ๆ วันเราเปิดใช้ไฟฟ้าเครื่องละหลายชั่วโมงโดยไม่รู้ตัว ที่ต้องเปิดทุกวันคือหลอดไฟ รองลงมาก็เป็นเครื่องปรับอากาศ เช่น แอร์ หรือ พัดลม แต่ทราบกันหรือไม่ครับว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทนี้มีกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เปิดใช้บ่อย ๆ ก็จะกินไฟ รู้ตัวอีกทีก็มาเป็นบิลแล้วครับ มาดูกันว่ามีเครื่องไหนบ้างที่กินไฟ ขอเรียงลำดับจากจากมากไปน้อยครับ
10 เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่กินไฟมากที่สุด
1 เครื่องทำน้ำอุ่น 2,500 – 12,000 วัตต์
บ้านที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดใหญ่มาก ๆ อาจจะใช้กำลังไฟถึง 12,000 วัตต์ วันหนึ่งอาบน้ำหลายรอบ ก็จะกินไฟมาก ซึ่งถือว่ากินไฟเยอะกว่าแอร์อีก ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นตัวเล็ก ๆ ก็จะกินไฟประมาณ 2,500 วัตต์ ซึ่งคิดแล้วกินไฟมากกว่าต้มน้ำด้วยแก๊สหุงต้มอาบเสียอีก
2 เครื่องอบผ้า 2,500 – 3,000 วัตต์
เครื่องซักผ้าที่เป็นเครื่องอบผ้า ใช้กำลังไฟใกล้เคียงกับการเปิดแอร์หรือเครื่องทำน้ำอุ่น เฉลี่ยคร่าว ๆ แล้ว 1 คนจะซักผ้า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อใช้กับฟังก์ชั่นอบผ้าด้วย ก็จะใช้กำลังไฟสูงถึง 3,000 วัตต์
3 เครื่องปรับอากาศ 1,200 – 3,300 วัตต์
หากคิดว่าเครื่องปรับอากาศ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดนั้นไม่ใช่ แม้ว่าจะมีในลำดับที่ 3 แต่หากเปิดบ่อย ๆ วันละหลายชั่วโมง ก็จะเสียค่าไฟเป็นอันดับ 1 ได้เช่นกัน เพราะอากาศเมืองไทยร้อนแบบนี้ก็อดจะเปิดแอร์นอนทุกวันไม่ได้ นอนแล้วก็ติดใจ นอนสบายจนต้องเปิดทุกคืน มีวิธีประหยัดแอร์ก็คือ ตั้งเวลาตัดก่อนตื่นสัก 1 ชั่วโมง หรือเปิดเฉพาะครึ่งคืนแรกแล้วค่อยมาปรับเป็นพัดลมต่อ ก็ลดความร้อนได้สักหน่อย
4 เตารีด 750 – 2,000 วัตต์
เชื่อไหมครับว่าเตารีด ใช้กำลังไฟฟ้าพอ ๆ กับแอร์เลยทีเดียว โดยเฉพาะรุ่นที่เป็นเตารีดไอน้ำ ดังนั้นการจะรีดผ้าบ่อย ๆ ทีละตัวนั้นไม่เหมาะ อย่างน้อยต้องรีดทีละ 5 – 6 ตัว จะได้ประหยัดไฟ
5 เครื่องดูดฝุ่น 750 – 1,200 วัตต์
บางคนดูดฝุ่นทุกครั้งที่เห็นฝุ่น ถ้ารู้ว่าเครื่องดูดฝุ่นกินไฟขนาดนี้อาจจะเปลี่ยนมาเป็นใช้ไม้กวาด แล้วค่อยใช้เครื่องดูดฝุ่นเก็บฝุ่น เพราะเครื่องดูดฝุ่นกินไฟพอ ๆ กับเตารีด แต่หากใช้ไม่บ่อยก็ไม่เปลืองไฟเท่าไหร่ (ในที่นี้หหมายถึงเครื่องดูดฝุ่นแบบมือถือ ไม่ใช่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น)
6 หม้อหุงข้าว 450 – 1,500 วัตต์
แต่ละบ้านมักจะหุงข้าววันละครั้งเพื่อหุง และเลือกฟังก์ชั่นอุ่นในมื้อต่อไป หม้อหุงข้าวกินไฟน้อยกว่าเตารีดและเครื่องดูดฝุ่นเพียงนิดเดียว หากเป็นเครื่องเล็ก ๆ 1 ลิตรก็กินไฟไม่มาก แต่จะใช้กำลังไฟเยอะตามขนาดของหม้อ
7 ไดร์เป่าผม 400 – 1,000 วัตต์
ไดร์เป่าผมกินไฟไม่ต่างจากหม้อหุงข้าวมากเท่าไหร่ โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะสระผมวันละครั้ง หรือวันเว้นวัน เมื่อเป่าผมให้แห้งแต่ละรอบจะใช้เวลาราว 30 นาที ก็คือว่าเป็นค่าไฟที่ยอมรับได้สบาย ๆ ครับ
8 ไมโครเวฟ 100 – 1,000 วัตต์
อัตราการใช้กำลังไฟของไมโครเวฟนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของไมโครเวฟที่วัดเป็นคิว ทั้งโหมตละลายน้ำแข็ง หรืออุ่นอาหารให้ร้อนก็ใช้ไฟพอ ๆ กัน คนส่วนใหญ่ใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารมากกว่าใช้ทำกับข้าว เพราะความร้อนส่งไปยังจุดเดียวของถาดวางในเครื่อง
9 โทรทัศน์สี 80 – 180 วัตต์
โทรทัศน์กับตู้เย็นกินไฟไม่ต่างกันมาก แต่หากเปิดไว้ทั้งวันทั้งคืนตลอดเวลาจะทำให้ค่าไฟวิ่งตลอดได้เช่นกัน
10 ตู้เย็น 70 – 145 วัตต์
หากบ้านไหนไม่ใช้ตู้เย็นเบอร์ห้านี้จะทำให้ค่าไฟพุ่งสูงมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ต้องทำความเย็นตลอด เพื่อรักษาอากาศในตู้ไม่ให้ร้อนอบอ้าว อันจะเป็นเหตุให้อาหารเสียและบูดเร็ว
วิธีประหยัดไฟ
การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟมากขึ้นได้ เพราะกระทรวงพลังงานได้ช่วยการันตีคุณภาพของการติดตั้ง
2 วางแผนการใช้งาน
ทุกครั้งก่อนใช้งานต้องผ่านการวางแผนใช้งานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่คุณ ยกตัวอย่างเช่นจะเปิดแอร์ ก็เรียกกันมานอนหลาย ๆ คน จะรีดผ้าก็รวมกันไว้หลาย ๆ ตัว ยกเว้นการซักผ้า หากเก็บไว้หลายวันจะเหม็นอับสักหน่อย
3 ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้
ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องถอดปลั๊กออก เพราะกระแสไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ในระบบ แม้ว่าจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม และป้องกันการลัดวงจรภายใน จะทำให้เครื่องไฟฟ้าเสียหาย กินไฟมากกว่าเดิมและอาจจะต้องซื้อใหม่อีก
4 สับแบรกเกอร์เมื่อไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน
เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หากคุณจะเดินทางไปต่างจังหวัด ไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน ควรจะสับคัทเอ้าท์ลง เพราะหากวงจรไฟยังเดินอยู่ทั้งบ้าน ค่าไฟก็จะยังคงวิ่งตามอยู่ด้วย และหากเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน เพียงแค่ออกจากบ้านก็ต้องสับลงด้วย ไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนและความชื้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่นอยู่แล้ว
5 ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายภายใน แม้ว่าจะเป็นรอยขาดของสายไฟเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟมากขึ้น กระแสไฟฟ้าจะรั่วออก เหมือนเราเปิดสายยางแล้วน้ำรั่วออกตลอดเวลา
สินค้าแนะนำ “จมูกบันไดจระเข้
คลิกสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จระเข้
ในหลาย ๆ ครั้ง เราไม่ได้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาทั้งหมดทีเดียว ต้องเดินสายไฟใหม่เพื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม จึงต้องเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ ป้องกันการสะดุด และป้องกันการชำรุด ซึ่งจระเข้ก็มีอุปกรณ์ช่วยเก็บสายไฟนี้ด้วยจมูกบันไดจระเข้
- ช่วยเก็บสายไฟให้ไม่สะดุดง่าย เป็นระเบียบ
- มีสีสันที่สวยงามใกล้เคียงกับสไตล์การตกแต่งของห้อง
- ป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ
ซึ่งใช้ได้ทั้งงานภายในและภายนอก ไม่ว่าจะงานเข้ามุมหรือเก็บขอบบันได ก็จะเสริมการตกแต่งของห้องคุณไปด้วย ไม่ขัดกับการจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท โดยมีจำหน่าย 3 ขนาด ได้แก่ 1.5 เมตร, 2 เมตร และ 2.4 เมตร ใน 1 กล่อง บรรจุ 20 เส้น สอบถามรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ 02 710 1112 ได้ในเวลาทำการครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
13 วิธีประหยัดไฟช่วงหน้าร้อน ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้ไม่น้อย
แต่ละห้องภายในบ้าน เหมาะกับไฟแบบไหน ?
รีโนเวทบ้านด้วยงบ 200,000 บาท ทำอะไรได้บ้าง?