ประเด็นสำคัญ
- การรีโนเวทบ้านให้เหมาะกับช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต จะช่วยให้สมาชิกทุกวัยอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ แถมยังได้บ้านใหม่สวยตามสไตล์ที่ชอบด้วย
- สำหรับการรีโนเวทบ้านงบ 2 แสนสามารถปรับปรุงได้หลายจุด ตั้งแต่ตกแต่งภายใน ทาสี เดินสายไฟ ปรับปรุงระบบประปา ต่อเติมห้อง ซ่อมหลังคา ไปจนถึงทำสวนใหม่ได้ด้วย
การตกแต่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับช่วงเวลาสำคัญของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขยับขยายครอบครัวหรือปรับปรุงบ้านให้เหมาะกับสมาชิกสูงวัย ก็เป็นเรื่องสำคัญแทบทั้งสิ้น เพราะจะได้อยู่อาศัยกันอย่างแฮปปี้และปลอดภัยกันทั้งครอบครัว สำหรับใครที่กำลังหาอยู่ว่ารีโนเวทบ้านงบ 2 แสนบาท จะทำอะไรได้บ้าง ปรับปรุงจุดไหนให้เหมือนใหม่ได้ จระเข้มีความรู้ดี ๆ มาฝากกัน!
รีโนเวทบ้านงบ 2 แสน เปลี่ยน 8 จุดของบ้านเก่า ให้เป็นบ้านใหม่ได้
1. ตกแต่งภายใน ออกแบบใหม่ให้สวยเป๊ะ
ภาพ: งานปรับปรุงรีโนเวทภายในบ้าน
คนส่วนใหญ่เวลาจะปรับปรุงบ้านใหม่ มักจะดูที่การตกแต่งภายในกันก่อน เพื่อปรับเปลี่ยนรูปโฉมภายในของบ้านให้สวยเป๊ะตามสไตล์ที่ชอบ สำหรับการรีโนเวทบ้านงบ 2 แสน สามารถใช้เลือกซื้อชุดโซฟา โต๊ะ ตู้ให้เข้าเซ็ตกัน หรือทำเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินเพื่อให้ได้ฟังก์ชันที่เข้ากับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ก็ตกแต่งใหม่ได้ตามต้องการ
2. ทาสีใหม่ บ้านสดใสเหมือนใหม่อีกครั้ง
ภาพ: การปรับปรุงสีทาภายใน
หากสีบ้านเดิมลอกล่อนไม่ว่าจะเป็นสีภายนอกหรือสีภายใน ก็ทำให้บ้านดูโทรม เก่า ไม่น่าอยู่ ถ้าอยากจะทาสีบ้านใหม่ควรเปลี่ยนมาเลือกใช้จระเข้ คัลเลอร์ ซีเมนต์ สีทาบ้านเนื้อซีเมนต์ จึงยึดเกาะผนังได้ดี ปิดรอยแตกร้าว ไม่กลัวลอกล่อน ยับยั้งการเกิดราดำตะไคร่น้ำได้ด้วย โดยวิธีคำนวณปริมาณสีง่าย ๆ ให้พอสำหรับรีโนเวทบ้านงบ 2 แสน ควรใช้สูตรดังนี้
- ทาสีภายใน: คำนวณพื้นที่ผนังแต่ละด้านด้วยสูตร กว้าง X ยาว
- ทาสีภายนอก: คำนวณพื้นที่รอบ ๆ ทุกด้านด้วยสูตร กว้าง x สูง รวมกับ ลึก X สูง (ถ้าเป็นทาวน์เฮาส์ทาวน์โฮมก็ไม่จำเป็นต้องคิดผนังด้านที่ติดกับบ้านอื่น)
ถ้าคิดนวณเองคิดว่ายากไป ลองเข้าไปคำนวณปริมาณสีจระเข้ คัลเลอร์ ซีเมนต์ กันก่อนได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกิธีทาสี เช่น แปรง ลูกกลิ้ง เครื่องพ่น หรือฉาบ แล้วเลือกขนาดพื้นที่ที่จะทาสี แล้วกดคำนวณดูก็จะได้รู้แล้วว่าต้องใช้สีปริมาณเท่าไร ใครอยากรีโนเวทบ้านงบ 200,000 ใช้สีจระเข้รับรองได้ผนังบ้านสวย สีสดใส ไม่กลัวลอกล่อนต้องมาซ่อมทีหลัง
3. เดินสายไฟใหม่ เพื่อความปลอดภัย
ภาพ: การตรวจเช็คระบบไฟ
บ้านที่อยู่มานาน หลาย ๆ ส่วนก็เริ่มเสื่อมโทรมโดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่ใช้งานกันตลอด ถ้าได้โอกาสรีโนเวทบ้านก็ลองสำรวจว่ามีระบบไฟหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าตรงไหนชำรุดเสียหายหรือไม่ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้นเหตุของไฟไหม้จนทำให้เกิดอันตรายต่อคนในบ้าน
ควรจะเลือกช่างที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ จะได้ซ่อมแซมแบบมีมาตรฐาน โดยงานเดินระบบไฟอาจมีค่าแรงเริ่มต้นตั้งแต่ 500-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบงานด้วย
4. เดินท่อประปาใหม่ ป้องกันการรั่วซึม
ภาพ: การซ่อมบำรุงระบบน้ำ
นอกจากระบบไฟฟ้าแล้วระบบประปาก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากมีปัญหาน้ำรั่วในบ้าน จะส่งผลต่อโครงสร้างอื่น ๆ โดยตรง แถมยังรบกวนการใช้ชีวิตอีกด้วย ถ้าจะรีโนเวทบ้านงบ 2 แสนบาท ก็แบ่งเดินท่อและระบบประปาใหม่ได้สบาย ๆ โดยควรจะสำรวจดูก่อนว่ามีตรงไหนที่ต้องซ่อมแซม เมื่อซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมทำกันซึมให้เรียบร้อยด้วยจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ซีเมนต์กันซึมสุดยืดหยุ่น ที่มาพร้อมคุณสมบัติเด่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- อ่อนตัวสูง ช่วยปกปิดรอยแตกร้าวขนาดเล็กได้
- ทาสีหรือปูกระเบื้องทับได้สบาย ๆ
- กันซึมที่พื้นห้องน้ำชั้นบน ดาดฟ้า ระเบียง หรือพื้นที่อื่น ๆ ก็เลือกได้ตามสะดวก
5. ต่อเติมห้อง เพิ่มพื้นที่ใช้สอยในบ้าน
ภาพ: การต่อเติมบ้าน
ใครอยากจะเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในบ้าน ก็ต่อเติมห้องเพิ่มเติมได้ อาจจะเปลี่ยนพื้นที่ข้างบ้านเป็นห้องนอนเล็ก ๆ หรือปรับแต่งห้องครัวด้านหลังบ้านให้ใหญ่ขึ้น รีโนเวทบ้านงบ 2 แสน ก็ทำได้ อย่าลืมศึกษากฎหมายเรื่องการต่อเติม ว่าจะสร้างแบบไหนต้องขออนุญาต และเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาให้ชัดเจน เพื่อให้งานเสร็จตรงเวลา ป้องกันปัญหางบประมาณบานปลายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
6. ปรับปรุงหลังคา ทนต่อทุกสภาพอากาศ
ภาพ: การซ่อมแซมหลังคา
ภาพ: จระเข้ รูฟ ชิลด์
แดด ลม ฝน พายุ สาเหตุสำคัญที่ทำให้หลังคาเสื่อมสภาพ รั่วซึม แตกร้าว ใครที่วางแผนจะรีโนเวทบ้าน งบ 2 แสน ก็ถือว่าเหมาะจะนำมาปรับปรุงหลังคากันใหม่ ไม่ว่าจะหลังคาปูกระเบื้อง เมทัลชีท หรือดาดฟ้าแบบอื่น ๆ โดยควรเลือกช่างที่เชี่ยวชาญด้านหลังคาโดยเฉพาะ จะได้ติดตั้งวัสดุเป๊ะ เก็บรายละเอียดครบ ช่วยป้องกันปัญหารั่วซึมในอนาคต ปรับปรุงหลังคากันแล้ว อย่าลืมเผื่องบไว้สักนิดสำหรับทำกันซึมด้วยจระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิคทากันซึมหลังคาและดาดฟ้า
- ยืดหยุ่นสูงถึง 500% ช่วยปิดรอยต่อ รอยแตกร้าว
- ทนน้ำ ทนฝน ทนรังสี UV และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
- ใช้ง่ายเปิดฝาแล้วทาได้เลยทันที ช่วยปกป้องหลังคาให้แข็งแรงขึ้นอีกขั้น
7. ปรับปรุงห้องน้ำใหม่ ปลอดภัยต่อคนในบ้าน
ภาพ: การรีโนเวทห้องน้ำ
ครอบครัวไหนมีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ ควรปรับปรุงห้องน้ำใหม่ให้เหมาะสมกับผู้สูง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งราวจับตามจุดต่าง ๆ ออกแบบพื้นที่ใหม่ให้ใช้งานสะดวก หรือมีที่พอสำหรับวีลแชร์ และควรเปลี่ยนพื้นกระเบื้องใหม่ให้มีค่ากันลื่นที่ R10 ขึ้นไป ปูกระเบื้องห้องน้ำใหม่ ไม่ต้องเสียเวลารื้อของเดิม ควรเลือกใช้กาวซีเมนต์ จระเข้เงิน ที่มีคุณสมบัติเด่นเพียบ ไม่ว่าจะเป็น
- ออกแบบมาเพื่อปูทับพื้นเดิมโดยเฉพาะ
- ยึดเกาะสูง ใช้ได้ทั้งภายนอกภายใน
- ปูกระเบื้องแผ่นใหญ่ก็สบาย ไม่กลัวหลุดล่อน
8. แต่งสวนใหม่ ป้องกันสัตว์ร้ายแฝงตัว
ภาพ: สวนหลังบ้าน
บ้านไหนตั้งแต่อยู่มาไม่ค่อยได้ตกแต่งสวนนอกบ้าน ปล่อยต้นไม้ให้ยาวรกรุงรัง หรือมีตะไคร่น้ำที่พื้นทางเดิน ถ้าจะรีโนเวทบ้านงบ 2 แสนทั้งที อย่าลืมแบ่งบัดเจ็ทมาแต่งสวนสวย ๆ ตัดหญ้า ตัดกิ่งไม้ ป้องกันสัตว์ร้ายมาซ่อนตัวอยู่ หรือทำบ่อปลาไว้ดูเพลิน ๆ จะได้มีพื้นที่ไว้พักผ่อนทำกิจกรรมร่วมกันทั้งครอบครัว ถ้าเจอปัญหาตะไคร่น้ำอยู่ ควรเลือกใช้น้ำยาจระเข้ ขจัดคราบตะไคร่น้ำ ที่ออกแบบมาใช้งานเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น
- กำจัดตะไคร่น้ำ เชื้อรา สาหร่าย และพืชสีเขียว ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิว
- ทำความสะอาดเชื้อราในสระว่ายน้ำ
- ใช้งานง่ายโดยไม่ต้องผสมน้ำ เทหรือฉีดพ่นลงบนพื้นผิวที่ต้องการได้เลย
ผลิตภัณฑ์จระเข้ ปกป้องบ้านได้ตั้งแต่หลังคาจนถึงชั้นใต้ดิน
ภาพ: ผลิตภัณฑ์จระเข้ ปกป้องทุกส่วนของบ้าน
เพราะแต่ละบ้านมีพื้นที่ใช้สอยต่างกันออกไป การรีโนเวทบ้านงบ 2 แสน ก็อาจจะเลือกทำได้เฉพาะบางจุด แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย ถูกใจผู้อยู่ หรือในอนาคตมีสมาชิกครอบครัวเพิ่มเติมมาใหม่ ก็จะทำให้บ้านพร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลง อยู่อาศัยได้อย่างมีความสุข
อยากได้ผลิตภัณฑ์จระเข้มาปกป้องบ้านทุกส่วน ทั้งผนัง พื้น หลังคา หรือชั้นใต้ดิน ไม่รู้จะไปซื้อที่ไหนดี ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด