น้ำยาจระเข้ กันพื้นลื่น

น้ำยาเคลือบกระเบื้องกันพื้นลื่น

  • สามารถใช้ได้กับพื้นกระเบื้องทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบแก้ว
  • น้ำยาทากันลื่นได้มาตรฐาน DCOF เทียบเคียงกระเบื้อง R11 ขึ้นไป
  • เหมาะสำหรับพื้นที่เปียกน้ำอยู่เสมอ เช่น ห้องน้ำ
  • ปลอดภัยต่อการใช้งาน ปราศจากสารเคมีตกค้าง
  • เคลือบพื้นกันลื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรทำความสะอาดสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันคราบสกปรกเคลือบบนผิวหน้า

ลักษณะการใช้งาน
น้ำยาจระเข้ กันพื้นลื่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีโอกาสเปียกน้ำอยู่เสมอ เช่น พื้นห้องน้ำ ระเบียง มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยลดความลื่นของพื้นผิว และปลอดภัยต่อการใช้งานด้วยส่วนผสมที่ปราศจากสารเคมีตกค้าง สามารถใช้ได้กับพื้นกระเบื้องทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบแก้ว

ขนาดบรรจุ : 0.5 ลิตร / 3.0 ลิตร / 10.0 ลิตร / 20.0 ลิตร

สั่งซื้อสินค้า ช่องทางติดต่อ

น้ำยาจระเข้ กันพื้นลื่น สามารถใช้ได้กับพื้นกระเบื้องทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบแก้ว เหมาะสำหรับกันพื้นลื่นบริเวณที่เปียกน้ำ เช่น ห้องน้ำ ลานซักล้าง ระเบียง หรือบริเวณอื่นๆที่มีความเสี่ยงต่อการลื่นล้มเมื่อกระเบื้องเปียกน้ำ สามารถใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร กันลื่นได้มาตรฐาน DCOF มากกว่า 0.42 หรือเทียบเคียงกระเบื้อง R11 ขึ้นไป หลังลงน้ำยาจระเข้กันพื้นลื่นแล้วสามารถทำความสะอาดได้ปกติ

การเตรียมพื้นผิว

  • ทำความสะอาดพื้นให้ปราศจากคราบสกปรก คราบฝุ่น คราบแว๊กซ์ เช็ดให้แห้งสนิท

อัตราส่วนผสม

  • ไม่ต้องผสมน้ำ

การใช้งาน

  1. เทน้ำยาจระเข้ กันพื้นลื่น ลงบนฟองน้ำเท่านั้น
  2. ชโลมให้ทั่วบริเวณที่ต้องการ (ไม่ต้องออกแรงถูหรือขัด)
  3. ทิ้งไว้ 45 นาที (ในระหว่างรอ 45 นาทีน้ำยาควรเปียกชุ่มอยู่เสมอ หากมีบริเวณใดแห้งให้ใช้ฟองน้ำเกลี่ย หรือชโลมซ้ำ)
  4. ล้างออกด้วยน้ำสะอาด เมื่อครบ 45 นาที
  5. สามารถใช้งานพื้นที่ได้ทันที

ข้อควรระวัง

  • สีและความเงาของกระเบื้องอาจซีดจางลง เนื่องจากการทำปฎิกิริยาของน้ำยาจระเข้ กันพื้นลื่น และสารเคลือบหน้ากระเบื้อง โดยเฉพาะกระเบื้องสีเข้มอาจสังเกตุเห็นได้ชัด จึงควรทดสอบบริเวณเล็กๆก่อน
  • ไม่ควรเทน้ำยาลงบนกระเบื้องโดยตรง ควรเทลงบนฟองน้ำ และใช้ฟองน้ำชโลมลงบริเวณกระเบื้องเท่านั้น
  • สวมถุงมือ และเครื่องป้องกันตลอดเวลาในขณะใช้งาน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ทางการเข้าตา ล้างตาด้วยน้ำเปล่าจำนวนมากทันที และกรอกตาขึ้นลง หากใส่คอนแทคเลนส์ ควรถอดอย่างระมัดระวัง และล้างตาด้วยน้ำเปล่าต่ออย่างน้อย 20 นาที และควรปรึกษาแพทย์
  • ทางการสูดดม เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่โล่งและอากาศถ่ายเท หากยังมีควันฟุ้งจากสารเคมี ควรสวมใส่หน้ากาก ในกรณีหมดสติ ควรจัดท่าทางผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม คลายกระดุมเสื้อหรือเนคไทด์ ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปในสถานที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเท และปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินทันที
  • ทางผิวหนัง ล้างสิ่งปนเปื้อนจากผิวหนังด้วยน้ำจำนวนมาก ล้างสารที่ปนเปื้อนเสื้อผ้าด้วยน้ำ และควรสวมถุงมือ ควรล้างน้ำเป็นระยะเวลา 20 นาที ซักเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำมาสวมใส่
  • ทางปาก ล้างปาก ถอดฟันปลอมหากมี และดื่มน้ำตามในปริมาณพอสมควร และควรหยุดหากผู้ป่วยมีอาการอยากอาเจียน หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียน ควรจัดท่าให้ศีรษะอยู่ต่ำ เพื่อปกป้องไม่ให้สารพิษเข้าสู่ปอด ไม่ควรน้ำสิ่งต่างๆใส่ปากผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการหมดสติควรเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยไปที่อากาศปลอดโปร่งและถ่ายเท คลายกระดุมเสื้อ และปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินทันที

การเก็บรักษา

  • เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
  • ควรจัดเก็บให้พ้นแสงแดด สามารถจัดเก็บที่อุณหภูมิห้อง