มาตรฐานและเทคโนโลยี
jorakay technology jorakay blog

มาตรฐานการก่อสร้าง อาคารที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จากอเมริกา

jorakay-corporation-technology LEED

LEED Leadership in Energy and Environmental Design

คือ เกณฑ์สำหรับการประเมินอาคารเขียว ต้นกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร USGBC (U.S. Green Building Council)

LEED เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานการก่อสร้างอาคารและอสังหาฯ ที่เกิดในยุคที่กระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับการยอมรับในด้านการตรวจสอบและประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคารและช่วยลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร โดยที่ผ่านมามีอาคารดังๆ สถาปัตยกรรมระดับโลกมากมายที่ให้ความสำคัญกับ LEED รวมถึงอาคารชั้นนำในประเทศไทยหลายแห่งที่ได้รับการรับรองยืนยันโดยมาตรฐาน LEED

หลักเกณฑ์พิจารณาเพื่อประเมินระดับการรับรองของ LEED (ตามหลักการประเมินของ LEED v4) มีดังนี้



leed-img
  1. Location and Transportation (ที่ตั้ง และการคมนาคมขนส่ง) ลดการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทาง การบริหารจัดการที่จอดรถอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. Sustainable Site – SS (การใช้ประโยชน์จากที่ตั้งอย่างยั่งยืน) การสร้างผลกระทบต่อที่ตั้งอาคารต่ำ เพิ่มพื้นที่เปิดโล่งสีเขียว ลดการเกิดน้ำท่วมล้น ลดปรากฎการณ์เมืองร้อน และลดการก่อมลภาวะทางแสง
  3. Water Efficiency – WE (การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ) การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึง การลดปริมาณความต้องการน้ำสะอาดให้น้อยที่สุดไปใช้ในงานดูแลสวน น้ำใช้ในห้องน้ำ และโถปัสสาวะ ตลอดจนลดปริมาณการใช้ในน้ำในอาคารโดยรวม
  4. Energy and Atmosphere – EA (พลังงาน และบรรยากาศ) พลังงานและบรรยากาศ รวมถึงการลดปริมาณการใช้พลังงาน สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทดแทน จัดทำระบบที่สามารถวัดการใช้พลังงาน ไม่ใช้สารทำความเย็นที่มี CFC เพื่อลดการทำลายชั้นโอโซน รวมไปถึงการจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองว่าผลิตจากพลังงานทดแทน
  5. Material and Resources – MR (วัสดุ และทรัพยากร) การเลือกใช้วัสดุและทรัพยาการในการก่อสร้าง คือ มีการเตรียมพื้นที่คัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล การนำอาคารหรือองค์ประกอบของอาคารมาใช้ใหม่ การลดขยะจากการก่อสร้าง การใช้วัสดุรีไซเคิล การใช้วัสดุพื้นถิ่น การใช้วัสดุปลูกทดแทนได้เร็ว และ การใช้ไม้ที่ผ่านการรับรองว่ามาจากป่าทดแทนที่มีการรับรอง
  6. Indoor Environmental Quality – IEQ (คุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร) คือ การควบคุมสภาวะอากาศภายในอาคารเพื่อสภาวะอยู่สบายและสุขภาพที่ดีของผู้ใช้อาคาร โดยพิจารณาในเรื่องการระบายอากาศ การดำเนินการจัดการกับมลภาวะทางอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในระหว่างการก่อสร้างและระหว่างการใช้งานอาคาร การเลือกใช้วัสดุที่มีสารระเหยที่เป็นพิษต่ำ การส่งเสริมสภาวะอยู่สบายที่ผู้ใช้อาคารสามารถควบคุมได้เอง การใช้แสงธรรมชาติและการออกแบบอาคารให้มองเห็นบรรยากาศภายนอก รวมถึงการป้องกันการเกิดเชื้อราที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
  7. Innovation Design – ID (นวัตกรรมในการออกแบบ) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารด้วยรูปแบบใหม่ และการมีวิธีการหรือหลักเกณฑ์ใหม่ๆ มาใช้ในการทำอาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Building) ทำได้โดยการนำวิธีการหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกำหนดในมาตรฐานมาใช้ รวมถึงการทำได้มากกว่าที่เกณฑ์กำหนด และการมี LEED AP เป็นสมาชิกในทีมด้วย
  8. Regional Priority – RP (ลำดับความสำคัญของท้องถิ่น) เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมบางอย่างอาจจะเป็นเรื่องเฉพาะถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้โครงการก่อสร้างตระหนัก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ มาเป็นเรื่องที่พิจารณาในลำดับต้นๆ

สินค้าของจระเข้ ได้ผ่านเกณฑ์ในการทดสอบค่า VOC ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของ LEED ในด้าน Indoor Environmental Quality – IEQ (คุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร)ทั้งในส่วน VOC Emission (ปริมาณสาร VOC ที่ปลดปล่อยออกสู่อากาศ) และ VOC ที่อยู่ในเนื้อผลิตภัณฑ์ (VOC Contents) จากห้องปฏิบัติการทดสอบของ EUROFIN ที่ได้มาตรฐาน

รายแรกที่ครบทุกหมวดสินค้า
สินค้าจระเข้ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบตามมาตรฐานที่ LEED V4 กำหนด