เปิดมุมมองใหม่กับ BIM หรือ Building Information Modeling หนึ่งในเทคโนโลยีในวงการก่อสร้าง กำลังจะเปลี่ยนแปลงอนาคต
ยิ่งปรับเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีชัยไปกว่าครึ่ง! เมื่อ BIM กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีในอนาคต
- จระเข้ GURU ชวนทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่กับ BIM หรือ Building Information Modeling หนึ่งในเทคโนโลยีในวงการก่อสร้าง ที่ถูกพูดถึงอยู่ในช่วงหลายปีมานี้ เมื่อคลื่นลูกใหม่ของ BIM กำลังจะเปลี่ยนแปลงอนาคตในอีก 2-3 ปีข้างหน้า กลายมาเป็นระบบที่ Integrate เข้าได้กับฐานข้อมูลของทุกฝ่าย จากเดิมที่ใช้กันแค่ภายในบริษัทของท่านเท่านั้น
- วันนี้ จระเข้ GURU จะพาทุกท่านไปเจาะลึก BIM จากมุมมองของ ผศ.ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Asset Activator ที่บริการให้คำปรึกษาในเรื่อง BIM และ Digital Twin กับบริษัทชั้นนำในประเทศไทย
- BIM ที่ผ่านมา
- ในโลกของงานก่อสร้างช่วง 10 ปีนี้ผ่านมา BIM มีการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนไปตามสภาพการพัฒนาด้าน Digital Transformation ของประเทศ ทั้งเรื่อง เทคโนโลยี เรื่องกระบวนการ และ เรื่องคน
- โดยเฉพาะเรื่องคนนั้น คนเริ่มมีทักษะมากขึ้น ลงลึกมากขึ้น กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมมากขึ้น
- ในด้าน Software ก็มีใช้กันโดยทั่วไป องค์กรพร้อมที่จะลงทุน
- ทั้งหมดที่ผ่านมา เรายังเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นไป เรียกว่ายังไม่ค่อยน่ากลัวเพราะมันไม่ได้ “กระแทก” รุนแรง
- นอกจากนี้ BIM ที่ผ่านมา เป็นเรื่องภายใน (Internal) ต่างคนต่างใช้ ไม่ได้มีการเชื่อมโยงกันมาก่อน เพิ่งจะมีในยุคไม่กี่ปี (2018) ที่เริ่มเห็น Collaborate ในช่วงการออกแบบระหว่างสถาปนิกและวิศวกร ประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างมากคือความเข้าใจแบบ และการประสานงานเรื่องการปรับเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพ
- ในกรณีที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง จะใช้เพื่อบริหารความเสี่ยง (Risk) ด้านการก่อสร้าง และการทำต้นทุน (Cost) ให้ดียิ่งขึ้น
- สุดท้ายในกรณีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Developer) หรือเจ้าของโครงการ จะใช้ในการประมาณราคา ก่อนจะเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับผู้รับเหมา
- จะสังเกตว่า เป็นการใช้ จบภายใน Stage ของการทำงาน ไม่มีการส่ง File ข้าม Stage กัน
BIM กับผลกระทบของการทำงานในวงการออกแบบก่อสร้างเร็วๆ นี้
- การเปลี่ยนแปลงที่ “กระแทก” จะเข้ามา โดยขยายต่อจากสิ่งที่เราคุ้นเคย
- ก่อนหน้านี้เราได้เห็น TOR ของราชการ และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ว่า การส่ง As-Built หรือการทำงานในช่วงการออกแบบ ต้องเป็น BIM โดยส่วนใหญ่องค์กรที่ออก ToR มาในลักษณะนี้ ยังไม่ทราบรายละเอียด ว่าตนเองต้องการอะไร หรือจะเอา BIM Database ที่ได้มา ไปใช้งานอย่างไรต่อ แต่เนื่องจากทุกองค์กรชั้นนำมี Requirement นี้ก็ต้อง ขอไปด้วย แล้วค่อยไปคิดเอาข้างหน้า
- แต่เร็วๆ นี้องค์กรเหล่านี้จะรู้ ว่าจะเอา BIM Database ไปใช้อะไรต่อ และจาก ToR ที่มีเพียงบรรทัดเดียวว่าให้ส่งเป็น BIM ต่อไปจะมี การส่ง Requirement เรื่อง BIM เป็นเล่มให้อ่าน และเนื้อหาอาจรวมถึง
- ข้อกำหนดในการ แบ่งแยกประเภทของ Object
- รายละเอียดของ Field ใน Space
- การเชื่อมโยงกับ ฐานข้อมูล ioT
- การอบรมการใช้ Model BIM เป็นเครื่องมือ ในการเพิ่มศักยภาพการดำเนินการของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กร
- ทั้งหมดนี้ สถาปนิก วิศวกร หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง จะต้องมีความเข้าใจ ในองค์ความรู้ทั้งทางด้านการบริหารจัดการองค์กรของลูกค้า และด้านเทคโนโลยีอีกมาก และต้องเตรียมรับคลื่นลูกที่ 3 ได้แล้ว
คลื่นลูกที่ 1: เปลี่ยนการเขียนแบบ ไปเป็นโปรแกรม CAD (เมื่อ 20 ปีที่แล้ว)
คลื่นลูกที่ 2: เปลี่ยนจากเขียนโปรแกรม CAD ไปเป็น BIM (ในช่วงปัจจุบัน)
คลื่นลูกที่ 3: การเอา BIM ไป Integrate กับลูกค้า (อนาคตอันใกล้)
ซึ่งหลายๆ คนยังไปไม่ถึงคลื่นลูกที่ 2 เลยด้วยซ้ำ
BIM Maturity level model by Bew & Richards (2008) (Source: Succar, 2015)
- สมัยที่ CAD เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้วทุกคนบอกว่าเขียนมือเร็วกว่ากันทั้งนั้น ผมอยู่ในยุคนั้น คอมพิวเคอร์มีปัญหาเยอะ หมึกผิด ตั้งเส้นผิด ทำมือเร็วกว่า บ้ารึเปล่าคอมพิวเตอร์แพง ทำงานช้า ไร้สาระ เป็นแค่ของเล่น มันเหมือนกันทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากของเล่นที่ไม่มีค่อย work ก่อน ถามว่าวันนี้ มีใครเขียนแบบมืออยู่บ้างไหม
- พอมัน work ขึ้นมา ทุกคนจะลืมของเก่าไปใน “ทันที” ทุกวันนี้ยังมีใครใช้โทรศัพท์กดปุ่มอยู่บ้าง? มันไม่มีใครใช้แล้ว จะเห็นว่าพอถึงเวลามันจะ “กระแทก” คนที่ไม่ได้เตรียมตัวมาจะหลุดออกจาก Industry นี้ทันที เพราะคุณส่งงานไม่ได้ เจ้าของโครงการเขาไม่มีช่องทางที่จะรับงานคุณได้
- คนที่ใช้ BIM กันภายในบริษัท อยากให้รู้ไว้ว่า เขาใช้กันเป็นหมดแล้ว ถ้าองค์กรไหนที่ยังไม่ได้ใช้ BIM ก็ถือว่าเสียเปรียบคู่แข่งประมาณนึงไปแล้ว องค์กรไหนไม่มาตรงนี้มันก็ยังมีปัญหา และของเสีย (Waste) ภายในบริษัท เปรียบเสมือนคุณต่อให้คู่แข่งได้วิ่งออกจากจุด Start ก่อนหน้าคุณไปหลายก้าว กว่าจะรู้ตัวคู่แข่งคุณก็เข้าไปรอที่เส้นชัยแล้ว
คำแนะนำ สำหรับคนที่ยังไม่ใช้ BIM ใน ปี 2021
- ก็คงจะต้องบอกว่า คุณกำลังจะมุ่งไปสู่การสูญพันธุ์ ในด้านการทำงานในที่สุด เพราะยังไงโลกก็ไปทางนี้แน่นอน
- เมื่อคุณตัดสินใจที่จะใช้คุณต้องมีเป้าหมายที่ชัด ว่าใช้ไปให้เกิดประโยชน์อะไร เช่น สถาปนิก ต้องลดเวลาการพัฒนาแบบก่อสร้างลง 50% สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างต้อง Save ค่าก่อสร้างให้ได้ 5% อย่างน้อยเป็นต้น
- การมองในเชิงความคุ้มค่าและการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มกำลังการผลิต เท่านั้น ที่จะทำให้เรามีคำอธิบายในการลงทุนด้าน Software – Hardware และปรับกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร ที่เป็นความลำบากอย่างมากได้
ทำไมบริษัทหลายรายใช้ BIM แล้ว Fail
สาเหตุที่ BIM ใช้งานในหลายบริษัทแล้ว Fail เพราะว่า องค์กรไม่เปลี่ยน Process เป็นลำดับแรก เวลาที่คุณพัฒนาองค์กรโดยการเอาระบบเข้ามาใช้ คุณต้องกาง Process มาแล้วคุณต้องเปลี่ยนมันใหม่ก่อน เปลี่ยนเสร็จแล้ว ถึงจะซื้อเทคโนโลยีมาตั้งให้พร้อม แล้วค่อยเอาคนเข้าไปทำงาน สรุปคือต้องเรียงลำดับความสำคัญดังนี้
- Process
- Technology
- People
ถ้าไม่ให้ Process นิ่ง และมี Technology พร้อม แต่เอาคนเข้ามาอย่างเร็ว คนจะสับสนมาก ๆ อย่าลืมว่าคนที่จะทำให้มันเกิดคือผู้บริหาร จะต้อง Manage ให้พร้อมแล้วถึงเอาคนเข้ามาทำ แต่ส่วนใหญ่คนมักจะไปซื้อโปรแกรมไปที่ Technology ก่อนเลย แต่ Process เหมือนเดิม People ก็งง มันเลย Fail มันเกิดจากที่ไม่ Reprocess ก่อน ถ้าคุณเอาเทคโนโลยีมาใช้ แล้วทำงานแบบเดิม “องค์กรคุณกำลัง Double Waste”
Technology ที่ไม่เปลี่ยน Process คือ Double waste
- Waste แรกคุณซื้อเทคโนโลยีมา มันเกิดต้นทุนเพิ่ม แต่ใช้งานไม่เต็มที่
- Waste ที่สองคุณเอาระบบมาใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ได้มีแผนการ Transition กลายเป็นรวมๆ แล้วทำงานช้าลง
ยกตัวอย่างเช่น การเอา BIM มาเขียน 3D เหมือน sketchup ไม่มี database ใดๆ ถ้าคุณจะเขียนแค่นี้ก็ไม่ต้องซื้อ BIM Software เพราะราคา sketchup มันถูกกว่าเยอะ ในแง่ Productivity ก็ห่วย เหมือนคุณเอาเครื่องบินมาขับบนถนน ทั้งแพง และไม่เกิดประโยชน์ เครื่องบินไม่ผิด แต่มันผิดที่วิธีการนำไปใช้
พอเป็นแบบนี้ ทุกคนก็มาบอกว่า BIM Fail มันไม่ Work แต่คนก็จะไม่ค่อยมองไปที่องค์กรที่สามารถทำจน success ในเรื่อง BIM ว่าเขาทำได้อย่างไร และเขาเลิกเขียน CAD แล้ว อย่าง ฤทธา มีทีมงานสำหรับ BIM โดยเฉพาะถึง 60 คน หรือ SCG Chemical ที่มีอาณาจักรนับแสนล้าน นี่คือคนที่พบเส้นทางการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแล้ว
BIM กับการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีอื่น
- สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยี BIM เร็วๆ นี้คือการขยายออกไปถึงเรื่องส่วนงาน Asset Management หรือ เบื้องหลังจากงานก่อสร้าง
- ในสมัยก่อนที่ผู้รับเหมาก่อสร้างส่ง BIM เป็น File โดยไม่ได้ต่างกับความเป็น CAD หรือ PDF คือส่งมา ก็เก็บไว้ใน harddrive ซักแห่งนึง แต่ไม่มีใครมาเปิดดู เพราะ เปิดไม่เป็น หรือไม่มี software หรือไม่สะดวก เท่ากับการเปิดแบบ 2D ตามความถนัด
- จากที่บอกไปก่อนหน้านีคือ เจ้าของจะเริ่มรู้ว่า BIM Model เป็นสิ่งที่ต้องเอาไปใช้ประโยชน์ต่อเมื่อสร้างเสร็จแล้ว และเป็นสิ่งเดียวที่เอาไปเชื่อมกับ Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงทั้งแบบไป (Model ส่งข้อมูลไปที่ ERP) และทั้งกลับ (จาก ERP กลับมาที่ Model)
- นอกจากนี้ BIM Model ยังต้องมีการเชื่อมโยงกับ เทคโนโลยี ioT ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล อีกด้วย
- Model จะเปลี่ยนจากบทบาทแค่แบบ กลายเป็น Database Navigational Tool และ Control Tool สำหรับการบริหารสินทรัพย์
- IoT จะเป็นสิ่งที่มีการติดตั้งอย่าง มหาศาลกับสภาวะแวดล้อมรอบโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ใช้กับเครื่องปรับอากาศ ระบบความปลอดภัย เป็นต้น
ดังนั้น เร็วๆ นี้การส่ง Model จะไม่ใช่การส่งแบบ แต่มันคือการส่ง ฐานข้อมูล BIM เพื่อให้เข้ากับ ระบบการบริหารธุรกิจขององค์กร แล้วถามว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรม วิศวกรรม ผู้รับเหมาก่อสร้างพร้อมไหม? นี่คือความท้าทายครั้งใหม่ ที่ลูกค้าคาดหวัง BIM จากผู้ประกอบวิชาชีพ
ผศ.ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท
CEO Asset Activator