จากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งสหประชาชาติระบุว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society และจะเป็น "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 20% โดยตัวเลขของประเทศไทย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ไทยจะเข้าสู่สังคมประชากรสูงวัยแบบสมบูรณ์ โดยมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการแพทย์ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาว นโยบายการวางแผนครอบครัวหรือการควบคุมการมีบุตร ทำให้เกิดการลดภาวะเจริญพันธ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ฉะนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เมื่อผู้สูงอายุในสังคมมีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพ ความพร้อมที่จะช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมก็จะสามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พื้นฐานทางสังคมที่เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับ "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" (Aged Society)
จากสถานการณ์ดังกล่าว เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” นั้น จะเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะรัฐบาลมีภาระจะต้องดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะเดียวกันความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศก็จะลดลงเมื่อประชากรในวัยทำงานลดลงไป ทำให้มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงเกิดแนวทางการแก้ปัญหา ฉะนั้นประเทศไทยเองต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำเรื่องการเงิน การออม การลงทุน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมีทุนทรัพย์ในการเลี้ยงชีพตนเอง รวมไปถึงการดูแลสุขภาพและสุขภาวะของผู้สูงอายุเป็นต้น
ส่วนทางด้านนโยบายของรัฐที่มีการเตรียมรับมือกับเรื่องนี้มีอยู่ 5 ยุทธศาสตร์ ในการรองรับของกรมกิจการผู้สูงอายุ อันได้แก่
1.การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
2.การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ
3.ระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
4.การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติและพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
5.การประมวลการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญคือสิ่งหนึ่งคือการสร้างพื้นที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุนั่นเอง
ทำไมต้องมีพื้นที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายและความต้องการที่ต่างจากวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน ซึ่งทำให้การจัดที่พักอาศัยของผู้สูงอายุจึงไม่ได้คำนึงแต่ความสวยงาม ความหรูหรา หรือความสะดวกสบายในการเดินทาง หากแต่ต้องการความสะดวกสบายของพื้นที่ที่จะเอื้อต่อกิจวัตรประจำวัน ความปลอดภัย และความรื่นรมย์ของจิตใจในการใช้ชีวิตภายในบ้านที่สอดคล้องกับความเสื่อมถอยของร่างกาย
ทั้งนี้การเลือกใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์งานก่อสร้างก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุ อาทิ สเต็ปสต็อปเปอร์ หรือ จมูกบันไดเรืองแสงจระเข้ พลัส ไมโครแบน นวัตกรรมจมูกบันได เพิ่มความปลอดภัยที่ช่วยให้มองเห็นได้ง่ายขึ้นในที่มืด ช่วยลดอุบัติเหตุจากการสะดุดลื่นหรือก้าวพลาดบริเวณบันไดที่มีสภาพแสงน้อย ทำให้ผู้สูงอายุมีวิสัยทัศน์ในการเดินบันไดได้ดีขึ้น หรือ คิ้วจระเข้ พลัส ไมโครแบน เป็นเทคโนโลยีไมโครแบน ยับยั้งราดำ และแบคทีเรีย ที่ใช้เนื้อวัสดุคุณภาพสูง ยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกได้ดี ไม่กรอบ ไม่แตกหักง่าย และยังช่วยปกป้อง ปิดขอบกระเบื้องได้กลมกลืน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสีที่จะนำมาใช้ในโครงการ ที่ควรมีคุณสมบัติเหมาะสมกับผู้สูงอายุ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากสารระเหย (NON VOCs) และปราศจากสารก่อมะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้ปลอดภัยต่อระบบทางเดินหายใจของผู้อาศัย
ฉะนั้นการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนในแต่ละเรื่องเป็นอย่างมาก ทั้งหลักการจัดการสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม การคำนึงถึงความต้องการพื้นฐาน ความต้องการของแต่ละบุคคล และความต้องการต่อสังคม เพื่อสร้างความรู้สึกว่าผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้สึกว่าตนเองมีค่ามีประโยชน์ต่อสังคมเพื่อสร้างความภาคภูมิใจ รู้สึกว่าตนเองไม่ใช่ภาระของสังคม เกิดเป็นความสุขของผู้สูงอายุและเป็นประโยชน์ต่อสังคมที่มีผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างสังคมที่เป็นสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน
รูปแบบอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุ
โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุที่เริ่มเห็นในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่
- โครงการที่มีโมเดลธุรกิจเป็นการขายสิทธิในการเข้าอยู่อาศัยตลอดชีวิต กล่าวคือ ผู้สูงอายุไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์และไม่สามารถขายสิทธิต่อให้ผู้อื่น โดยจุดเด่นของโครงการ อยู่ที่การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม รวมถึงการมีบริการ ทางการแพทย์ให้บริการเป็นประจำทุกวัน
- โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย โดยเน้นให้ออกแบบให้บ้านมีลักษณะเฉพาะเพื่อผู้สูงอายุ ยกตัวอย่างเช่น บ้านแต่ละหลังจะมีสัญญาณเตือนไปยังสถานีพยาบาล/ ส่วนดูแลกลาง เป็นต้น รวมถึงการลงทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสบายและศูนย์บริการต่างๆ ครบถ้วนอยู่ในโครงการ
ลักษณะเด่นของโครงการทั้งสองรูปแบบคือการมีส่วนดูแลกลางที่จะบริหารจัดการเรื่องบริการ ทางการแพทย์ และการจัดให้มีกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นความพยายามปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ การเป็นสถานสงเคราะห์ของบ้านพักคนชราให้เป็นการลงทุนเพื่อซื้อบริการที่จำเป็นและรูปแบบชีวิตที่มีคุณภาพในวัยเกษียณอายุ
ศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจรแห่งแรกของรัฐบาล
กรมธนารักษ์และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยโรงพยาบาลรามาธิบดีได้มีความตกลงร่วมกันในการ สร้างศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) หรือ โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์ ที่เน้นเป็นศูนย์บริการและดูแลสุขภาพแบบครบวงจร โดยกรมธนารักษ์ให้การสนับสนุนกำกับดูแลการดำเนินโครงการฯ โดยจะนำร่องดำเนินโครงการดังกล่าวในที่ราชพัสดุ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่รวมประมาณ 72 ไร่ มูลค่าที่ดินประมาณ 49.48 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน คือ
1) Hospice Zone เป็นห้องชุดขนาด 30-55 ตารางเมตร สร้างเป็นที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ-ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย
2) Senior Housing Zone สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการพักฟื้นหรือฟื้นฟูสุขภาพ มีทั้งห้องเดี่ยวและห้องรวม ซึ่งจะมีทีมแพทย์คอยดูแล และผู้บริบาลดูแลผู้สูงวัยจำนวนกว่า 1,000 คน
3) Nursing Home Zone เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นโซนที่ดูแลผู้สูงอายุที่ ต้องการความช่วยเหลือ และส่วนของโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการดูแลผู้สูงอายุ
โครงการต้นแบบของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม พร้อมมีบุคลากรทางการแพทย์ให้การดูแลอย่างถูกต้องภายใต้แนวคิดการออกแบบโครงการประกอบด้วย
- Natural Healing หรือ ธรรมชาติบำบัด ออกแบบสภาพแวดล้อมภายในโครงการให้มีความเป็นธรรมชาติ รายล้อมไปด้วยต้นไม้ พืชพรรณที่หลากหลาย ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกชดชื่นทั้งกายและใจ
- Social Healing หรือ มิตรภาพบำบัด โดยออกแบบพื้นที่ส่วนกลางที่เอื้อต่อการพบปะ มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน
ในโครงการ และActivity Healing หรือกิจกรรมบำบัด เตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมที่หลากหลายสำหรับผู้สูงอายุและครอบครัว ด้วยการฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
-Spiritual Healing จิต-ปัญญา บำบัด เตรียมพื้นที่สำหรับการภาวนา ที่เอื้อต่อการสร้างภาวะภายในจิตใจที่แจ่มใส
“สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) จะเกิดขึ้นภายในปีพ.ศ. 2578 ซึ่งประมาณการว่า
จะมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าประเทศไทยพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยของประชากร และพร้อมรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสุขภาพและสุขภาวะของประชากรทุกคน
ผลิตภัณฑ์ของจระเข้ ที่สามารถใช้เพิ่มคะแนน ในการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว Click Jorakay Green Products
โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์" (Senior Housing Zone)