“เราไม่สามารถหาข้าวจานหนึ่งที่ทุกคนทานแล้วรู้สึกว่าอร่อยได้ แต่ประเด็นคือ ถ้าเราสามารถสร้างออฟฟิศที่มีความหลากหลายพอ Segment เหล่านี้ Generation เหล่านี้ สามารถหาจุดที่เขาอยู่ได้ เขาก็สามารถทำงานได้ดีในสถานการณ์แบบนี้เหมือนกัน”
“ทิศทางของออฟฟิศในอนาคตหน้าตาจะเป็นอย่างไร ?”
สิ่งเดียวที่จะสามารถทำนายอนาคตได้ คือ การมองย้อนกลับไปในอดีตว่าทำไมเราถึงมานั่งทำงานสถานที่ที่เรียกว่า “ออฟฟิศ” เมื่อก่อนสถานที่ทำงาน คือ บ้านหรือฟาร์ม แต่เมื่อถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม “ออฟฟิศ” คือ สถานที่ที่คนจะมาทำงานในเวลาเดียวกัน หลังจากนั้นก็มีการทำ Sky skyscraper ซึ่งเป็นสถานที่ที่รวมคนมาทำงานในตึกเดียวกันได้ในครั้งแรก โดยมีวิศวกรคนหนึ่งพยายามที่จะนำ Production line ในโรงงานอุตสาหกรรมมาใส่ในตึก จึงได้ออกแบบมาเป็นเวอร์ชั่นแรกของออฟฟิศที่ชื่อ “Taylorism office” หลังจากนั้นรูปแบบออฟฟิศก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ประมาณ 20 ปีให้หลังจึงได้รู้ว่าคนในองค์กรแต่ละคนมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน จึงได้มีการจัดกลุ่ม จัดประเภทงานเป็นเวอร์ชั่นของคนเยอรมัน ในลักษณะ Office Land Scape ที่เป็น Open plan ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
หลังจากนั้นมีการจัดแผนก แบ่งตำแหน่งที่ชัดเจน จึงเริ่มมีการออกแบบโต๊ะทำงานมาหลากหลายรูปแบบ และความตั้งใจของผู้บริหารในสมัยนั้นคือการที่ทำให้พนักงานจดจ่ออยู่ที่งานและหน้าคอมพิวเตอร์ เพราะทำให้ผลลัพธ์การทำงานออกมาสูง แต่พนักงานกลับรู้สึกเหนื่อยล้า และเหมือนถูกบังคับให้อยู่ในพื้นที่จำกัด
ถัดมาในช่วงต้นปี 2000 เริ่มมี Startup เกิดขึ้นมา เช่น Google, Facebook ที่เข้ามาปฏิวัติการนั่งทำงานและได้ทำออฟฟิศของตัวเองขึ้นมา โดยมีการออกแบบที่สื่อถึงวัฒนธรรมองค์กร รวมไปถึง Corporate Identity ซึ่งไม่เกี่ยวกับการจัดโต๊ะเลยแม้แต่น้อย จึงนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนในการออกแบบออฟฟิศครั้งสำคัญ
การออกแบบให้ Starup มีความท้าทายมากแค่ไหน
ผมขอยกตัวอย่างงานที่ผมคิดว่ามีความท้าทาย ก็คือตอนที่ไปทำ Facebook ในช่วงแรก เราเหมือนเป็นบริษัทโนเนม เพราะคู่แข่งแต่ละรายก็เป็นบริษัทมีชื่อเสียง แต่เราเข้าไปล้างกฎต่างๆ ของการนำเสนอในสมัยนั้น เนื่องจากเราทำ deck แบบ sketch มือ ผลปรากฏว่าเราชนะในครั้งนั้น และได้กลับไปถาม Facebook ว่าทำไมถึงเลือกบริษัทเรา เขาจึงบอกเราว่า “Deck ที่ส่งไป ทำให้เขาสัมผัสถึงจิตวิญญาณได้ คุณเป็น Startup เหมือนพวกผมเลย” หลังจากนั้นเราก็ไปเสนองานใหม่ ซึ่งเป็นโปรเจ็คใหญ่ เราก็ทำแบบเต็มที่ แต่สุดท้ายก็พลาด เพราะ Facebook บอกว่า เราไม่ได้มองหาสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เรามองคนที่จะสามารถสร้าง Moment บางอย่างให้ลูกค้า
สิ่งนี้จึงสะท้อนก็ออกแบบได้อย่างดีว่าไม่จำเป็นออกแบบให้หรูหรา แต่ควรออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งสำคัญเราต้องทำความเข้าใจความต้องการเขาก่อน และการสร้างความสัมพันธ์กับ Owner ผมมองว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะครั้งหนึ่งมีลูกค้าจากต่างประเทศติดต่อมาทาง E-mail เพื่อที่จะขอนัดเจอและคุยและได้รับงานมา ตั้งแต่วันนั้นแล้วก็ไม่เจอกันอีกเลย ผ่านมี 7 ปีตอนนี้ก็ยังเป็นลูกค้าผมอยู่ ซึ่งผมว่า Moment แบบนี้ถ้าสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับลูกค้าได้ นั่นจึงแปลว่าเราสามารถไปทำงานที่ไหนในโลกก็ได้
จากประโยคที่ว่า “Space สามารถกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ได้” อยากคุณสมบัติให้เล่าให้ฟังว่าสามารถทำได้อย่างไร
ยกตัวอย่างเช่นในบริษัทใหญ่ๆ ที่มีแผนกย่อย ๆ ในการทำงานลักษณะนี้มักจะมีการเมืองภายใน ตอนที่ผมเข้าไปในออฟฟิศครั้งแรก สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยว่าเขาสร้างกำแพงทึบ พอเราไปออกแบบที่นั่นอย่างแรกที่ทำเลยคือ รื้อผนัง แล้วทำผนังเป็นกระจก ที่ยังคงความ Confidential แต่สามารถเห็นสังคมโดยรอบอยู่
และอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ Center space ซึ่งจะเป็นจุดรวมของทุกคนที่ต้องมาใช้งาน อาทิ พื้นที่ห้องครัว พื้นนั่งเล่นส่วนกลาง เป็นต้น เมื่อเราสามารถดึงคนมาจุดที่เราต้องการได้ ก็มักจะเริ่มมีการพูดคุยกัน ทำความรู้จัก และเข้าใจกันมากขึ้น แต่ถ้าอยากคุยอะไรที่เป็น Confidential ก็สามารถกลับเข้าไปคุยกันในแผนกได้ โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีเรื่องของความสวยงามเข้ามาเกี่ยวเลย แต่เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจมนุษย์ มนุษย์มันเป็นสัตว์สังคมที่มีพฤติกรรมอยู่แล้ว เวลาไปรับบรีฟลูกค้า ลูกค้าก็จะระบุมาว่าความต้องการแบบ Functional และนั่นคือมาตรฐาน ส่วนที่เหลือเราก็จะเป็นคนถามลูกค้าเพิ่มว่ามันมีอะไรบางอย่างที่อยากทำเพิ่มเติม สิ่งที่สำคัญคือเราแค่เลือกว่างเราจะเอาพื้นที่อะไรมาสร้างพฤติกรรม แล้วเรื่องความสว่าง สีอะไร กราฟฟิคแบบไหนก็จะตามมาเอง
หัวใจสำคัญของการออกแบบ
แท้จริงแล้วการหา Purpose ของการออกแบบนั้นเป็นหน้าที่ของ Designer ที่ต้องคุยกับลูกค้า เพราะบางครั้งลูกค้าไม่รู้ความต้องการของตัวเอง ส่วนใหญ่ลูกค้าจะมากับความต้องการ ที่เมื่อนำมารวมกับ Purpose สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไปถามในส่วนของพนักงานผู้ใช้งาน ก็ได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี โดยการที่เราเข้าไปถามพนักงาน เราจะได้เก็บข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ว่าทำสิ่งไหนแล้วพนักงานมีความสุข ในฐานะ Designer ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็บอกได้เลย เรารู้สึกดีกว่า
Generations จะส่งผลต่อการออกแบบไหม?
ผมไม่เชื่อเรื่อง Gen เพราะผมว่ามันเป็นเรื่องของ Mindset มากกว่า สำหรับคนที่มีอายุเยอะ เขาก็มี Open Mind ได้ แต่สิ่งที่ผมเชื่อเสมอคือการทำออฟฟิศหนึ่งแห่งหรือการออกแบบหนึ่งชิ้น มันจะไม่สามารถตอบโจทย์คนทุก Segment ได้ บางครั้งในงานออกแบบ มันก็จะมีคนชอบหรือไม่ชอบ บางคนก็บอกออฟฟิศนี้เสียงดัง แต่ก็มีพลัง ชอบแบบนี้มาก นี่คงเป็นตัวอย่างของการออกแบบออฟฟิศว่าเราไม่สามารถทำให้ทุกคนชื่นชอบได้ แต่เราต้องทำให้คนคนส่วนใหญ่เข้ามาทำงานแล้วมีความสุขให้ได้
“ผมว่ามันคือการที่เราทำให้คนที่เดินเข้ามาแล้วรู้สึกว่าเขาสามารถทำงานได้ดีที่สุด ในสถานที่นั้น สมมุติว่าเขาเป็นพนักงานคนหนึ่ง ต้องทำให้เขารู้สึกว่าสามารถทำงานได้ดีที่สุดในสถานที่นั้นๆ คุณทำออฟฟิศสสวย หรูหรา แต่คนเข้ามารู้สึกว่าทำงานไม่ได้ เท่ากับว่าคุณเสียเงินไปร้อยกว่าล้านเลยนะ
คนเข้ามาแล้วทะเลาะกัน คุณก็เสียเงินฟรีเหมือนกันนะ กลับกันถ้าเป็นออฟฟิศตึกแถวคนเข้ามา แล้วรู้สึกว่าผมชอบออฟฟิศนี้จัง สิ่งที่นี่คือ Ultimate goal ของออฟฟิศนี้แล้วนะ”
ใช้เวลาในออฟฟิศแบบมีคุณภาพและดีต่อสุขภาพ
แน่นอนว่าทุกบริษัทต้องการให้ออฟฟิศเป็นพื้นที่ที่จะทำให้พนักงานสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การออกแบบที่เหมาะสมก็ยังไม่ครอบคลุมตามความต้องการทั้งหมด หากแต่พื้นที่นั้นจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติที่เหมาะสม และผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ หรือ Green Products ซึ่งจะช่วยในคนในออฟฟิศทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร
และยิ่งเป็น JORAKAY GREEN PRODUCTS ที่ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีค่า VOCs ต่ำ หรือไม่มีเลยในบางผลิตภัณฑ์ (NON VOCs) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง และเลือกใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานทั้งสบายกายและสบายใจได้มากขึ้น JORAKAY GREEN PRODUCTS ตอบโจทย์การใช้หลากหลายในการก่อสร้างและตกแต่งอาคาร ทั้งหมวดกันซึม งานพื้น ปูกระเบื้อง งานแต่งผิวผนัง งานสี และที่สำคัญทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้ผ่านมาตรฐานตามการประเมินอาคารเขียวในระดับสากล และครอบคลุมสินค้าที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค ลด CO2 สามารถรองรับการก่อสร้างได้อย่างเป็นระบบ
ฉะนั้นการออกแบบออฟฟิศจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราเข้าใจจุดมุ่งหมายของแต่ละบริษัท เข้าใจความต้องการและสถานการณ์ของคนที่อยู่ภายใน รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทำให้การออกแบบมีประสิทธิภาพ คนใช้งานก็มีความสุขกับการทำงานได้เช่นกัน
คุณสมบัติ งามเฉลิมศักดิ์
ผู้ก่อตั้ง Paperspace