สถาปนิกรุ่นใหม่ Jenchieh Hung และ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี นำเสนอมุมมองว่า :
สถาปัตยกรรม คือการผสานตัวตนของผู้คนเข้ากับพื้นที่ (Interface between space and human) โดยมุ่งหวังให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความสะดวกสบาย อยู่ดีมีสุขภาวะ (Well-being) และยั่งยืน (sustainable) รวมไปถึงเมืองที่อาคารนั้นตั้งอยู่ด้วย
นิยามนี้สัมผัสได้ผ่านผลงานออกแบบที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก คือ MoMA : Museum of Modern Aluminum พลิกโฉมสร้างคุณค่าให้กับอาคารเก่า ผ่านการผสานงานออกแบบ façade , lighting เข้ากับงานระบบบนโครงสร้างเดิม สร้างภาพใหม่ให้กับพื้นที่ย่านราชพฤกษ์ ด้วยการเคลื่อนตัวของ façade aluminum ที่สอดรับไปกับลมธรรมชาติ ในตอนกลางวันมองดูคล้ายดอกหญ้าลู่ไปตามลม ในยามค่ำคืน lighting dot ก็ให้เกิดจินตนาการเหมือนหิ่งห้อย เป็นการนำ “ธรรมชาติ” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบสะท้อนภาพวิถีชีวิตเดิมที่เคยสร้างความสุขให้กับผู้อยู่อาศัยในย่านนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางและมาตรฐาน Well-being ใหม่ๆ ที่มองการออกแบบก่อสร้างที่สอดรับกับบริบทของชุมชนโดยรอบ ซึ่ง HAS ก็ตั้งใจให้ทุกการออกแบบสามารถทำให้เมือง Well being ไปได้พร้อมๆ กัน ไม่เพียงแต่คนอยู่ดี และภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของ ผู้คนที่ได้ผ่านไปมาก็ยังเกิดความรู้สึกดีๆ ไปด้วย
Benchakitti Rainforest อีกหนึ่งผลงานที่เสนอ idea Well being ผ่านการออกแบบที่ต้อนรับการใช้งานของคนเมือง ณ สวนป่าเบญจกิติ ปอดแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ในงาน WOW (Wonder of Well-Being City Festival 2022) โดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ หน่วยงานและภาคธุรกิจที่ใส่ใจความยั่งยืน ร่วมกันสร้างพื้นที่แบ่งปันแนวคิดการพัฒนาเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในมิติต่างๆ HAS DESIGN AND RESEARCH ตั้งใจที่จะทำให้สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของเมือง โดยคำนึงถึงความ “สบาย” ของคนที่เข้ามาในพื้นที่ จุดประกายความคิดในการนำธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารหรืองานออกแบบได้ผ่านทั้งตัว concept หรือการเลือกใช้วัสดุที่สร้างความรู้สึกถึงธรรมชาติได้ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ปลูกต้นไม้จริงๆ Benchakitti Rainforest ได้แรงบันดาลใจจากพื้นที่ตั้งของ Cliff จุดชมวิวหลักที่อยู่ ณ สวนป่าที่มีตึกใหญ่รายรอบ เกิดเป็นความ contrast ระหว่าง เมือง หรือ concrete กับธรรมชาติ จะทำอย่างไรให้กลมกลืน และด้วยคุณสมบัติของ SEE JORAKAY ที่ดูดซับ CO2 ได้เท่ากับต้นไม้ใหญ่ เป็นที่มาของการสร้างสรรค์งานออกแบบบน Cliff นี้ด้วย pattern ชิ้นงานที่ทาสีธรรมชาติ SEE JORAKAY สีเขียวใบไม้คลุมทับ concrete ที่เป็นโครงสร้างเดิม คนที่เข้ามาจะไม่รู้สึกว่า cliff นี้เป็น concrete อีกต่อไปแต่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสีเขียวโดยรอบได้ เปรียบเสมือน “ต้นไม้” ตัวแทนของ Rain Forest ที่สำคัญคือสร้างจุดพักที่สบายกาย สบายตา กับผู้มาเยี่ยมชม ด้วยวัสดุที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อย ในขณะเดียวกันก็สร้างให้เกิดผลงานศิลปะ คล้าย paint stroke ขึ้นมาเป็นต้นไม้จำลองในมุมมองของคนที่เข้ามาเยี่ยมชม ตอนกลางคืนก็ให้ความสำคัญกับการออกแบบแสงโดยร่วมกับ Light Is ติดตั้งไฟให้ต้นไม้นี้เหมือนลอยอยู่กลางบึง โดยยังคงเห็นสีเขียวของ panel ได้
HAS DESIGN AND RESEARCH Well being design คือการเล่นกับความรู้สึกของคน หมายถึงต้องทำให้คนรู้สึกสบายกาย สบายใจ ภูมิใจ และสร้างคุณค่าใหม่ๆ ทั้งกับผู้ใช้อาคาร และผู้คนโดยรอบ แค่ทำให้คนรู้สึกดีได้เมื่อเห็นก็ช่วยสร้าง Well being ได้ส่วนหนึ่งแล้ว
More details :
https://www.gooood.cn/benchakitti-rain-forest-observatory-by-has-design-and-research.htm?lang=en