สวนดาดฟ้า สวนบนโครงสร้างอาคาร
เมื่อพื้นที่บนดินมีน้อยลง การออกแบบสวนบนอาคารจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งสามารถออกแบบให้มีบรรยากาศร่มรื่นได้เช่นเดียวกัน แต่ได้มุมมองที่กว้างไกลกว่าหลายเท่า มาดููการออกแบบสวนดาดฟ้าสไตล์โมเดิร์นที่ใช้เป็นพื้นที่ปาร์ตี้ของครอบครัว ว่ามีดีเทลการทำกระบะปลูกระบบกันซึม และระบายน้ำอย่างไร
Detail A กระบะปลูกและระบบกันซึม
1. ดินปลูกผสมหินภูเขาไฟ |
8. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง |
2. ทรายรองพื้นหนา 5 เซนติเมตร |
9. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ 38 x 75 x 2.3 มิลลิเมตร |
3. กระบะก่ออิฐ |
10.ฐานเหล็กชุบกัลวาไนซ์หุ้มคอนกรีต |
4. แผ่นจีโอเท็กซ์ไทล |
11.พื้นคอนกรีตเสริิมเหล็็กผสมน้ำ ยากันซึม |
5. แผ่น Grain Grid |
12.ตาข่ายพลาสติก |
6. วัสดุกันซึม |
13.โรยกรวด |
7. ช่่องระบายน้ำ ขนาด 5 x 20 เซนติเมตร |
14.รูระบายน้ำ |
Detail B ฐานเหล็กหุ้มคอนกรีต
1. พื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ ตีเว้นร่อง |
4. ฐานโครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ 38 x 75 x 2.3 มิลลิเมตร |
2. โครงเหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ 38x 75 x 2.3 มิลลิเมตร |
5. แผ่นเหล็กหนา |
3. ฐานคอนกรีตป้องกันเหล็กเป็นสนิม |
6. มิลลิเมตร ยึดกับพื้น |
การเตรียมพื้นผิวและติดตั้ง วัสดุกันซึมพื้นสวนดาดฟ้า
พื้นสวนดาดฟ้าและหลังคาดาดฟ้าเป็นพื้นที่รับน้ำฝนและมีความชื้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องทำาระบบกันซึม โดยใช้จระเข้ร่วม กันปกป้องหลังคาดาดฟ้า และโครงสร้างไม่ให้เสียหาย
การเตรียมพื้นผิวก่อนทํากันซึม
ก่อนการทำชั้นกันซึม ควรตรวจสอบ ซ่อมแซม และเตรียมพื้นผิว ดังนี้
1. ตรวจสอบรอยแตกร้าวบนพื้นดาดฟ้าก่อนทำากันซึม โดยสังเกตรอยแตกว่ายังมีการขยับตัวหรือไม่ หากรอยแตกหยุดขยับตัว แล้วสามารถซ่อมรอยแตกร้าวด้วยการสกัดรอยแตกร้าวให้มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร อุดรอยแตกด้วยวัสดุอุดรอยต่อ ประเภทพอลิยูรีเทน หรือ อุดซ่อมด้วยซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้าง ซึ่งสามารถใช้ได้กับรอยแตกกว้าง 3 - 40 มิลลิเมตร
2. หากพื้นผิวดาดฟ้ามีรอยแตกลายงา ไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร สามารถทาทับด้วยซีเมนต์ กันซึมได้เลย
3. หากรอยแตกร้าวยังมีการขยับตัว ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาก่อนทำาสวนดาดฟ้า การสังเกต รอยแตกร้าวว่ายังมีการขยับตัวหรือไม่ โดยใช้ปากกาทำเครื่องหมายที่ปลายรอยร้าวไว้ วัดความกว้างรอยร้าวแล้วจดไว้ พร้อมวันที่ หากมีการขยายความยาวและความกว้างเรื่อยๆ อาจมีสาเหตุจากโครงสร้างเสียหาย
4. ควรตรวจสอบพื้นดาดฟ้าให้มีความลาดเอียง ไม่มีแอ่งน้ำขัง และมีจุดระบายน้ำอย่างเพียงพอ โดยทำาพื้นผิวให้ลาดเอียงอย่างน้อย 1 : 200 พร้อมทำารูระบายน้ำ 1 จุด ต่อพื้นที่ไม่เกิน 40 ตารางเมตร หากพื้นที่หลังคาเกิน 40 ตารางเมตร หรือมีรูปทรงยาว แนะนำให้ทำารางน้ำโดยลดระดับพื้นผิวลงประมาณ 2 - 5 เซนติเมตร และทำ รูระบายน้ำห่างกันไม่เกิน 12 เมตร
a ลดระดับรางระบายน้ำลง 2 - 5 เซนติเมตร ช่วยระบาย น้ำได้เร็วและไม่เหลือน้ำขัง
b ใช้รูระบายน้ำสำาหรับหลังคา (Roof Drain) ซึ่งมีลักษณะคล้ายตะกร้าคว่ำ ช่วยป้องกันใบไม้อุดตัน
c มีช่องน้ำล้น โดยทำาสูงจากพื้นผิวประมาณ 5 เซนติเมตร เผื่อรูระบายน้ำตัน
Products Recommend
ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้าง “จระเข้ รีแพร์ มอร์ต้า” ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำ สามารถรับแรงกดอัดได้สูง เพื่อใช้ซ่อมแซมและตกแต่งผิวคอนกรีตโครงสร้าง หรือปูนก่อฉาบที่แตกหักเสียหาย ซ่อมแซมรอยแตกร้าวบิ่น รอยหลุมลึก ความหนา 3 - 40 มิลลิเมตร สามารถซ่อมแซมทั้งแนวราบและงานเหนือศีรษะ
“โพลียูรีเทนอุดรอยแตกร้าว จระเข้ โพลี ยู ซีล” ใช้อุดรอยต่อหรือรอยแตกของพื้นผนังคอนกรีต ใช้งานง่าย มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อสภาวะอากาศ สามารถยึดเกาะได้หลายพื้นผิว เช่น คอนกรีต หิน อิฐ อะลูมิเนียม กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องเซรามิค ไม้ ฯลฯ
การทาวัสดุกันซึม
ควรเตรียมพื้นผิวและทาวัสดุกันซึมอย่างถูกวิธี เพื่อการป้องกันความชื้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การเตรียมพื้นผิว
1. ทำาความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่น เศษปูน น้ำมัน และซ่อมรอยแตกร้าว
2. พรมน้ำลงบนพื้นผิวเพื่อลดความร้อนจากพื้นผิวก่อนทาวัสดุกันซึม
ขั้นตอนการทาวัสดุกันซึม
1. ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาลงบนพื้นผิวแล้วปล่อยให้แห้ง 30 - 90 นาที
2. เสริมแรงด้วยตาข่ายใยแก้วเสริมแรงในจุดที่แตกร้าว และบริเวณรอยต่อพื้น กับผนัง โดยปูในขณะที่ชั้นแรกยังไม่แห้ง
ทารอบที่สองในทิศทางตั้งฉากกับรอบแรก โดยให้เนื้อฟิล์มกลบแผ่นตาข่ายใยแก้วเสริมแรงได้สนิท แล้วปกป้องพื้นผิวไม่ให้โดนน้ำ 3 วัน
Note
- การปูกระเบื้องบนพื้นผิวควรทำาหลังจากปล่อยให้พื้นผิวแห้งตัวอย่างน้อย 3 วัน
- ในกรณีที่ต้องการให้พื้นแช่น้ำ ควรปล่อยให้พื้นผิวแห้งตัวอย่างน้อย 7 - 14 วัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
Products Recommend
ตาข่ายใยแก้วเสริแรง “จระเข้ ไฟเบอร์ เมช 7x7” เส้นใยไฟเบอร์กลาสเคลือบด้วยสารพอลิเมอร์กันน้ำ เนื้อเส้นใยเยอะละเอียด ช่วยให้ทากันซึมได้ง่ายไม่แข็ง เพื่อใช้เสริมแรงดึงในระบบกันซึม ปูง่ายไม่พันหรือย่น สามารถใช้กับงานพื้นและงานผนัง ช่วยป้องกันการฉีกขาดจากการเคลื่อนไหวของรอยต่อโครงสร้าง หรือรับแรงเสียดสีจากการสัญจรบนผิวกันซึม
ซีเมนต์ทากันซึมชนิดยืดหยุ่น (ชนิดส่วนผสมเดียว) “จระเข้ เฟล็กช์ ชิลด์” ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำ มีความอ่อนตัวสูง ปกปิด รอยร้าวได้ดี สำาหรับพื้นผิวที่มีการเคลื่อนตัวไม่เกิน 0.75 มิลลิเมตร ทนต่อสภาวะอากาศได้ดี ปล่อยเปลือยได้ ทนรังสียูวี สามารถทาสีทับ หรือปูกระเบื้องทับได้ มีคุณสมบัติในการปิดรอยร้าวได้ดี สามารถใช้ในพื้นที่ที่มีโอกาสขยับเคลื่อนไหวผิวงานที่เสร็จแล้ว มีความคงทน ไม่หลุดล่อน มีแรงยึดเกาะที่ดี ไม่มีสารพิษ สามารถใช้เก็บน้ำดื่มและทาผนังพื้นบ่อเลี้ยงปลาได้
บทความจากนิตยสารบ้านและสวน ประจำเดือนมิถุนายน 2564