ประเด็นสำคัญ
- ฉนวนกันความร้อนผนัง เป็นวัสดุที่ใช้เสริมจากผนังทั่วไป ช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่บ้าน มีให้เลือกทั้งแบบไฟเบอร์กลาสที่ราคาถูก พียูโฟมที่กันเสียงได้ โพลีสไตรีนที่ทนต่อความชื้น และแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อนที่เหมาะจะใช้เสริมฉนวนแบบอื่น ๆ
- เมื่อถึงเวลาจะเลือกฉนวนกันความร้อน ควรดูที่ค่าประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนและค่านำความร้อน ดูที่อายุการใช้งานและการติดตั้ง และอาจดูคุณสมบัติเรื่องการกันเสียง เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการปกป้องบ้านด้วย
บ้านร้อนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นแดดที่ส่องตรงเข้ามาผ่านผนัง หรือกระจกหน้าต่าง การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่กันความร้อน ยิ่งทำให้บ้านร้อนอบอ้าว ฉนวนกันความร้อนผนังเป็นอีกทางออกที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นลง อยู่สบายมากขึ้น วันนี้จระเข้จะพาทุกคนไปดูกันว่าฉนวนกันความร้อนสำหรับผนัง จะมีแบบไหนให้เลือกบ้าง พร้อมแล้วไปดูกัน!
ฉนวนกันความร้อนผนังคืออะไร?
“วัสดุที่ติดตั้งเพื่อป้องกันหรือชะลอความร้อนที่จะเข้าในบ้าน”
ฉนวนกันความร้อนผนัง คือ วัสดุที่ติดตั้งอยู่ภายในหรือบนผนังบ้าน มีหน้าที่หลักคือช่วยป้องกันหรือชะลอความร้อนที่เข้ามาในบ้านให้เข้ามาช้าลง เพราะโดยทั่วไปผนังบ้านอย่างคอนกรีต หรืออิฐ มักจะเป็นวัสดุที่ดูดซับความร้อนไว้ และปล่อยออกในช่วงบ่ายหรือเย็น การติดฉนวนกันความร้อนจะช่วยลดความร้อนที่มาจากผนังบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยประหยัดค่าไฟจากการใช้แอร์หรือพัดลมอีกด้วย
ฉนวนกันความร้อนผนังที่นิยมใช้กันในยุคนี้มีแบบไหนน่าสนใจบ้าง?
1. ฉนวนไฟเบอร์กลาส
“ราคาถูกแต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม”
ฉนวนไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) หรือที่รู้จักกันในชื่อฉนวนใยแก้ว เป็นวัสดุที่ทำจากเส้นใยแก้วละเอียด ซึ่งถูกถักเป็นชั้น ๆ ทำให้มีช่องว่างอากาศขนาดเล็กที่ช่วยชะลอการถ่ายเทความร้อน และห่อด้วยฟอยล์ ช่วยสะท้อนความร้อนกลับออกนอกบ้าน ส่วนใหญ่มักจะมาในรูปแบบแผ่นหรือม้วน และใช้สำหรับติดตั้งในผนังและฝ้าเพดาน
ข้อดี: ประหยัดและหาซื้อง่าย น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับการติดตั้งในบ้านทั่วไป
ข้อเสีย: เส้นใยแก้วอาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา และถ้าสูดดมไปก็อาจระคายเคือง ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก
2. ฉนวนพียูโฟม
"กันร้อนได้ กันเสียงด้วย"
ฉนวนพียูโฟม หรือโฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam) เป็นฉนวนที่นิยมใช้ในรูปแบบพ่นฉีดลงบนผนังหรือพื้นผิวโดยตรง โฟมจะขยายตัวและแข็งตัวภายในไม่กี่นาที ช่วยปิดช่องว่างต่าง ๆ ได้ จึงช่วยป้องกันความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญฉนวนกันความร้อนผนังประเภทนี้ก็ยังช่วยป้องกันเสียงได้อีกทางหนึ่งด้วย
ข้อดี: ช่วยเติมเต็มช่องว่างต่าง ๆ ได้ กันความร้อนและเสียง รวมถึงกันความชื้นได้ดี ทำให้ไม่เกิดการสะสมของเชื้อรา
ข้อเสีย: ราคาสูงกว่าฉนวนประเภทอื่น ๆ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการติดตั้ง
3. ฉนวนโพลีสไตรีน
“ทนชื้นได้ดีเหมาะกับผนังภายนอกหรือผนังห้องน้ำ”
ฉนวนโพลีสไตรีน (Polystyrene) เป็นฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างบ้านและอาคาร มักมาในรูปแบบแผ่นแข็งหรือโฟม น้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายมาก เหมาะกับบ้านที่เน้นความรวดเร็ว หรืองานปรับปรุงผนังบ้าน มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- EPS (Expanded Polystyrene) เป็นโฟมที่มีความเบา ยืดหยุ่นได้ดี และรับน้ำหนักได้ดี เหมาะกับงานก่อสร้างบ้านที่จะเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน
- XPS (Extruded Polystyrene) มีความหนาแน่นสูงกว่าและกันความร้อนได้ดีกว่า มักจะใช้ในงานที่ต้องกันความร้อนมาก ๆ แถมยังทนต่อแรงกดทับและไอน้ำได้ด้วย
ข้อดี: กันความชื้นได้ดี ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าไปภายในผนัง เหมาะกับบ้านที่อยู่ในพื้นที่ชื้น หรือติดตั้งกับผนังภายนอก ผนังห้องน้ำ
ข้อเสีย: ราคาสูงและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติ
4. ฉนวนแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อน
"เหมาะจะใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อนแบบอื่น ๆ"
ฉนวนแผ่นฟอยล์สะท้อนความร้อน หรือ Radiant Barrier เป็นวัสดุที่ใช้หลักการสะท้อนความร้อนที่มาจากดวงอาทิตย์ โดยแผ่นกันความร้อนผนังห้องประเภทนี้ มักจะเป็นแผ่นฟอยล์ที่มีพื้นผิวเงา ส่วนใหญ่จะนิยมติดตั้งที่ผนัง หลังคา หรือห้องใต้หลังคา เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง
ข้อดี: สะท้อนความร้อนได้เร็วและมาถึง 90-95% ติดตั้งง่ายเข้ากับโครงหลังคาได้เลย ถ้าติดตั้งกับฉนวนประเภทอื่น ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้ดีขึ้น
ข้อเสีย: ไม่สามารถป้องกันความร้อน เพราะใช้วิธีสะท้อนความร้อนออกอย่างเดียว และกันความร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร
เลือกฉนวนที่ผนัง ควรดูที่อะไรให้ได้แบบที่ใช่
- ค่า R-Value และ K-Value ค่า R-Value หรือ Resistivity เป็นค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพของฉนวนในการต้านทานการถ่ายเทความร้อน ยิ่งค่า R สูงเท่าไหร่ ฉนวนก็ยิ่งสามารถกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น และควรเลือกแบบที่ค่า K-value หรือ Conductivity ซึ่งเป็นค่านำความร้อนต่ำ เพื่อให้ความร้อนเข้าบ้านได้น้อยที่สุด
- อายุการใช้งาน ควรเลือกฉนวนที่ทนทาน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ควรเลือกวัสดุที่ไม่หดตัวหรือยุบตัวหลังติดตั้ง รวมถึงต้องทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นในบ้านเราได้ดี
- การติดตั้ง ฉนวนบางแบบต้องใช้มืออาชีพในการติดตั้ง บางประเภทก็อาจจะติดตั้งได้ง่ายด้วยตนเอง จึงควรจะดูความเหมาะสมที่หน้างาน และงบประมาณที่มีว่าเพียงพอต่อค่าวัสดุและค่าช่างหรือไม่
- การกันเสียง นอกจากกันความร้อนแล้ว ฉนวนบางประเภทยังช่วยกันเสียงได้ด้วย ควรเลือกฉนวนที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง เช่น ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน หรือฉนวนไฟเบอร์กลาสที่มีชั้นหนาพิเศษ
ฉนวนที่ผนังอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีที่หลังคาด้วย!
เมืองไทยเมืองร้อน แสงแดดแรง ๆ ส่องลงหลังคาทั้งวัน ทำเอาบ้านระอุ นอกจากผนังแล้วจระเข้จะพาทุกคนไปดูกันว่า จะเลือกฉนวนกันความร้อนบนหลังคาแบบไหนดี ถึงจะช่วยลดอุณหภูมิในบ้าน ปกป้องบ้านได้ทั้งหลัง อยู่สบาย ประหยัดไฟยิ่งกว่าเดิม ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด ควรเลือกอย่างไรดี?
ป้องกันหลังคาบ้านเสียหายจากความชื้น ต้องจระเข้ รูฟ ชิลด์
ภาพ: จระเข้ รูฟ ชิลด์
ไม่ใช่แค่ความร้อนที่ควรจะห่วง แต่เรื่องความชื้นก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะส่วนที่โดนความร้อนความชื้นตลอดเวลาอย่างหลังคา ที่เสียหายทีต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมาก ควรปกป้องหลังคาจากการรั่วซึมด้วยจระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิกทากันซึมสำเร็จรูปพร้อมใช้ แค่เปิดฝาคนให้เข้ากันก็ทาได้เลย มาพร้อมคุณสมบัติดี ๆ เพียบ ไม่ว่าจะเป็น
- เมื่อแห้งตัวจะมีลักษณะเป็นแผ่นยางบาง ๆ ช่วยป้องกันน้ำซึม
- ยืดหยุ่นตัวสูงกว่า 500% ช่วยปกปิดรอยแตกลายงา และรอยต่อระหว่างวัสดุ
- ทนสภาพอากาศแบบต่าง ๆ และทนต่อรังสี UV
- ยึดเกาะพื้นผิววัสดุได้หลายแบบ จะปล่อยเปลือยหรือทาสีทับก็ได้
ชมรายละเอียดจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ สั่งซื้อจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
อยากได้ผลิตภัณฑ์จระเข้มาดูแลบ้าน ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด