ปูกระเบื้องทับของเดิม หรือ รื้อปูใหม่ มีหลักตัดสินใจอย่างไรบ้าง ?
สวัสดีครับกลับมาพบกับสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่องบ้านที่อยู่อาศัยกับพี่เข้เช่นเคย วันนี้พี่เข้ก็มีเรื่องที่เจ้าของบ้านหลายท่านสงสัยและถามกันเข้ามาเยอะมากว่าหากเบื่อกระเบื้องเก่าอยากปูใหม่ทับของเดิมจะทำได้หรือไม่ มีข้อควรระวังอย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันครับ
เป็นธรรมดาที่เวลาใช้อะไรบางอย่างไปนานๆ มันก็ต้องเริ่มเบื่อกันบ้าง เช่นเดียวกับงานกระเบื้องที่เมื่อตอนเริ่มปลูกบ้านอุตส่าเลือกอย่างสวยแต่พออยู่ๆไปดันไปเจอกระเบื้องลายใหม่ถูกใจกว่า เบื่อลายเก่าคิดอยากจะเปลี่ยนใหม่แต่ก็ไม่อยากจะรื้อให้วุ่นวายสกปรกเลอะเทอะ เลยจะปูใหม่ไปเลยหมดเรื่องหมดราว ไม่ต้องปรับระดับพื้นเพราะเรียบอยู่แล้วน่าจะทำได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
แต่เดี๋ยวก่อนในความเป็นจริงแล้วการปูกระเบื้องทับของเดิมแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่มีการใช้วิธีนี้มานานแล้ว แต่ก็ใช่ว่าทุกกรณีจะทำได้ บางเคสจำเป็นต้องรื้อกระเบื้องเก่าออก เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าไหมครับว่า เคสไหนทำได้เลย เคสไหนต้องรื้อกระเบื้องเก่าออกเสียก่อน
ปูทับ หรือ รื้อ ใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน ?
1. สำรวจกระเบื้องเดิมว่ายังติดแน่นดีหรือเปล่า
หากกระเบื้องเดิมหลุดล่อน โปร่งพอง จำเป็นต้องรื้อแผ่นนั้นออกห้ามปูทับเด็ดขาดเพราะจำทำให้กระเบื้องที่ปูทับไม่แนบสนิทและโปร่งพองตามไปด้วย
2. ระดับพื้นที่สูงขึ้นมีผลกับประตู
แน่นอนว่าหากคุณไม่รื้อกระเบื้องเก่าออก ปูทับไปเลยความสูงของระดับพื้นจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยๆ 1.5-2 เซนติเมตร ความสูงระดับนี้จะส่งผลต่อบานประตูเปิดเข้าออก อาจติดได้ ซึ่งเจ้าของบ้านอาจต้องจ้างช่างประตูมาปรับระดับประตูใหม่เป็นการเสียเงิน 2 ต่อ
3. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อโครงสร้าง
ตรงจุดนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เจ้าของบ้านต้องแน่ใจว่าโครงสร้างหรือรากฐานบ้านของคุณแข็งแรงมากพอ เพราะการปูกระเบื้องทับของเดิมนั้นเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับฐานรากหากไม่แน่ใจให้ปรึกษาวิศวกรจะดีที่สุดเพราะในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของพื้นหรือเสาคานได้
จากทั้ง 3 ข้อข้างต้นคงพอจะนึกภาพออกใช่ไหมครับว่า เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงให้มาก หลายกรณีพบว่าท่านเจ้าของบ้านต่อให้ไม่อยากรื้อของเก่าเพราะไม่อยากให้บ้านฝุ่นคลุ้ง หน้างานเลอะเทอะก็ต้องยอมเพราะโดยสภาพมันทำไม่ได้จริงๆ แต่ในทางตรงกันข้ามหากผ่านทั้ง 3 ข้อโดยไม่มีอะไรให้กังวลก็สามารถจัดการปูทับได้เลย แต่ก็ต้องใช้เทคนิคการปูและอุปกรณ์เฉพาะทางเพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ ดังต่อไปนี้
1. ปูนกาวสำหรับปูทับ
ในงานปูทับต้องใช้กาวชนิดพิเศษสำงานปูทับเท่านั้น ในกรณีนี้ควรเลือกใช้ กาวซีเมนต์จระเข้เงิน ปูนกาวมาตรฐานอเมริกาและผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับสูงสุดของไทย ปูนกาวจระเข้เงินสามารถปูทับกระเบื้องเดิมภายในและภายนอกอาคาร ทั้งพื้นและผนังให้การยึดเกาะสูง
วิธีใช้งานคือนำไปผสมในอัตราส่วนผสม ตวงกาวซีเมนต์ จระเข้เงิน 20 กก. (1ถุง) ต่อ น้ำ 5.60 ลิตร หรือ ตวงกาวซีเมนต์ จระเข้เงิน 2.7 ส่วน ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร ใช้เครื่องผสมรอบต่ำประมาณ 150 รอบต่อนาที (150 rpm) ช่วยในการผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้เพื่อให้เคมีบ่มตัวประมาณ 15 นาที จึงกวนซ้ำอีกครั้งก่อนนำมาใช้งาน
*อย่าเติมน้ำหรือกาวซีเมนต์ลงไปเพิ่มหลังจากที่ทิ้งไว้จนเคมีบ่มตัวแล้ว
2. เทคนิคการปูแบบไล้หลังกระเบื้อง
การปูทับจำเป็นต้องใช้ปูนกาวไล้หลังกระเบื้องให้ทั่วจากนั้นใช้เกรียงหวีปาดให้เป็นร่อง ทำแบบเดียวกันกับพื้นบริเวณที่ปูโดยใช้เกรียงหวีปาดให้เป็นมุม 60 องศาและครูดให้เป็นรอยทางในทิศทางแนวเดียว เทคนิคนี้จะป้องกันการเกิดโพรงอากาศ ทำให้กระเบื้องที่ปูสามารถรับแรงกดอัดได้เต็มที่ ไม่แตกล่อนในภายหลัง
เป็นอย่างไรบ้างครับได้ทราบถึงข้อควรระวังในการปูกระเบื้องกรณีปูทับกระเบื้องเดิมกันไปแล้ว ว่ามีอะไรที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงเทคนิคการปูทับที่จะทำให้กระเบื้องไม่หลุดล่อนติดทนนานอยู่คู่บ้านไปอีกหลาย 10 ปี กลับมาพบกับพี่เข้ในบทความเกี่ยวกับเรื่องบ้านได้อีกครั้งโอกาสหน้าวันนี้ต้องลาไปก่อนสวัสดีครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปูกระเบื้องเร่งด่วน ใช้อะไรบ้าง?
ปู “ซาลาเปา” คืออะไร ทำไมถึงเป็นวิธีปูกระเบื้องที่ช่างไม่ควรใช้?
ปูนกาวซีเมนต์จระเข้ กับ กับปูนกาวซีเมนต์อื่นๆ แตกต่างกันอย่างไร ?