ประเด็นสำคัญ
- การสร้างโครงสร้างบ้านชั้นเดียว เลือกทำฐานรากได้ทั้งแบบแผ่ แบบตอกเสาเข็มสั้นหรือยาว โดยดูจากพื้นดินที่จะก่อสร้าง ว่าเป็นชั้นดินแข็ง ดินแข็งปานกลาง หรือดินอ่อน เพื่อให้เลือกได้เหมาะสมที่สุด
- จุดเด่นของโครงสร้างบ้านชั้นเดียวจะอยู่ที่ออกแบบได้หลากหลาย ก่อสร้างได้รวดเร็ว เหมาะกับคนทุกวัย ขนย้ายต่อเติมสะดวก และยังดูแลรักษาง่ายด้วย ถึงจะมีจุดอ่อนในเรื่องพื้นที่ ความร้อน และสัตว์พิษต่าง ๆ ก็เป็นปัญหาที่แก้ไขและป้องกันได้ทั้งนั้น
บ้านชั้นเดียวเป็นอีกทางเลือกที่คนยุคใหม่ให้ความสนใจกันมาก เพราะอยู่อาศัยได้แบบสะดวกสบาย เหมาะกับสมาชิกทุกวัย ไม่ต้องเดิน-ขึ้นลงให้เหนื่อย แถมยังออกแบบได้หลากหลาย จะชอบสไตล์ไหนก็เลือกได้
การสร้างบ้านสไตล์นี้ก็ควรจะทำความรู้จักกันก่อนว่า โครงสร้างบ้านชั้นเดียวควรเลือกฐานรากแบบไหน เพื่อความแข็งแรง และมีจุดเด่นจุดอ่อนอะไรที่ควรจะรู้ไว้ก่อนตัดสินใจสร้าง วันนี้จระเข้รวบรวมมาให้ครบจบ ไปดูกันได้เลย!
อยากให้โครงสร้างบ้านชั้นเดียวแข็งแกร่ง ควรเสริมด้วย จระเข้ แอดมิค เคียว
ภาพ: จระเข้ แอดมิค เคียว
ก่อนจะไปดูกันว่าการสร้างฐานรากโครงสร้างบ้านชั้นเดียวมีให้เลือกกี่แบบ จระเข้ขอพาทุกคนไปรู้จักกับอีกตัวช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้รากฐานอย่าง น้ำยาจระเข้ แอดมิค เคียว น้ำยาบ่มคอนกรีตชนิด Sodium Silicate ประสิทธิภาพสูง เมื่อทาแล้วน้ำยาจะก่อตัวเป็นแผ่นฟิล์ม เคลือบผิวคอนกรีตไว้ ช่วยลดการแตกร้าว สร้างบ้านให้ได้มาตรฐานตั้งแต่รากฐาน แถมยังมาพร้อมคุณสมบัติเด่นหลายด้าน ได้แก่
- ลดการหดตัวหรือแตกร้าวจากคอนกรีตจากการสูญเสียน้ำ
- เพิ่มความแข็งแกร่งลดฝุ่นบนหน้าพื้นผิวคอนกรีต
- ฉีดพ่นได้จึงบ่มคอนกรีตได้รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงในการทำงาน
โครงสร้างบ้านชั้นเดียวมีแบบไหนให้เลือกบ้าง?
1. พื้นที่ดินแข็ง ภูเขา ต้องรากฐานแบบแผ่
ภาพ: ตัวอย่างฐานรากแบบแผ่
มีที่ดินติดภูเขา เชิงเขา หรือเพิ่งซื้อที่ดินตรงจุดที่มีดินแข็ง ๆ รับน้ำหนักได้ ก็สามารถเลือกรากฐานแบบแผ่ หรือ Spread Footing สำหรับโครงสร้างบ้านชั้นเดียวได้ เพราะฐานรากแบบนี้จะรับน้ำหนักสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังได้ โดยไม่ต้องเจาะเสาเข็มลงดิน
ฐานรากแบบนี้จะเจอได้บ่อยทางภาคเหนือหรือภาคอีสาน เพราะมีภูเขาหรือที่ราบสูงอยู่เยอะ ถึงจะช่วยประหยัดค่าเสาเข็ม ก็ควรจะให้วิศวกรสำรวจดูพื้นที่ให้ดีเสียก่อน ว่าเหมาะกับการก่อสร้างแบบนี้หรือไม่
2. สร้างบ้านไม่ใหญ่บนพื้นดินแข็งปานกลาง ต้องรากฐานแบบเสาเข็มสั้น
ภาพ: เสาเข็มสำหรับสร้างบ้าน
สำหรับใครที่อยากจะทำโครงสร้างบ้านชั้นเดียวโมเดิร์น หลังเล็ก ๆ ไม่ใหญ่มาก บนพื้นที่ที่มีชั้นดินแข็งอยู่ด้านบน ก็เลือกใช้ฐานรากแบบเสาเข็มสั้นได้ เพราะดินด้านบนรับน้ำหนักได้เพียงพอ จนไม่จำเป็นต้องเจาะลึกลงไปถึงดินชั้นล่าง
เลือกได้ทั้งเสาไม้ เหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก อย่างไรก็ตามเราขอแนะนำให้สำรวจพื้นที่ดูให้ดีมาก ๆ ว่าดินมีโอกาสทรุดหรือเปล่า เพราะไม่อย่างนั้นมีโอกาสที่บ้านจะทรุดตามดินได้ในอนาคต
3. บ้านหลังใหญ่ น้ำหนักเยอะ ต้องรากฐานแบบเสาเข็มยาว
ภาพ: การตอกเสาเข็ม
สำหรับครอบครัวใหญ่ สมาชิกเยอะ โครงสร้างบ้านชั้นเดียวก็จะใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ถ้าสร้างบนพื้นดินอ่อนแข็งปานกลาง หรือดินอ่อน เช่น พื้นที่ที่เคยเป็นบึง มีบ่อน้ำมาก่อน หรือพื้นที่แบบกรุงเทพฯ ชั้นดินด้านบนก็อาจจะแข็งไม่พอ จนรับน้ำหนักไม่ไหวทำให้บ้านทรุดได้ จึงควรเลือกตอกเสาเข็มแบบเข็มยาว เจาะลงให้ลึกถึงชั้นดินดาน ที่อาจอยู่ลึกถึง 15-20 เมตร ได้เลยทีเดียว โดยให้วิศวกรมาสำรวจและคำนวณความลึกให้ดีเสียก่อน เพื่อให้น้ำหนักบ้านกระจายตัวลงพื้นดินได้เหมาะสม ไม่ต้องกลัวบ้านทรุดในอนาคต
สินค้าแนะนำ
ภาพ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ (ซีเมนต์เกร้าท์ ชนิดไม่หดตัว ปูนเกร้าท์ให้กําลังอัดสูง >750 ksc ไหลตัวได้ดี)
สั่งซื้อ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ ได้เลยตอนนี้ คลิก
จระเข้ จีพี เกร้าท์ เป็นปูนเกร้าท์ผสมเสร็จ ไม่หดตัว (Non Shrink Grout) รับแรงอัดสูง เหมาะสําหรับงานเกร้าท์ทั่วไป เช่น งานเท รูโพรง ช่องว่าง ฐานโครงสร้างต่าง ๆ เสา ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสําเร็จรูป หรือใช้ซ่อมแซมงานเกร้าท์ กรอบประตูระหว่างกําแพง หรือตามส่วนงานโครงสร้างต่าง ๆ
จุดเด่นของบ้านชั้นเดียว ดีอย่างไร ทำไมน่าสร้างไว้อยู่อาศัย?
1. ออกแบบได้หลากหลายมากขึ้น จะสไตล์ไหนก็ทำได้
ภาพ: บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น
บ้านชั้นเดียวถือเป็นแบบบ้านที่ออกแบบได้หลากหลาย เพราะก่อสร้างในระนาบเดียวกันทั้งหมดได้เลย ไม่ต้องเหลือที่ไว้สำหรับบันได แถมถ้าสร้างบนที่ดินกว้าง ๆ ก็ยังออกแบบสวนสวยเข้ากับตัวบ้านเพิ่มเติมได้ด้วย และถ้าอยากจะต่อเติมโครงสร้างบ้านชั้นเดียวเพิ่มในอนาคต ก็ทำง่าย ดัดแปลงพื้นที่ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ได้เลย
2. ก่อสร้างได้สะดวก รวดเร็ว ช่วยประหยัดงบได้อีกทาง
ภาพ: การก่อสร้างบ้านชั้นเดียว
การก่อสร้างโครงสร้างบ้านชั้นเดียวนั้นรวดเร็วและสะดวกสบายกว่าบ้านสองชั้นหรือสามชั้นมาก เพราะว่าถ้าโครงสร้างไม่ซับซ้อน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรหนักอย่างเครนก็ได้ จึงช่วยประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และยังควบคุมค่าวัสดุต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้นตามไปด้วย
3. เหมาะกับคนทุกวัย จะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ก็อยู่สบาย
ภาพ: บ้านชั้นเดียวเหมาะกับผู้สูงอายุในครอบครัว
ครอบครัวไหนอยู่อาศัยกับผู้สูงอายุที่เคารพรัก ขอบอกเลยว่าการสร้างบ้านชั้นเดียวช่วยเสริมสร้างความสะดวกสบาย และความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก พอไม่ต้องเดินขึ้น-ลงบันได อุบัติเหตุก็น้อยลงตามไปด้วย โดยควรจะออกแบบเลือกวัสดุต่าง ๆ ให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก ก็ใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย
4. ไม่ต้องขึ้นบันได ก็ขนเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านได้สะดวกกว่า
ภาพ: เฟอร์นิเจอร์รอขนเข้าบ้าน
พอเป็นบ้านชั้นเดียว ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะขนเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านลำบาก ไม่ต้องเหนื่อยขึ้น-ลงบันไดด้วย แค่ยกเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เข้าบ้าน จะชิ้นเล็ก ชิ้นใหญ่ ก็สะดวกสบาย พร้อมจัดวางตามที่ออกแบบไว้ได้เลย ดีไม่ดีได้ประหยัดค่าแรงขนย้ายด้วย
5. ดูแลรักษาง่าย มีจุดไหนต้องซ่อมแซมก็ทำเองได้
ภาพ: การซ่อมแซมบ้านชั้นเดียวสะดวกกว่า
บ้านทุกหลังไม่เว้นแม้แต่บ้านชั้นเดียว เวลาใช้ไปนาน ๆ ก็เสื่อมโทรมลงตามเวลา โครงสร้างบ้านชั้นเดียวจะได้เปรียบตรงที่การดูแลรักษาที่สะดวกกว่า เข้าถึงจุดต่าง ๆ ได้ง่าย ถึงจะมีปัญหาหลังคา เพดานรั่วซึม ก็ยังขึ้นไปสำรวจเองได้อย่างปลอดภัย แต่ทางที่ดีก็ควรจะเรียกช่างมาช่วยดูด้วยจะป้องกันปัญหาระยะยาวได้
ถึงจะมีจุดเด่นหลายด้าน โครงสร้างบ้านโมเดิร์นชั้นเดียวก็ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่แก้ไขได้ไม่ยาก จะมีอะไรบ้างนั้น ตามจระเข้ไปดูกันต่อได้เลย!
จุดอ่อนของบ้านชั้นเดียว ตรงไหนบ้างไม่ควรมองข้าม!
1. ใช้พื้นที่สร้างเยอะ ต้องออกแบบให้ดี
ภาพ: บ้านชั้นเดียวใช้พื้นก่อสร้างค่อนข้างเยอะ
ถึงโครงสร้างบ้านชั้นเดียวจะมีค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างน้อยกว่า แต่ถ้าสร้างบนที่ดินราคาแพง ก็อาจจะทำให้มูลค่าโดยรวมของบ้านสูงขึ้นไปด้วย แถมหากสร้างบ้านไว้พอดีกับพื้นที่ ถ้าจะขยับขยายก็จะมีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย จึงควรวางแผนไว้ให้รอบคอบที่สุด
วิธีแก้ไข: ออกแบบบ้านโดยคำนึงถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวให้ครบถ้วน หรือเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับต่อเติมในอนาคต
2. อากาศร้อนกว่า ถ่ายเทความร้อนลำบาก
ภาพ: บ้านชั้นเดียวรับแสงแดดเต็ม ๆ
เพราะไม่มีชั้นสองมาช่วยถ่ายเทความร้อนจากแสงแดด ถึงจะเป็นโครงสร้างบ้านชั้นเดียวโมเดิร์นออกแบบมาให้โล่งโปร่งเต็มที่แล้ว ก็ยังมีโอกาสดูดซับความร้อนได้เต็ม ๆ โดยตรงจากหลังคา ปัญหานี้แก้ได้ด้วยวัสดุต่าง ๆ หรือออกแบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
วิธีแก้ไข: ติดฉนวนกันความร้อน เลือกแผ่นหลังคาสะท้อนความร้อน รวมถึงเลือกใช้สีสะท้อนความร้อน เพื่อให้อุณหภูมิในบ้านเย็นลง และอาจออกแบบให้มีช่องระบายอากาศด้วย
3. ต้องระวังเรื่องสัตว์พิษและน้ำท่วมไว้ให้ดี
ภาพ: บ้านชั้นเดียวอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ
อีกจุดหนึ่งที่ต้องดูให้ดีเมื่อสร้างบ้านชั้นเดียวคือ เรื่องของสัตว์พิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงู มด แมลง หรือสัตว์อื่น ๆ ที่แอบเข้ามาอยู่ในบ้าน รวมไปถึงเรื่องน้ำท่วมด้วย จึงควรจะทำโครงสร้างบ้านชั้นเดียวให้ยกสูงประมาณ 60 ซม. และปิดโพรงให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันสัตว์มาทำรังนั่นเอง
วิธีแก้ไข: ดูแลรักษาบริเวณรอบบ้านให้สะอาด เป็นระเบียบอยู่เสมอ หมั่นตัดหญ้า ตัดกิ่งไม้ เป็นประจำ และสำรวจดูรูโพรงต่าง ๆ ด้วย
สั่งซื้อ: จระเข้ จีพี เกร้าท์ ได้เลยตอนนี้ คลิก, สั่งซื้อผลิตภัณฑ์จระเข้ทางออนไลน์ คลิก
ชอบบ้านชั้นเดียว อยากได้ความรู้เยอะกว่านี้ ไปดูเลยที่...
รวมหลังคาบ้านที่เหมาะสำหรับบ้านชั้นเดียว
บ้านชั้นเดียวดูดความชื้นจากดิน ผลิตภัณฑ์จระเข้ช่วยได้
ต่อเติมบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ระวังเรื่องใดมากที่สุด?
เป็นอย่างไรกันบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงสนใจโครงสร้างบ้านชั้นเดียวกันมากขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมสำรวจพื้นที่ที่จะสร้างให้ดีเสียก่อน ว่าเหมาะกับฐานรากแบบไหน เพื่อให้สร้างบ้านสวยออกมาแข็งแรง อยู่คู่กับครอบครัวตราบนานเท่านาน และอย่าลืมเสริมด้วย จระเข้ แอดมิค เคียว เพื่อให้ฐานรากแข็งแกร่ง รับน้ำหนักบ้านได้แบบเต็มที่ ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาโครงสร้างให้ปวดหัว
อยากได้ผลิตภัณฑ์จระเข้ไปปกป้องโครงสร้างบ้านชั้นเดียว ตั้งแต่หลังคาจนถึงชั้นใต้ดิน ไม่ต้องกลัวปัญหาลุกลามถึงภายใน ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายของเรากันก่อนได้ที่เว็บไซต์ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ แล้วก็ตามไปเลือกช้อปสินค้ากลับมาปกป้องบ้านกันได้เลย