ระบบสายไฟ มีอายุกี่ปี?
เดี๋ยวนี้ ไฟฟ้ามีความจำเป็นกับทุกครัวเรือน หากสร้างบ้านใหม่ จำเป็นต้องเดินสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยแยกเบรกเกอร์ กับจุดที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น ห้องที่ต้องใช้เครื่องซักผ้า, ติดแอร์, เครื่องทำน้ำอุ่น, โทรทัศน์ จะต้องแยกสายไฟหลักออกจากกัน ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้สายเมนมีกระแสไฟไหลผ่านหนักจนเกิน เกิดเป็นความร้อนและอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เพราะฉะนั้น ช่างปูนก่อสร้างอาคาร กับ ช่างเดินสายไฟ จึงแยกหน้าที่กันออกอย่างชัดเจน
แต่ไม่ใช่ว่าติดตั้งสายไฟแล้วจะปล่อยเลยตามเลย ใช้งานไปเรื่อย ๆ เพราะสายไฟเองก็มีอายุการใช้งานเช่นเดียวกัน ปัจจุบันบ้านที่มีการเดินสายไฟฟ้า น่าจะอายุ 100 กว่าปีแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงเดินสายไฟฟ้ากันใหม่ เพื่อให้การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย
แม้กระทั่งอาคารโบราณ อย่างวัด หรือ พิพิธภัณฑ์ ก็พบว่ามีการเดินสายไฟ เพื่อติดตั้งหลอดไฟ และติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ก็สามารถเจาะผนัง เพื่อเชื่อมต่อสายไฟฟ้าทั้งสายหลัก และสายย่อยได้ แต่สายไฟทุกประเภทมีอายุการใช้งานทั้งหมด แม้ว่าตัวฉนวนหุ้มจะหุ้มด้วย PVC แต่ก็จะมีอายุราว 15 – 20 ปี พี่จระเข้มีวิธีดูสายไฟฟ้าที่เสื่อม ดังนี้
วิธีสังเกตสายไฟที่เสื่อมสภาพ
หากสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้ามีอาการใกล้เคียงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ควรตรวจสอบสายไฟในบ้านของคุณ
1) สายไฟร้อน หรือมีกลิ่นไหม้
โอกาสเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรมากที่สุด เกิดมาจากสายไฟรับกระแสไฟฟ้ามากเกินไปจากการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กัน และสายไฟด้านในอาจจะขาดแล้ว ทำให้เกิดความร้อนขึ้น หากมีกระดาษ หรือวัสดุที่ติดไฟได้อยู่ใกล้เคียง อาจเกิดเพลิงไหม้ได้
2) สีของสายไฟเสื่อม
หากสีของสายไฟซีดลงมาก อาจมาจากสายไฟที่ใช้งานร้อน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสังเกตสายไฟเหนือศีรษะที่เราไม่สามารถเอื้อมมือไปจับถึง หากเห็นสีสายไฟในบ้านซีดและแตกต่างจากเดิมไปมาก ควรตรวจสอบด้วยการวัดกระแสไฟ หรือให้ช่างไฟมาดูทางเดินสายไฟว่ายังใช้งานได้ดี หรือใกล้ต้องเดินสายไฟใหม่แล้วหรือเปล่า?
3) สายไฟขาด
หากสายไฟส่วนใดส่วนหนึ่งในบ้านขาด อาจจะมาจากหนูแทะ หรือเต้ารับหลุดจนดึงสายไฟจากแรงโน้มถ่วง เมื่อมีสายไฟเส้นใดเส้นหนึ่งขาด จะต้องรีบตรวจสอบด่วน
4) เต้ารับ และ สวิตช์มีประกายไฟบ่อย เวลาเสียบ
หากเสียบปลั๊กเข้าไปแล้วปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทำให้เกิดประกายไฟอยู่บ่อยครั้ง ให้เช็คว่าเต้ารับเสื่อมสภาพหรือไม่? หากเป็นเต้ารับที่มีอายุการใช้งานเท่ากันทั้งบ้าน ก็ตรวจสอบจุดอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะจุดที่ต้องเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ตลอดอย่าง ตู้เย็น และเครื่องปั๊มน้ำ
5) เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยติด หรือเปิดไปสักพักแล้วดับ
บางครั้งหากเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟสูงอย่างกาต้มน้ำ แล้วทำให้ไฟดับ อาจเกิดจากสายไฟเส้นใดเส้นหนึ่งมีปัญหาในการดึงกระแสไฟ หากเป็นบ่อยครั้ง ต้องตรวจสอบจุดอื่น ๆ ด้วย
ทั้งหมดนี้ เป็นวิธีการสังเกตสายไฟคร่าว ๆ หากคุณเจอว่าสายไฟเสื่อมมากจนง่ายต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรแล้ว ควรรีบแก้ไขทุกจุด เพราะอาจจะเกิดกระแสไฟรั่ว และไม่ปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย ถึงแม้ว่าหากมีประกันอัคคีภัย ที่ดูแลมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สิน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกกรณีจะเคลมค่าสินไหมได้ 100% ดังนั้นมาช่วยกันเป็นหูเป็นตาตรวจสอบสายไฟและสิ่งชำรุดในบ้านกันก่อนดีกว่า
ไฟฟ้าเป็นทั้งแสงสว่าง และแหล่งกำเนิดพลังงานให้เราได้เชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้สะดวกกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน หากสายไฟที่บ้านเสื่อม เรียกช่างไฟมาตรวจสอบ แต่หากบ้านร้าว บ้านทรุด บ้านซึม ให้นึกถึงผลิตภัณฑ์ของจระเข้นะครับ สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จระเข้าได้ที่ 02 710 1112 ในเวลาทำการครับ
ที่มา www.9engineer.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประตูบ้านไฟฟ้าควบคุมด้วยรีโมท ดูแลยากไหม
13 วิธีประหยัดไฟช่วงหน้าร้อน ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้ไม่น้อย
เลือกหลอดไฟอย่างไร ให้เข้ากับบ้าน ?
ติดตามข้อมูลข่าวสาร Line Official Jorakay ได้ที่นี่