ข้อควรรู้! ออกแบบบ้านอย่างไร ให้เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย ?
บ้านร้อน! ถือเป็นปัญหาโลกแตก ที่แก้ได้ยากมากถึงมากที่สุดในประเทศไทย เพราะอย่างที่ทราบกันว่าไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น ดังนั้น จึงไม่สามารถหลีกหนีสภาพอากาศที่ร้อนจัดไปได้ หนำซ้ำยังส่งผลกระทบเข้ามาถึงภายในตัวบ้าน โดยปัญหาที่มักพบคือ ความร้อนจากภายนอกบุกเข้ามาภายในบ้าน ทำให้เกิดความร้อนสะสม และอากาศไม่มีการระบาย ส่งผลให้อึดอัด ประหนึ่งว่าอยู่ในเตาอบที่มีอุณหภูมิความร้อนสูงปรี๊ด! ทั้งนี้ทั้งนั้น จะโทษสภาพอากาศเพียงอย่างเดียวก็ไม่ถูกไปเสียทั้งหมด เพราะสาเหตุที่เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน ส่วนหนึ่งมาจากการออกแบบบ้านที่ไม่เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย อีกทั้งไม่มีช่องลมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือไม่ติดฉนวนกันความร้อน ก็ส่งผลทำให้เกิดปัญหาบ้านร้อนหนักมากที่สาหัสเช่นกัน!
ถ้าไม่อยากให้ปัญหาบ้านร้อนตามมากวนใจไม่จบสิ้น! พี่เข้มีข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบบ้านที่เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทยมาแชร์ครับ โดยมีดังนี้
'
'
สร้างในทิศทางที่เหมาะสม
ทิศทางการสร้างบ้านเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมาเป็นลำดับต้นๆ โดยแนะนำให้สร้างบ้านทางทิศใต้ เนื่องจากเป็นทิศทางลมที่เข้าออกบ้านได้ดี ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อีกทั้งการสร้างบ้านที่คำนึงถึงช่วงฝนตก ก็เป็นอีสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนกระเด็นเข้ามาในตัวบ้าน ส่งให้เกิดความเสียหายตามมาภายหลัง
เลือกใช้วัสดุกันความร้อน
เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยลดปัญหาบ้านร้อนได้ดีไม่น้อย โดยกระเบื้องประเภทดินเผาเป็นวัสดุที่ช่วยทำให้บ้านเย็น หรือเลือกกระเบื้องโทนสีอ่อน เนื่องจากสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี และวัสดุที่ควรหลีกเลี่ยงในการสร้างบ้านคือการตกแต่งผนังบ้านด้วยอิฐ เพราะหากก่ออิฐไม่ดีก็มีส่วนเกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการ ก่ออิฐมอญที่มีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งความร้อนจะผ่านเข้ามาได้ยาก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระเบื้องที่ประเภทซีเมนต์ เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาความร้อนสะสมภายในบริเวณบ้าน
ผนังบ้านที่เหมาะสม
ผนังเฉดสีอ่อนจะไม่เกิดการสะสมความร้อนภายในบ้านเท่ากับโทนสีเข้ม อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมทาสีกันชื้นก่อนลงสีจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราบนผนัง หรือสีหลุดล่อนในภายหลัง
ออกแบบหลังคาที่ให้มีช่องระบาย
หลังคาถือเป็นบริเวณที่ต้องรับแสงแดดโดยตรง ดังนั้น แนะนำให้เลือกสร้างหลังคาทรงปั้นหยา ทรงจั่ว หรือเพิงหมาแหงน โดยจะช่วยให้ไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน นอกจากนี้ควรสร้างฝ่าชายคาให้มีช่องระบายอากาศ หรือติดฉนวนกันความร้อนเพื่อให้สะท้อนความร้อนจากภายนอกออกไป อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนในบ้านอีกด้วย
สร้างที่บังแดดให้ตัวบ้าน
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันแสงแดดจากภายนอก ก็คือการติดตั้งกันสาด หรือระแนง โดยการยื่นออกมาจากผนังบ้าน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันแสงแดดไม่ให้สาดส่องเข้ามาภายในตัวบ้าน
สร้างช่องระบายอากาศ
การสร้างช่องระบาบอากาศภายในบ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดปัญหาบ้านมีความร้อนสะสม และมีความอบอ้าวที่เหมือนอยู่ในเตาอบ! ที่สำคัญคือควรเปิดหน้าต่างเพื่อเป็นการระบายอากาศ เพื่อให้มีลมเข้าออกภายในบ้าน
ติตตั้งฉนวนกันความร้อน
เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันแสงแดดจากภายนอกได้ดีทีเดียว โดยแนะนำให้ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณหลังคา หรือบริเวณผนังบ้าน
'
'
นอกจากนี้การจัดส่วนรวมถึงปลูกต้นไม่ใหญ่ ก็มีส่วนช่วยบดบังแสงแดดจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในตัวบ้านได้ดีเช่นกัน อีกทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น และช่วยให้คนในบ้านรู้สึกถึงความสดชื่นอีกด้วย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการซ่อมแซมภายหลัง ควรวางผังบ้าน และออกแบบบ้านให้เหมาะสมอย่างมีคุณภาพ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือเลือกช่างที่มีความรู้ความชำนาญ รวมถึงเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม จะได้ไม่เกิดปัญหาที่ต้องเสียเงินในการซ่อมแซมที่บานปลาย! โดยผลิตภัณฑ์จระเข้ทุกชิ้นมาพร้อมคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ของการซ่อมสร้าง พร้อมมอบบ้านสวยได้ดั่งใจ ไร้ปัญหาการซ่อมแซมตามมาภายหลัง
บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีเลือกม่านบังแดด หมดปัญหาบ้านร้อน อบอ้าว
บ้านสไตล์มินิมอล เรียบง่าย สีคุมโทน มอบการพักผ่อนที่แสนสบาย
บ้านร้อนอบอ้าว ใช้จระเข้ รูฟ ชิลด์ แก้ไขปัญหา!