ประเด็นสำคัญ
- รางน้ำฝนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้น้ำฝนไหลไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยป้องกันสิ่งสกปรกกระเซ็นใส่ผนังบ้าน และยังลดน้ำขังที่พื้นรอบ ๆ บ้านได้อีกด้วย
- แบบรางน้ำฝนมีให้เลือกทั้งสังกะสีที่ราคาประหยัด สแตนเลสและอลูมิเนียมที่ทนต่อสนิม ไวนิลและไฟเบอร์กลาสที่มีสีสันให้เลือกหลากหลาย ซึ่งก็เลือกได้ตามความต้องการของแต่ละครอบครัว
นอกจากหลังคาแล้ว รางน้ำฝนก็เป็นอีกส่วนประกอบของบ้านที่ช่วยรองรับน้ำฝนที่ตกลงมา ช่วยให้น้ำไหลเป็นทาง ตัวบ้านปลอดภัยจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำและความชื้นสะสม จระเข้เลยมีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับรางน้ำฝนมาฝากทุกคน ว่าควรจะเลือกอย่างไรและดูแลอย่างไรให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน ปลอดภัยจากความเสียหายกวนใจ
- ทำไมถึงควรติดรางน้ำฝนไว้คู่กับหลังคาบ้าน?
- รางน้ำฝนมีกี่แบบ? แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง?
- ติดตั้งรางน้ำแบบไหนก็อย่าลืมเก็บงานด้วย จระเข้ โพลี-ยู ซีล
- วิธีเลือกรางน้ำฝนให้เหมาะกับบ้าน เคล็ดลับสำคัญที่ต้องรู้ก่อนติดตั้ง!
- วิธีดูแลรักษารางน้ำฝนเบื้องต้นต้องทำอย่างไรบ้าง?
- เจอปัญหาตะไคร่ ราดำ อย่าลืมเลือก จระเข้ อีซี่ น้ำยาขจัดยับยั้งตะไคร่น้ำ
รางน้ำฝนคืออะไร?
รางน้ำฝน (Rain Gutter) คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งบริเวณขอบหลังคา มีหน้าที่หลักในการเป็นทางน้ำให้น้ำฝนที่ตกลงมาจากหลังคา ไหลลงดินไปยังใต้ดิน ผ่านท่อน้ำหรือพื้นที่ระบายน้ำไปในทิศทางที่เหมาะสม ช่วยปกป้องโครงสร้างบ้านจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นคราบสกปรก เชื้อราที่ผนัง ผนังร้าว และช่วยป้องกันน้ำท่วมขังที่พื้นได้ด้วย
ทำไมถึงควรติดรางน้ำฝนไว้คู่กับหลังคาบ้าน?
1. ทำให้น้ำไหลเป็นทาง ควบคุมการระบายน้ำ
การมีรางน้ำฝนติดอยู่กับหลังคา จะช่วยกำหนดทิศทางการไหลของน้ำฝนจากหลังคาให้เข้าสู่ท่อระบายน้ำอย่างเป็นระบบ ลดปัญหาน้ำไหลซึมลงผนังบ้านหรือกระจายไปบนพื้นดิน ซึ่งอาจทำให้เกิดการกัดเซาะดินรอบบ้านหรือการทรุดตัวของฐานรากในระยะยาว แถมบ้านไหนอยากจะเก็บน้ำไว้ใช้ ก็ต่อท่อให้ลงถังเก็บน้ำได้เลยด้วย
2. ป้องกันสิ่งสกปรกกระเซ็นเข้าตัวบ้าน
ป้องกันน้ำฝนจากหลังคาบ้านกระเซ็นลงผนังบ้าน หน้าต่าง ประตู ทำให้เกิดคราบสกปรก และถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ให้ความชื้นสะสม ก็อาจก่อให้เกิดเชื้อรา รวมถึงทำให้สีบ้านหม่นหมอง ลอกล่อนก่อนเวลาอันควร หรือพื้นผิวถูกกัดกร่อนจากความชื้น และยังป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกกระเซ็นสู่บ้านใกล้เคียงด้วย
3. ลดน้ำขัง ป้องกันเชื้อราและแมลง
น้ำฝนที่ไหลลงมาโดยไม่มีรางน้ำฝนรองรับ อาจทำให้น้ำขังตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น บริเวณลานบ้านหรือใกล้ฐานราก น้ำขังเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนในบ้าน การควบคุมทิศทางน้ำฝนด้วยรางน้ำจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี และยังช่วยลดความเสี่ยงที่น้ำฝนจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ อย่างพื้นลื่นได้อีกด้วย
ก่อนที่จะติดตั้งรางน้ำฝน มาทำความรู้จักกับรางน้ำฝนในรูปแบบต่าง ๆ กันก่อนดีกว่า โดยแต่ละประเภทนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ทั้งในด้านข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้สามารถเลือกรางน้ำฝนได้อย่างเหมาะสม และตรงกับความต้องการมากที่สุด
รางน้ำฝนมีกี่แบบ? แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง?
1. รางน้ำฝนสังกะสี
“ติดตั้งง่าย หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง”
รางน้ำสังกะสีได้รับความนิยมและแพร่หลายในสมัยก่อน โดยรางน้ำฝนสังกะสีเป็นรางน้ำโลหะที่ผ่านกระบวนการชุบสังกะสี เพื่อเพิ่มความทนทานต่อสนิม มีความเงาเล็กน้อย เนื้อโลหะที่บาง น้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งได้ง่าย เหมาะกับบ้านที่อยากติดรางน้ำแบบประหยัดงบประมาณ หรือใช้ในพื้นที่ที่ไม่มีปริมาณน้ำฝนมากเกินไป
ข้อดี: ราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย หาซื้อได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป พื้นผิวลื่นทำให้น้ำไหลได้สะดวก
ข้อเสีย: อายุการใช้งานค่อนข้างสั้นเพียง 5-10 ปี และอาจมีเสียงดังกว่าวัสดุอื่นเมื่อฝนตกกระทบ
2. รางน้ำฝนสแตนเลส
“รับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้ดี ไม่กลัวความชื้น”
ใครมองหารางน้ำฝนที่มีความคงทนกว่าแบบสังกะสี ไม่เกิดสนิม ควรเลือกรางน้ำฝนสแตนเลส ที่มาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทานต่อการกัดกร่อน พื้นผิวเงางาม ไม่เป็นสนิม ถึงแม้จะต้องเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และยังรับน้ำหนักได้ดี เจอปริมาณน้ำฝนมากก็ไม่น่าห่วง ใช้ได้ทั้งในบ้านพักอาศัยและอาคารขนาดใหญ่ ตอบโจทยการใช้งานได้ยาวนานและไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก
ข้อดี: ไม่เป็นสนิม แม้จะเจอความชื้นหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รับน้ำหนักได้ดี ไม่บิดงอง่าย และยังดูแลรักษาได้สะดวก
ข้อเสีย: ราคาสูงส่วนใหญ่เป็นสีเงินเงา ถ้าอยากตกแต่งบ้านให้แตกต่างจะแมตช์สีค่อนข้างยาก
3. รางน้ำฝนอลูมิเนียม
“ดีไซน์หลากหลาย แข็งแรงทนทาน”
ใครอยากได้รางน้ำฝนที่ปรับเข้ากับดีไซน์บ้านได้ง่าย ไม่ควรมองข้ามรางน้ำฝนอลูมิเนียม ที่ยืดหยุ่นสูงปรับให้เข้ากับโครงสร้างบ้านได้ง่าย น้ำหนักเบา ทนทานต่อการเกิดสนิมและการกัดกร่อน มีสีสันและดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย เหมาะกับบ้านที่ให้ความสนใจกับการออกแบบเป็นพิเศษ
ข้อดี: ไม่เป็นสนิมแม้เจอน้ำฝนปริมาณมาก น้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายและปลอดภัยต่อโครงสร้างหลังคา และบำรุงรักษาง่าย เพียงทำความสะอาดทั่วไป
ข้อเสีย: หากถูกกระแทกอาจบุบหรือเสียรูปทรงง่าย มีโอกาสเสื่อมสภาพจากสภาพอากาศ
4. รางน้ำฝนไวนิล
“ติดตั้งง่ายมาก เข้ากับบ้านทุกประเภท”
ไม่อยากเจอสนิม ไม่อยากเสี่ยงต่อการกัดกร่อน ควรเลือกใช้รางน้ำฝนไวนิลที่เป็นพลาสติกคุณภาพสูงที่ผลิตมาเพื่อใช้งานภายนอกโดยเฉพาะ น้ำหนักเบา แถมยังมีสีสันให้เลือกหลากหลายแบบ เหมาะกับบ้านทุกแบบ ทุกสไตล์ มั่นใจได้ว่าจะไม่เป็นสนิมแน่นอน ติดตั้งไม่ยุ่งยาก เหมาะกับการใช้งานในบ้านยุคนี้
ข้อดี: เหมาะสำหรับบ้านทุกประเภท น้ำหนักเบาติดตั้งให้เข้ากับหลังคาได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อนและความชื้น ติดตั้งง่ายโดยไม่ต้องใช้ช่าง
ข้อเสีย: ถ้าเจอแรงกระแทกหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อาจเปราะและแตกหักง่าย และสีอาจซีดจาง
5. รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส
“ทนต่ออุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด”
รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของรางน้ำฝนที่ไม่ได้ทำมาจากโลหะ เพราะเป็นวัสดุที่ผสมผสานระหว่างไฟเบอร์และเรซิน ทำให้ได้รางน้ำฝนที่มีน้ำหนักเบา ทนทาน ผิวเรียบเนียน ไม่แตกหักง่าย และยังเลือกใช้กับบ้านได้หลายสไตล์
ข้อดี: แข็งแรงทนทานมาก ไม่เสื่อมสภาพง่าย และยังทนต่ออุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด มีสีสันให้เลือกเยอะตามแบบบ้าน
ข้อเสีย: ราคาแพงกว่าไวนิล และควรใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญติดตั้ง
ติดตั้งรางน้ำแบบไหนก็อย่าลืมเก็บงานด้วย จระเข้ โพลี-ยู ซีล
ภาพ: วัสดุอุดรอยต่อจระเข้
จะเป็นรางน้ำฝนแบบไหน อย่าลืมเก็บงาน อุดรอยต่อ อุดร่องกันแตกตามรอยต่อโครงสร้าง เพื่อป้องกันการรั่วซึม ด้วย จระเข้ โพลี-ยู ซีล โพลียูริเทนซีลแลนท์สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน ยึดเกาะพื้นผิวได้หลากหลาย ได้ทั้งกับกระเบื้องมุงหลังคา โลหะ คอนกรีต ปูนฉาบ กระเบื้องเซรามิก หิน และสุขภัณฑ์ ใช้ได้ทั้งงานภายในและภายนอก ใช้งานง่ายแค่ใส่ปืนยิงกาว มาพร้อมคุณสมบัติดี ๆ อีกเพียบ
- ยืดหยุ่นตัวสูงมากกว่า 700% อุดรอยต่อในที่ที่มีการเคลื่อนตัวได้
- แห้งเร็วทาสีทับได้โดยไม่ต้องรองพื้น
- ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
วิธีเลือกรางน้ำฝนให้เหมาะกับบ้าน เคล็ดลับสำคัญที่ต้องรู้ก่อนติดตั้ง!
1. เลือกวัสดุที่ทนทาน
วัสดุของรางน้ำฝนมีผลต่อความทนทานและอายุการใช้งาน จึงควรเลือกให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน อย่างรางน้ำฝนสังกะสีเหมาะสำหรับบ้านที่อยากประหยัดงบประมาณในการตกแต่ง ในขณะที่รางน้ำฝนไวนิลและไฟเบอร์กลาส โดดเด่นด้วยสีสันที่หลากหลาย ตอบโจทย์บ้านที่ต้องการความสวยงามและการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2. เลือกขนาดให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝนและหลังคา
เพราะหลังแค่แต่ละบ้านมีขนาดไม่เท่ากัน การเลือกรางน้ำฝนที่เหมาะสมควรสัมพันธ์กับขนาดหลังคาและปริมาณน้ำฝน โดยควรเลือกรางน้ำฝนที่รองรับน้ำได้มากเพียงพอ เพื่อไม่ให้น้ำล้นออกมามากเกินไป จนกระเซ็นเข้าตัวบ้านเมื่อมีฝนตกหนัก จะช่วยลดปัญหาน้ำขังและความเสียหายในระยะยาว
- หลังคาขนาดเล็ก ขนาดต่ำกว่า 50 ตารางเมตร ในบ้านขนาดเล็ก ทาวน์เฮาส์ ควรเลือกรางน้ำฝนขนาด 4 นิ้ว รองรับน้ำได้ประมาณ 4.5 ลิตร/วินาที
- หลังคาขนาดกลาง ขนาด 50–150 ตารางเมตร ในบ้านเดี่ยวหรืออาคารสองชั้น ควรเลือกรางน้ำขนาด 5–6 นิ้ว รับน้ำได้ประมาณ 6.5–7.5 ลิตร/วินาที
- หลังคาขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป อย่างบ้านหลังใหญ่ โกดังสินค้า รองรับน้ำได้ประมาณ 9–10 ลิตร/วินาที
3. การติดตั้งเหมาะกับประเภทหลังคา
เพราะหลังคาเป็นพื้นที่ที่จะต้องรับน้ำหนักของรางน้ำฝนโดยตรง รูปแบบการติดตั้งรางน้ำฝนเลยเป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้จักไว้ก่อน เพื่อป้องกันหลังคาเสียหายจากการรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งาน พร้อมลดความกังวลเกี่ยวกับปัญหารั่วซึมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หลังคาแบบมีเชิงชาย รางน้ำฝนจะถูกยึดติดกับไม้เชิงชาย ที่อยู่บริเวณขอบหลังคา เหมาะกับหลังคาที่มีไม้เชิงชายแข็งแรง และรองรับน้ำหนักได้ดี
- หลังคาแบบไม่มีเชิงชาย ใช้ขาแขวนรางน้ำฝนติดตั้งกับขอบหลังคาโดยตรง โดยมักใช้วัสดุที่ทนทานและมีน้ำหนักเบา เช่น ไวนิลหรืออลูมิเนียม
- หลังคาทรงแบน ใช้ระบบรางน้ำซ่อนใต้หลังคาหรือขอบผนัง เพื่อเก็บน้ำฝนและระบายออกทางท่อระบายน้ำ วิธีนี้จะเห็นได้บ่อยในอาคารพาณิชย์หรือบ้านสไตล์โมเดิร์น
- หลังคาทรงจั่ว ติดตั้งตามแนวชายคาของทั้งสองด้านของหลังคา เพื่อเก็บน้ำฝนจากทุกจุดแล้วระบายออกทางท่อ
4. ดีไซน์และสีควรเข้ากับสไตล์บ้าน
รางน้ำฝนเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้าน นอกจากเรื่องฟังก์ชันการใช้งานและความแข็งแรงแล้ว สีและดีไซน์ของรางน้ำควรเลือกให้กลมกลืนกับสไตล์บ้าน โดยสำหรับบ้านสไตล์ต่าง ๆ สามารถเลือกได้ดังนี้
- บ้านสไตล์คลาสสิก สำหรับบ้านที่เน้นความหรูหราแบบคลาสสิก ควรเลือกรางน้ำฝนสแตนเลสหรืออลูมิเนียมที่เคลือบสีพิเศษเพื่อให้ดูหรูหรา เช่น สีทอง สีทองแดง
- บ้านสไตล์โมเดิร์น บ้านที่เน้นเรื่องความเรียบง่าย สบายตาแบบโมเดิร์น ควรเลือกรางน้ำที่แข็งแรง ทนทาน ไร้รอยต่อ อย่างไวนิลหรืออลูมิเนียม ใช้การติดตั้งแบบซ่อนรางน้ำ เพื่อให้เนียนไปกับโครงสร้างหลังคา
- บ้านสไตล์คอนเทมโพรารี (Contemporary) บ้านที่ผสมผสานระหว่างความทันสมัยและคลาสสิก ควรเลือกรางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสหรืออลูมิเนียม ที่ออกแบบได้หลากหลาย ใช้สีโทนกลาง เช่น สีเทาเข้ม สีขาว หรือสีเบจ เพื่อคุมโทน
นอกจากรางน้ำฝนแล้วกันสาดก็ยังเป็นอีกส่วนประกอบที่ช่วยลดปริมาณน้ำที่กระเซ็นเข้าบ้านได้ ใครที่สนใจเรื่องกันสาด อยากรู้ว่ามีแบบไหนให้เลือกบ้าง ตามไปอ่านต่อกันได้ที่ กันสาดบ้าน เลือกแบบไหนดี? ให้ตอบโจทย์การใช้งาน
อยากให้รางน้ำดีไซน์สวย ใช้งานดี อยู่คู่กับบ้านไปนาน ๆ อย่าลืมดูแลรักษาเป็นประจำ วันนี้จระเข้มีวิธีการดูแลรักษารางน้ำเบื้องต้นมาฝากกัน จะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูกันได้เลย!
วิธีดูแลรักษารางน้ำฝนเบื้องต้นต้องทำอย่างไรบ้าง?
1. ทำความสะอาดเป็นประจำ
ควรเก็บเศษใบไม้ กิ่งไม้ และสิ่งสกปรกที่อุดตันในรางน้ำเป็นประจำ เพื่อให้น้ำไหลได้อย่างราบรื่น และใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงล้างรางน้ำฝนทุกเดือน อาจติดตั้งตะแกรงป้องกันเศษขยะเพิ่มเติม เพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรก
2. ตรวจสอบรอยรั่ว
ตรวจเช็กรอยรั่วหรือรอยแตกร้าวตามแนวรางน้ำอย่างสม่ำเสมอ และตามจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น รอยต่อระหว่างรางน้ำและท่อระบายน้ำ และซ่อมแซมทันทีที่พบปัญหา
3. เช็กจุดยึด รอยต่อ
ตรวจสอบข้อต่อและจุดยึดรางน้ำกับหลังคา ว่ามีจุดไหนที่น็อตหลวมหรือเริ่มเสื่อมสภาพหรือไม่ เพื่อป้องกันรางน้ำหลุดหรือเอียง หากพบปัญหาควรขันให้แน่นหรือเปลี่ยนใหม่ทันที
เจอปัญหาตะไคร่ ราดำ อย่าลืมเลือก จระเข้ อีซี่ น้ำยาขจัดยับยั้งตะไคร่น้ำ
เจอตะไคร่น้ำบนรางน้ำไม่รู้จะขัดออกอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นอีก ลองเลือกจระเข้ อีซี่ น้ำยาขจัดยับยั้งตะไคร่น้ำ ที่ออกแบบมาสำหรับกำจัดตะไคร่น้ำ สาหร่าย และพืชสีเขียวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวต่าง ๆ ขจัดจนถึงราก พร้อมยับยั้งการเกิดซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้ได้ 2 วิธี ได้แก่
- ขจัดคราบตะไคร่น้ำโดยเฉพาะ โดยฉีดพ่นน้ำยาโดยตรงทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- ผสมลงในบ่อน้ำเพื่อชะลอการเกิดตะไคร่น้ำซ้ำ
ชมรายละเอียดจระเข้ อีซี่ น้ำยาขจัดยับยั้งตะไคร่น้ำ สั่งซื้อจระเข้ อีซี่ น้ำยาขจัดยับยั้งตะไคร่น้ำ
อยากได้ผลิตภัณฑ์จระเข้มาดูแลบ้าน ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด