หลังคาแบบไหน ติด “สปริงเกอร์” ได้บ้าง?
'
เดือนมีนาคมของทุกปีอากาศก็เริ่มร้อนแล้ว บางจังหวัดเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน อุณหภูมิก็เกิน 40 องศาเซลเซียส ทำให้เด็กและผู้สูงอายุอยู่แทบไม่ไหว ความร้อนนี้ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยได้อย่างเฉียบพลัน ต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ ป้องกันอาการลมแดด ส่วนร้านอาหารต่าง ๆ ก็เริ่มมองหาอุปกรณ์ช่วยลดความร้อนให้กับลูกค้า ดังนั้นการติดสปริงเกอร์บนหลังคาจึงตอบโจทย์ลดความร้อนและประหยัดเงินที่สุดครับ
การติดสปริงเกอร์ปล่อยน้ำ หรือ ไอน้ำลงมานั้น ลดอุณหภูมิได้ 1 – 2 องศาเซลเซียส และเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งง่าย ไม่ทำให้โครงสร้างของอาคารเสียหายด้วย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้ง่าย เจ้าของบ้านติดตั้งได้เอง และหากไม่คิดว่าจะติดตั้งแบบถาวรก็ถอดออกได้สะดวกด้วยครับ
การติดอุปกรณ์ลดความร้อนไว้บนหลังคาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ต้องการลดอุณหภูมิของแดด เพื่อผู้อยู่อาศัยในบ้าน เพราะหากเราเปิดแอร์ในบ้านอย่างเดียวค่าไฟต้องสูงมากทีเดียว และต้องติดแอร์หลายตัวกว่าจะทำให้เย็นลงได้ทั่วถึง
ข้อควรระวังการติดสปริงเกอร์บนหลังคา
- การติดตั้งตัวปล่อยละอองน้ำนั้นต้องไม่ทำให้หยดน้ำเข้าสู่รอยของอาคารจนเกิดการรั่วซึมตามกรอบประตู หน้าต่าง
- การเดินสายท่อประปาจะต้องไม่เพิ่มน้ำหนักให้กับหลังคาจนทำให้หลังคาทรุด
- การเดินสายท่อประปาและตัวพ่นละอองน้ำต้องไม่อยู่ใกล้กับปลั๊กไฟ
- จุดติดตั้งสปริงเกอร์ต้องไม่ง่ายต่อการทำลายของนกและสัตว์เลี้ยง
- ตัวพ่นละอองน้ำไม่ควรพ่นน้ำใส่สังกะสีเปลือย หรือเหล็กโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดสนิม
แนวคิดการติดตั้งสปริงเกอร์นั้นเริ่มมาจากเป็นอุปกรณ์เอาไว้รดน้ำต้นไม้ แต่คนไทยก็นำมาดัดแปลงเพื่อลดความร้อน จนในที่สุดก็เป็นไอเดียว่าให้มันหยดลงมาเหมือนฝนไปเลยจะดีกว่า หัวสปริงเกอร์ที่นิยมมี 2 แบบ คือหัวขนาดใหญ่ ใช้วางบนหลังคาเป็นระยะห่าง ทิศทางของหยดน้ำก็จะกระจายทั่วเหมือนเม็ดฝน อีกแบบก็จะเป็นสปริงเกอร์ที่ให้หยดน้ำเส้นเล็ก ๆ ติดระยะถี่ ๆ เพื่อให้หยดน้ำไหลเป็นทาง เพิ่มความสวยงามให้กับอาคารด้วย
ตัวอย่างสปริงเกอร์
สปริงเกอร์ที่ใช้รดน้ำต้นไม้ แบบนี้ไม่ใช่สำหรับติดบนหลังคา เพราะต้องควบคุมด้วยการฉีดมือ
'
'
สปริงเกอร์แบบนี้ใช้สำหรับติดตั้งบนหลังคาได้ หรือจะใช้แบบเป็นสายหยดที่ใช้รดน้ำพืชเมล่อน นำมาดัดแปลงกับการติดตั้งบนหลังคาได้ด้วย
'
ราคาติดสปริงเกอร์บนหลังคา
สายสปริงเกอร์แบบหยดน้ำ ลงทุนแค่หลักร้อยบาท เท่านั้น ขึ้นอยู่กับระยะที่ทอดสายสาย โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างก็ติดตั้งได้แล้ว ได้แก่
1) สวิตช์เปิดปิด
2) รางสปริงเกอร์
3) ข้อต่อสำหรับปรับมุมต่อสายสปริงเกอร์
4) สายยางสำหรับเดินน้ำผ่าน
การออกแบบทิศทางการไหลของน้ำไม่ควรให้ผ่านกับสีทาภายนอกโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดคราบตะไคร่น้ำ ส่วนใหญ่มักติดตั้งให้หยดเป็นละอองพ่นรอบ ๆ ตัวอาคาร และหากติดตั้งสปริงเกอร์ไปนาน ๆ แล้วพื้นผิวบางส่วนของกระเบื้องหลังคา หรือกระเบื้องปูพื้นมีความชื้นเป็นคราบตะไคร่สีเขียวเป็นแนวยาว ก็ขัดได้ด้วยน้ำยากำจัดคราบตะไคร่น้ำจระเข้ ที่เป็นตัวช่วยป้องกันการเกิดคราบตะไคร่ในระยะยาวได้ด้วยครับ คลิกสั่งซื้อ:น้ำยาจระเข้ ขจัดคราบตะไคร่น้ำ
การยับยั้งความร้อนด้วยวิธีติดตั้งสปริงเกอร์นี้ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทำได้เองไม่ยาก และค่าใช้จ่ายน้อย แถมยังลดอุณหภูมิร้อน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาของการออกแบบรางหยดน้ำสวย ๆ ตกแต่งสวน ที่ดัดแปลงมาจากสปริงเกอร์ตัวใหญ่ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่ร้านอาหาร และ รีสอร์ท ซึ่งหากคุณชอบสไตล์การดีไซน์รางหยดน้ำลดอุณหภูมิก็นำมาติดตั้งกับที่บ้านของคุณได้เช่นกัน
จระเข้ขอนำเสนอ จระเข้ เทปซีล เทปกาวกันน้ำและกันรั่วซึม คุณภาพสูง เหนียว ทนทานต่อรังสี UV และสามารถทาสีทับได้ กันน้ำและกันรั่วซึม ใช้งานอเนกประสงค์ เนื้อยางสังเคราะห์ประเภทบิวทิล ปิดผิวหน้าด้วยฟลอยด์สะท้อนแสงสีเงิน มีการยึดเกาะดีเยี่ยม ทนความร้อน/เย็นได้ดี ไม่กรอบแตก มีความคงตัวสูง เหนียว ต้านทานแรงฉีกขาด คลิกสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จระเข้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ออกแบบช่องลมอย่างไรให้เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ?
วิธีคลายร้อน มอบความเย็นสบายให้บ้านคุณ
อยู่ไม่ไหวแล้ว! บ้านร้อนมาก อากาศไม่ถ่ายเท ทำอย่างไรดี ?