ประเด็นสำคัญ
- วิธีระบายความร้อนใต้หลังคา ที่จะช่วยลดความร้อนในบ้าน ทำได้ตั้งแต่การทำหลังคาทรงสูง หรือทำหลังคาสองชั้น หรือทำชายคาเพิ่มเติม เพื่อให้ความร้อนออกจากบ้านได้ง่ายขึ้น
- นอกจากการออกแบบแล้ว ยังสามารถเลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน ลูกหมุนระบายอากาศ หรือฉนวนกันความร้อนก็ได้ เพื่อลดอุณหภูมิในบ้าน อยู่แล้วเย็นสบายมากขึ้น
อากาศเมืองไทยนับวันมีแต่จะร้อนขึ้น ถึงแม้จะอยู่ภายใต้หลังคาก็ใช่ว่าจะหนีความร้อนได้พ้น โดยเฉพาะโซนใต้หลังคาที่รับความร้อนจากแสงแดดแบบเต็ม ๆ ทำให้อุณหภูมิในบ้านสูงขึ้นตามไปด้วย วันนี้จระเข้เลยมีวิธีระบายความร้อนใต้หลังคา ที่ช่วยลดความร้อนภายในบ้านได้เป็นอย่างดี สำหรับขั้นตอนการระบายความร้อนที่เหมาะสม สามารถทำได้ดังวิธีต่อไปนี้
7 วิธีระบายความร้อนใต้หลังคา บ้านเย็นแบบเป็นธรรมชาติ
1. ทำหลังคาทรงสูง
ภาพ: หลังคาทรงสูง
“ทรงสูงกว่า ลาดเอียงกว่า ชะลอความร้อนได้ดีกว่า”
อยากระบายความร้อนใต้หลังคาต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ควรจะออกแบบหลังคาให้มีทรงสูง ลาดเอียงเยอะ ๆ ทำให้มีพื้นที่ใต้หลังคามากขึ้น ซึ่งเป็นการชะลอความร้อนที่จะเข้ามาใต้หลังคา ถ้าอยากให้ความร้อนออกไปเร็ว ๆ ก็ควรทำช่องระบายอากาศเพิ่มเข้าไปด้วย
2. ทำหลังคาสองชั้น
ภาพ: หลังคาสองชั้น
“หลังคาสองชั้น ป้องกันความร้อนสองชั้น”
บางบ้านอาจลองออกแบบหลังคาสองชั้น เพื่อช่วยระบายความร้อนใต้หลังคา และยังป้องกันแสงแดดได้สองขั้นอีกด้วย แต่สำหรับบ้านที่อยากต่อเติมหลังคาเพิ่มเติม เช่น อาคารพาณิชย์ที่มีหลังคาคอนกรีตอยู่แล้ว อาจจะต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างมากเสียหน่อย ว่าสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มเติมมากแค่ไหน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3. แผ่นสะท้อนความร้อน
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคา
การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เป็นวิธีระบายความร้อนใต้หลังคาได้ง่าย ๆ มีส่วนช่วยให้ความร้อนที่เข้ามาภายในบริเวณบ้านสะท้อนกลับไปด้านบน ส่งผลให้บ้านไม่เกิดปัญหาร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในเตาอบ!
4. ลูกหมุนระบายอากาศ
ภาพ: ลูกหมุนระบายอากาศบนหลังคา
“ลูกหมุนระบายอากาศ ปล่อยความร้อนออกโดยตรง”
ลูกหมุนระบายอากาศบนหลังคา เป็นอีกหนึ่งวิธีระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดีเช่นกัน โดยแนะนำให้ติดตั้งลูกหมุนระบายอากาศบริเวณใดบริเวณหนึ่งของหลังคา จะเป็นการช่วยลดอุณหภูมิใต้หลังคา และไม่นำความร้อนกลับเข้ามาอีก รวมถึงช่วยให้มีอากาศที่ถ่ายเท และบ้านไม่ร้อนอบอ้าว แต่จะไม่ค่อยเหมาะกับคนที่อยากแต่งบ้านสวย ๆ เท่าไรนัก
5. ฉนวนกันความร้อน
ภาพ: ฉนวนกันความร้อน
“ฉนวนกันความร้อน วิธีลดความร้อนสุดฮิต”
วิธีระบายความร้อนใต้หลังคายอดฮิตที่หลายบ้านนิยมทำกันก็คือ การใช้ฉนวนกันความร้อน โดยฉนวนกันความร้อนก็มีวัสดุให้เลือกหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นฉนวนใยแก้ว ฉนวน PE ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ หรือฉนวนโพลีเอธิลีนโฟม ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เลือกได้ตามงบประมาณ และรูปแบบที่อยู่อาศัย
6. ทำชายคาระบายอากาศ
ภาพ: ชายคาบ้าน
“หลังคาสูง คู่ชายคายาว ระบายความร้อนใต้หลังคาดีกว่าเดิม”
สำหรับบ้านที่ทำหลังคาสูงแล้ว อยากจะให้หลังคาระบายความร้อนได้ดีขึ้น ควรทำชายคาบ้านยาวมากขึ้น ไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร โดยควรจะออกแบบให้เข้ากับความสูงด้วย ยิ่งสูงมากชายคาก็ควรจะยาวมากขึ้น จะช่วยพัดเอาความร้อนที่อยู่ภายใน ให้ระบายออกไปด้านนอกได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว อากาศถ่ายเทได้สะดวก
7. ดูทิศทางลมก่อสร้างบ้าน
ภาพ: การออกแบบบ้าน
“ดูทิศทางลม และเปิดช่องให้ลมผ่าน”
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบ้านร้อน ต้องหาวิธีระบายความร้อนใต้หลังคาแบบไม่รู้จบ ควรศึกษาทิศทางลมก่อนตัดสินใจสร้างบ้าน รวมถึงวางผังบ้านให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะเป็นทิศทางของแสงแดดเข้าสู่บ้านเต็ม ๆ ในช่วงกลางวัน ส่งผลทำให้บ้านร้อนอบอ้าว โดยทิศทางที่เหมาะสมคือทางทิศใต้
ปกป้องหลังคาจากทุกสภาพอากาศด้วย จระเข้ รูฟ ชิลด์
ภาพ: จระเข้ รูฟ ชิลด์
คลิก: สั่งซื้อจระเข้ รูฟ ชิลด์
นอกจากจะลดอุณหภูมิในบ้านด้วยวิธีระบายความร้อนใต้หลังคา ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการใช้ฉนวนกันความร้อน ที่จระเข้นำมาฝากกันแล้ว อย่าลืมปกป้องบ้านจากทุกสภาพอากาศ ไม่เจอปัญหารั่วซึมด้วย จระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิกทากันซึมสำเร็จรูปพร้อมใช้ แค่เปิดฝาก็ทาได้เลย เมื่อแห้งตัววัสดุจะกลายเป็นฟิล์มเคลือบหลังคาไว้ พร้อมด้วยคุณสมบัติอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น
- ช่วยปกปิดรอยแตกลายงาได้ ยืดหยุ่นสูงกว่า 500%
- ทนน้ำแช่ขังได้มากกว่าอะคริลิกทั่วไป ใช้งานได้หลากหลายพื้นที่
- ทนทุกสภาพอากาศ ทนฝน และทนรังสี UV
- ทาสีทับหรือตกแต่งเพิ่มเติมได้ตามต้องการ
คลิก: สั่งซื้อจระเข้ รูฟ ชิลด์
จะเป็นส่วนไหนของบ้านตั้งแต่หลังคาไปจนถึงชั้นใต้ดิน จระเข้ก็มีผลิตภัณฑ์พร้อมช่วยปกป้อง ถ้ายังไม่รู้จะไปซื้อที่ไหนดี ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด