ประเด็นสำคัญ
- ช่องลมระบายอากาศเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ช่วยให้อากาศในบ้านถ่ายเทได้ดีขึ้น ช่วยนำอากาศเย็นสบายจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน อีกทั้งยังช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องต่าง ๆ ให้ออกจากบ้านได้ง่ายขึ้น
- ช่องลมบ้านนั้นมีให้เลือกหลายแบบ เช่น สี่เหลี่ยมหรือวงกลม และติดตั้งได้หลายจุดในบ้าน เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว การเลือกช่องลมระบายอากาศที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้เลือกได้เข้ากับบ้านมากที่สุด
การออกแบบบ้านนอกจากจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของโครงสร้าง รวมถึงเลือกช่างที่มีความรู้ความชำนาญ และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลย คือ การออกแบบให้เข้ากับสภาพอากาศร้อนของประเทศไทย การติดตั้งช่องลมระบายอากาศจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้อากาศในบ้านถ่ายเทได้ดี ลดการสะสมตัวของเชื้อโรคในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโควิด-19 หรือไวรัสชนิดอื่น ๆ ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น และช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย วันนี้จระเข้จึงมีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการติดตั้งช่องลมบ้านมาฝากกัน เราไปเริ่มกันที่ประเภทช่องลมที่นิยมใช้ในบ้านกันเลยดีกว่า
ประเภทช่องลมระบายอากาศบ้าน
1. ช่องลมระบายอากาศแบบสี่เหลี่ยม
ภาพ: ช่องลมบ้านแบบสี่เหลี่ยม
ช่องลมระบายอากาศแบบสี่เหลี่ยม เป็นช่องลมบ้านยอดนิยมเพราะมีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่เข้ากับการตกแต่งบ้านได้หลายสไตล์ โดยส่วนใหญ่นิยมติดตั้งในห้องครัว เพื่อให้อากาศถ่ายเทและกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยอาจติดตั้งมุ้งลวดเพิ่มเติม เพื่อป้องกันแมลงและสิ่งแปลกปลอมเข้าบ้าน
2. ช่องลมระบายอากาศแบบวงกลม
ภาพ: ช่องลมบ้านแบบวงกลม
ช่องระบายอากาศแบบวงกลม เป็นช่องลมที่มีลักษณะเป็นวงกลม นิยมใช้กับผนังหรือเพดานห้องครัว ห้องน้ำ ไปจนถึงห้องเก็บของ ส่วนใหญ่มักมาพร้อมตะแกรงหรือบานเกล็ด เพื่อป้องกันฝุ่น สิ่งสกปรก ถือเป็นช่องลมบ้านที่ช่วยระบายอากาศได้ดีอีกแบบหนึ่ง
3. ช่องลมระบายอากาศแบบจั่วช่องลม
ภาพ: ช่องลมบ้านแบบจั่วช่องลม
ช่องลมระบายอากาศแบบจั่วช่องลม เป็นช่องลมบ้านที่นิยมใช้ระบายอากาศหลังคาหรือบริเวณภายนอกบ้าน หรือจะใช้ภายในบ้านก็ได้เช่นกัน มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผสมกับสามเหลี่ยม มักผลิตจากไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม อบอุ่นให้กับการตกแต่ง ทำให้ช่องลมแบบนี้เข้ากับบ้านทรงไทยได้เป็นอย่างดี
วิธีออกแบบช่องลมระบายอากาศที่เหมาะสม
1. เลือกตำแหน่งช่องลมที่เหมาะสม
ภาพ: ช่องลมใต้หลังคา
ควรเลือกตำแหน่งช่องลมระบายอากาศไว้ที่ด้านบนสุดของตัวบ้าน เนื่องจากเป็นจุดที่มีลมพัดเข้าออกตลอดเวลา และมีลมเย็นพัดเข้าตัวบ้านได้ง่าย โดยแนะนำให้ออกแบบหลังคายื่นออกไปประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาภายในตัวบ้าน
2. ขนาดของช่องลม
ภาพ: ขนาดของช่องลมมีผลต่อปริมาณลม
ขนาดของช่องลมระบายอากาศเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมาเป็นลำดับต้น ๆ เนื่องจากมีผลเกี่ยวกับปริมาณการเข้าออกของลม ซึ่งหากทำช่องลมขนาดเล็ก ลมที่ออกจะมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีลมเข้ามามากภายในบริเวณบ้าน หากเลือกทำช่องลมขนาดใหญ่ ลมที่ออกจะมีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้มีลมเข้าบ้านได้น้อย
นอกจากการออกแบบช่องลมระบายอากาศแล้ว ตำแหน่งช่องลมบ้านก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้ถ่ายเทอากาศร้อนภายในบ้าน และให้ความเย็นจากภายนอกเข้ามาในบ้านได้ง่ายขึ้น ตามจระเข้ไปดูกันต่อว่าควรจะติดตั้งช่องลมไว้ที่ตำแหน่งใดบ้าง
ตำแหน่งช่องลมระบายอากาศในบ้าน
1. ช่องลมเหนือประตูและหน้าต่าง
ภาพ: ช่องระบายอากาศเหนือหน้าต่าง
ประตูและหน้าต่างถือเป็นช่องทางระบายอากาศที่มีอยู่แล้วทุกบ้าน แต่การทำช่องลมเหนือประตูหรือหน้าต่าง เป็นส่วนช่วยเสริมการถ่ายเทอากาศภายในบ้านได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมีส่วนช่วยทำให้ภายในบริเวณบ้านมีความโปร่งโล่ง ลมระบายได้ทั่วถึง ไม่มีปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว
2. ช่องระบายอากาศใต้หลังคา
ภาพ: ช่องระบายอากาศหลังคา
ช่องระบายอากาศใต้หลังคาหรือช่องลมใต้หลังคา เป็นช่องลมระบายอากาศที่ตั้งอยู่บนที่สูงบริเวณหลังคาหรือหน้าบัน และด้วยตำแหน่งที่อยู่สูง ช่องลมบ้านส่วนนี้จึงมีส่วนช่วยระบายความร้อนที่สะสมอยู่ใต้หลังคา ช่วยให้ลมเย็นหมุนเวียน และทำให้ภายในบริเวณบ้านเย็นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
3. ช่องลมระบายอากาศที่ผนัง
ภาพ: การใช้ช่องลมระบายอากาศแทนหน้าต่างบ้าน
ช่องลมระบายอากาศที่ผนัง เป็นตำแหน่งที่ช่วยเสริมความโดดเด่นให้กับการตกแต่งบ้านได้ โดยปรับเปลี่ยนจากหน้าต่างบานใหญ่เป็นช่องลมระบายอากาศหรือหน้าต่างลูกฟักไม้บานเกล็ด สามารถเลือกการออกแบบได้ตามใจเพื่อให้บ้านมีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น โดยยังคงถ่ายเทอากาศให้หมุนเวียนได้อย่างดีเยี่ยม
แล้วเราจะติดตั้งช่องลมระบายอากาศไว้ที่ห้องใดได้บ้าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น จระเข้มีความรู้ดี ๆ มาฝากทุกคนกันแล้ว ไปดูกันเลย!
ช่องลมระบายอากาศอยู่ที่ห้องใดได้บ้าง?
1. ห้องน้ำ
ภาพ: ช่องระบายกาศในห้องน้ำ
ห้องน้ำถือเป็นห้องสำคัญที่ขาดช่องลมระบายอากาศไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะในห้องน้ำมีทั้งความชื้น และกลิ่นไม่พึงประสงค์ หากไม่ได้ระบายอากาศเป็นประจำ ก็อาจเกิดเชื้อรารวมถึงเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ควรติดตั้งช่องลมที่ระบายได้ทั้งอากาศ และช่วยให้แสงส่องเข้าถึง เพื่อให้ห้องน้ำแห้งสะอาดง่ายขึ้น
2. ห้องครัว
ภาพ: ช่องลมห้องครัวนิยมติดตั้งบนที่สูง
ห้องครัวเป็นอีกห้องหนึ่งที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกับห้องน้ำ อีกทั้งยังมีความสกปรกและความร้อน ช่องลมระบายอากาศจึงเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต้องมีในห้องครัว โดยการติดตั้งช่องลมในห้องครัวควรติดตั้งให้อยู่สูง เพื่อให้กลิ่นและควันลอยขึ้นที่สูงออกไปด้านนอกบ้านได้ง่ายขึ้น
3. ห้องนอน
ภาพ: ช่องลมในห้องนอน
ไม่น่าเชื่อว่าห้องนอนจะเป็นอีกห้องหนึ่งที่ควรมีช่องลมระบายอากาศ แต่เพื่อให้อากาศในห้องไหลเวียนดี ระบายอากาศร้อนออกจากห้อง ช่วยให้นอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ จึงควรติดตั้งช่องลมในห้องนอนด้วย โดยช่องลมในห้องนอนจะเหมาะกับห้องที่ไม่มีหน้าต่างระบายอากาศ หรือห้องที่มีพื้นที่จำกัดนั่นเอง
ภาพ: จระเข้ รูฟ ชิลด์
คลิกสั่งซื้อ: จระเข้ รูฟ ชิลด์ (วัสดุทากันซึม ชนิดอะคริลิคสำเร็จรูป)
นอกจากการติดตั้งช่องลมระบายอากาศอย่างเหมาะสมแล้ว การทาสีบ้านด้วยโทนอ่อนและติดฉนวนกันความร้อนก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้ นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้วัสดุกันซึมอย่างจระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิกทากันซึมที่ใช้สำหรับทากันซึมหลังคา ดาดฟ้า หรือผนัง ซึ่งมีส่วนผสมพิเศษช่วยในการสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 50-80% ลดอุณหภูมิในบ้านได้ถึง 2-6 องศา เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ทากันซึมทั่วไป ช่วยให้บ้านเย็นสบายได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าไฟในบ้านได้อีกด้วย คลิกสั่งซื้อ: จระเข้ รูฟ ชิลด์ (วัสดุทากันซึม ชนิดอะคริลิคสำเร็จรูป)