ประเด็นสำคัญ
- การเลือกไม้ไผ่มาสร้างบ้านหรืออาคารไม้ไผ่ ควรเลือกตั้งแต่สายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่แข็งแรง เลือกไผ่ที่แก่แล้ว ตัดในช่วงหน้าแล้งเพื่อให้ได้ไม้ไผ่แห้งที่ปลอดภัยจากมอดและแมลงต่าง ๆ
- สำหรับการดูแลบ้านไม้ไผ่ควรจะทาน้ำยาเคลือบผิว เพื่อป้องกันผิวไผ่ลอก หรือถ้าผุพังก็หมั่นสำรวจเป็นประจำเพื่อซ่อมแซมไม่ให้บ้านดูเก่าโทรม หรือจะเลือกเกร้าท์ปูนภายในเพื่อป้องกันความชื้นแทรกซึมเข้าไปก็ได้
ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นจากธรรมชาติ เป็นพืชที่โตเร็ว แข็งแรง มีขนาดให้เลือกหลากหลาย เลยได้รับความนิยมไม่น้อยในการสร้างบ้านหรืออาคารไม้ไผ่ เพราะทั้งสวยงาม มีเสน่ห์เฉพาะตัว และเป็นธรรมชาติแบบสุด ๆ สำหรับใครที่อยากรู้ว่าจะเลือกไม้ไผ่อย่างไรให้เหมาะกับการสร้างบ้าน และควรดูแลอย่างไร วันนี้จระเข้มีคำตอบมาฝากกัน!
วิธีเลือกไม้ไผ่สำหรับสร้างบ้านหรืออาคารไม้ไผ่
1. สายพันธุ์ไม้ไผ่
ภาพ: บ้านไม้ไผ่
“ควรเลือกสายพันธุ์ที่มีลำต้นใหญ่แข็งแรง”
ก่อนจะเลือกไผ่ไปสร้างบ้านหรืออาคารไม้ไผ่ ต้องมารู้จักกับสายพันธุ์ไม้ไผ่กันก่อน เพราะไผ่มีให้เลือกหลายสายพันธุ์ แต่ละแบบมีขนาด ความยาว ความหนา และขนาดปล้องที่ต่างกันออกไป ซึ่งบางพันธุ์อาจจะไม่แข็งแรงพอจะนำมาใช้สร้างบ้านนั่นเอง สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาใช้ก่อสร้างได้ก็ได้แก่
- ไผ่ป่า ไม้ไผ่ขนาดใหญ่ กอแน่น โตเร็วสูงตั้งแต่ 10-24 เมตร เมื่อแก่จะมีสีเขียวเหลือง ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นผนังบ้าน รั้ว หรือเป็นแนวกันลมก็ได้
- ไผ่เป๊าะ หรือเรียกอีกชื่อว่าไผ่โปก ปล้องค่อนข้างสั้น มักจะนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ หรือเป็นเครื่องจักรสานก็ได้
- ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ที่ใช้ทำข้าวหลามนี่แหละ นำมาสร้างบ้านได้ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้ส่วนลำต้น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-8 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ทำเพดาน หรือสานเป็นเสื่อแทนพรมก็ได้
- ไผ่หก ไผ่ขนาดใหญ่สูงได้ถึง 15-18เมตร ต้นใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 12-15 ซม. นิยมนำไปใช้เป็นเสื่อ เครื่องจักรสาน
2. อายุ
ภาพ: ไม้ไผ่แห้ง
“เลือกไผ่แก่เจริญเติบโตเต็มที่ ปลอดภัยจากมอด”
อายุไผ่ก็มีผลต่อความแข็งแรง ควรเลือกไม้ไผ่แก่ปล้องใหญ่ ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หากมีอายุ 4-7 ปี จะเหมาะมาก เพราะถ้าเลือกไผ่ที่อ่อนเกินไป ภายในจะมีความชื้นสะสมอยู่เยอะ เพื่อที่จะแตกหน่อต่อไป ซึ่งความชื้นจะดึงดูดมอด แมลงมากัดกินจนเสียหายได้นั่นเอง สำหรับอายุไผ่ที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับขนาดไม้ที่จะนำมาสร้างบ้านและอาคารไม้ไผ่ด้วยนั่นเอง
3. ข้อปล้อง
ภาพ: ไผ่ปล้องชัดเจน
“ควรเลือกไผ่ข้อสั้น ปล้องถี่”
ความยาวของปล้องไม้ไผ่เองก็มีผลต่อความแข็งแรงเหมือนกัน ถ้าอยากสร้างอาคารไม้ไผ่ให้แข็งแกร่ง ควรเลือกไม้ไผ่ปล้องสั้น ข้อถี่ จะรับน้ำหนักได้ดีกว่าไผ่ข้อยาว แต่จะสับหรือผ่าได้ยากเสียหน่อย ถ้าเป็นงานที่ต้องสับฟากหรือผ่าแยกออกจากกัน เลือกไผ่ข้อยาวจะทำงานได้ง่ายและเร็วกว่า
4. ช่วงเวลาที่ตัด
ภาพ: การตัดไม้ไผ่
“เลือกไม้ไผ่แห้ง ตัดหน้าแล้งดีกว่า”
ดีเทลเล็ก ๆ อย่างช่วงเวลาที่ตัดไม้ไผ่มาสร้างอาคารไม้ไผ่ก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกไผ่ที่ตัดในช่วงหน้าแล้ง เพราะจะได้ไม้ไผ่แห้ง มีความชื้นสะสมอยู่ในเนื้อไม้น้อยกว่า ก็เลยทนทานต่อมอดและแมลง ไม่ต้องกังวลว่าจะเจอความเสียหาย ยิ่งถ้าอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้เข้าไปเพิ่ม ก็ช่วยให้ทนฝน ทนความชื้นได้ดียิ่งกว่าเดิม
ขั้นตอนการนำไม้ไผ่มาใช้งาน
ภาพ: ไม้ไผ่สด
- ทำความสะอาด นำไม้ไผ่มาแช่น้ำ เพื่อเป็นการทำความสะอาด ล้างแป้งภายในเนื้อไม้ให้แห้ง เพื่อลดปัญหาเรื่องมอด หรือแมลงกินเนื้อไม้ หรือจะใช้วิธีการนำไม้ไผ่มาต้มหรือเผาไฟก็ได้
- ตากให้แห้ง หลังจากนั้นล้างทำความสะอาดแล้ว นำไม้ไผ่ขึ้นมาตากแดดให้แห้งสนิท โดยวางแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ประมาณ 5-7 วัน
- รอให้เนื้อไม้เปลี่ยนสี สังเกตเนื้อและสีของไม้ไผ่ว่าเป็นสีน้ำตาลอ่อนแล้วหรือยัง หากมีสีเขียวหรือเหลือง แปลว่ายังความชื้นอยู่ (แนะนำอย่าให้ไม้ไผ่แห้งเกินไป เพราะจะได้สีไม่สวย)
- เก็บให้พ้นความชื้น เมื่อไม้ไผ่แห้งสนิทให้นำเข้าโรงเก็บไม้ โดยจะต้องเป็นห้องที่มีแสงและลมผ่าน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา แล้วก็นำไปสร้างอาคารไม้ไผ่หรือบ้านได้เลยตามต้องการ
วิธีดูแลรักษาอาคารไม้ไผ่ทำอะไรได้บ้าง?
ภาพ: ผนังบ้านไม้ไผ่
- ออกแบบให้อยู่ในที่ร่ม ควรออกแบบให้ส่วนที่เป็นไม้ไผ่อยู่ในส่วนที่เป็นที่ร่ม เพื่อให้พ้นจากความชื้นและแสงแดด อาจใช้ในงานตกแต่งภายใน หรือใช้เป็นเพดาน โดยอย่าลืมคิดเผื่ออนาคตที่ต้องซ่อมแซม ควรออกแบบให้ถอดออกและเปลี่ยนง่าย
- ป้องกันความชื้น ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่มีหน้าตัด ความชื้นเลยอาจจะเล็ดลอดเข้าไปภายในจนเกิดเชื้อราได้ ควรใช้ปูนเกร้าท์ภายใน หรือปิดด้วยยางมะตอย และทาน้ำยากันความชื้นด้วย จะช่วยป้องกันความชื้นได้ดียิ่งขึ้น
- เคลือบผิวไม้ไผ่ ไม้ไผ่ส่วนใหญ่จะมีผิวเงา พอผ่านไปนาน ๆ ก็เกิดปัญหาผิวไม้ลอก หลังจากผิวลอกแล้วควรจะใช้โพลิยูรีเทนเคลือบให้เรียบร้อย แต่ถ้าเป็นไม้ไผ่ที่ใช้ภายนอกก็ปล่อยให้ผุพังแล้วเปลี่ยนใหม่จะสะดวกกว่า
งานเกร้าท์ไม้ไผ่ ให้แข็งแรง ปลอดภัยจากความชื้น เลือกจระเข้ ซีจี เกร้าท์
ภาพ: จระเข้ ซีจี เกร้าท์
การเลือกไม้ไผ่มาสร้างบ้านหรืออาคารไม้ไผ่ นอกจากจะเลือกไม้ที่เหมาะสมทั้งสายพันธุ์ ขนาด และอายุแล้ว สำหรับการทำโครงสร้างหรือรั้ว เพื่อลดปัญหาความชื้นสะสมภายในไม้ไผ่ อย่าลืมเกร้าท์ปูนซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงด้วย ควรเลือกใช้จระเข้ ซีจี เกร้าท์ ซีเมนต์เกร้าท์ผสมเสร็จ ไม่หดตัว เนื้อปูนไหลตัวได้ดี เหมาะกับงานอุดรอยต่าง ๆ รับกำลังอัดได้มากกว่า 600 ksc ช่วยให้โครงสร้างบ้านไม้ไผ่แข็งแรง ทนทาน ไม่ต้องกังวลเรื่องความเสียหาย
ไม่ว่าจะส่วนไหนของบ้าน จะเป็นหลังคา ผนัง พื้น ประตู หน้าต่าง หรือชั้นใต้ดิน จระเข้ก็ออกแบบผลิตภัณฑ์มาเพื่อปกป้องบ้านทุกส่วน ถ้ายังไม่รู้จะไปซื้อที่ไหนดี ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด
อยากมีบ้านไม้ ต้องรู้อะไรบ้าง ไปดูที่...