ประเด็นสำคัญ
- การติดตั้งปั๊มน้ำในบ้านเลือกได้ทั้งแบบต่อปั๊มน้ำกับท่อประปา หรือต่อกับถังน้ำ โดยควรเลือกประเภทปั๊ม กำลังวัตต์ แรงดัน และวัสดุให้เหมาะสม เพื่อให้ใช้งานได้เต็มที่
- วิธีติดตั้งปั๊มน้ำต้องเริ่มตั้งแต่ตำแหน่งที่จะติดตั้ง ต่อปั๊มและวางท่อตามจุดที่น้ำไหลได้ดี และควรอยู่ห่างจากผนังบ้านให้เหมาะสม รวมถึงทำกล่องปลั๊กไฟเพื่อความปลอดภัยด้วย
น้ำเป็นสาธารณูปโภคหลักในบ้านที่สำคัญไม่ต่างจากไฟฟ้า การมีน้ำประปาที่สะอาดไหลจะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบาย ไม่ว่าจะอาบน้ำสระผม ซักผ้า หรือใช้งานอื่น ๆ ก็สะดวก ถ้าเจอน้ำไหลช้า ไหลเอื่อย คงจะลำบากแย่ การติดตั้งปั๊มน้ำก็เลยเป็นทางออกที่หลายบ้านเลือกใช้ เพราะทำให้น้ำไหลแรงยิ่งกว่าเดิม สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าวิธีติดตั้งปั๊มน้ำต้องทำอย่างไร เลือกแบบไหนดีให้เหมาะกับบ้านเรา จระเข้มีคำตอบมาฝาก!
การติดตั้งปั๊มน้ำในบ้านมีกี่แบบ?
แบบที่ 1 ติดตั้งปั๊มน้ำแบบไม่ติดตั้งถังน้ำ
ภาพ: การติดตั้งปั๊มน้ำ
การติดปั้มน้ำไม่มีถังเป็นการต่อปั๊มน้ำกับท่อประปา หรือพื้นที่เก็บน้ำอื่น ๆ จะช่วยให้ได้แรงดันน้ำสูง กระจายได้อย่างเท่ากันทุกจุด แต่การติดตั้งแบบนี้ก็มีจุดอ่อนเล็กน้อยที่ถ้าเกิดมีข้อต่อท่อหลุดหรือเสียหาย ก็จะทำให้แรงดันน้ำลดลงทันที ตรงจุดนี้ก็แก้ได้ด้วยการต่อสายท่อออกจากปั๊ม เพื่อสร้างทางเดินน้ำอีกทางหนึ่ง
แบบที่ 2 ติดตั้งปั๊มน้ำแบบมีถังน้ำ
ภาพ: การต่อปั๊มน้ำแบบมีถังน้ำ
บ้านหลังใหญ่มีหลายชั้น หรือหอพัก โรงแรม ควรเลือกติดตั้งปั๊มแบบมีถังน้ำ เพราะถังน้ำจะทำหน้าที่พักน้ำไว้ ช่วยให้มีน้ำสำรองในบ้าน ช่วยให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอเท่ากันหมด ช่วยป้องกันสิ่งสกปรกที่อาจมาจากท่อประปา และยังช่วยป้องกันการดึงน้ำจากส่วนกลางมามากเกินไปด้วย
การติดตั้งปั๊มน้ำที่ถูกต้องต้องทำอย่างไรบ้าง?
ภาพ: ช่างติดตั้งปั๊มน้ำ
- หาตำแหน่งที่ตั้ง ควรเลือกจุดติดตั้งวาล์วน้ำให้อยู่ใกล้กับถังน้ำ และไม่ควรจะอยู่ใกล้กับห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น เพราะอาจจะส่งเสียงรบกวนการพักผ่อนได้ ส่วนพื้นที่จะติดปั๊มน้ำควรแข็งแรง รับน้ำหนักได้มากเพียงพอ
- ต่อปั๊ม การต่อปั้มน้ำที่ถูกต้องควรตั้งตามจุดที่น้ำไหล เพื่อให้น้ำกระจายตัวได้ง่ายขึ้น โดยควรติดตั้งปั๊มให้สูงจากฐานเล็กน้อย ถ้าเกิดน้ำท่วมก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอันตราย และให้อยู่ห่างจากผนังบ้านประมาณ 10 ซม. จะได้ระบายความร้อนง่าย
- วางท่อ ควรเลือกใช้ท่อตามคู่มือที่ปั๊มน้ำ โดยควรวางยาวเป็นเส้นตรง มีจุดหักงอน้อยที่สุด น้ำจะไหลสะดวกกว่าเดิม และอย่าลืมดูให้ดีว่าช่างติดตั้งทำความสะอาดเศษท่อ PVC ออกหมดหรือไม่หลังจากตัดท่อแล้ว ป้องกันเศษฝุ่นเข้าไปติดในปั๊ม จนเกิดความเสียหายได้
- ติดตั้งวาล์วน้ำ ควรติดวาล์วน้ำใกล้ ๆ กับแทงค์น้ำ เพื่อให้เปิด-ปิดน้ำได้อย่างสะดวก เมื่อถึงเวลาจะต้องซ่อมแซม ส่วนด้านท่อจ่ายน้ำก็ควรมีวาล์วด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทดสอบการรั่วซึมได้ง่ายขึ้น
- เดินระบบไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟ เบรกเกอร์ ควรใช้ขนาดเดียวกับที่ปั๊มน้ำระบุไว้ โดยอย่าลืมเดินสายดิน ป้องกันความอันตรายเมื่อไฟรั่ว และที่สำคัญควรทำกล่องกันน้ำสำหรับปลั๊กไฟด้วย เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
วาล์วน้ำเป็นอีกส่วนที่ช่วยให้น้ำไหลได้สะดวกยิ่งขึ้น แล้วจะติดตั้งอย่างไรดีให้น้ำไหลแรงเต็มที่ จระเข้มีความรู้ดี ๆ มาฝาก ไปดูกันต่อได้เลย!
ตัวอย่างการติดตั้งวาล์วน้ำและปั๊มน้ำที่ถูกต้อง
1. ติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 2 ระบบ หรือ 3 ระบบ
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งวาล์วน้ำแบบ 2 ระบบ หรือ 3 ระบบ
การติดตั้งปั๊มน้ำเข้าไปยังถังโดยตรง ควรเดินระบบไปในทิศทางเดียวกับที่น้ำออกจากเครื่องปั๊มน้ำ เข้าไปยังถังน้ำโดยตรง จะช่วยให้น้ำไหลแรงยิ่งกว่าเดิม สำหรับการติดตั้งวาล์วน้ำแบบ 2 ระบบ หรือ 3 ระบบ หากน้ำไม่ค่อยแรงจากท่อประปายังไม่ค่อยแรง ควรปิดปั๊มน้ำแล้วเปิดวาล์วทุกจุด จะช่วยให้น้ำไหลได้ดียิ่งขึ้น
2. การติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 4 ระบบ
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 4 ระบบ
ถ้าเจอปัญหาน้ำประปาไหลเบา ไหลเอื่อย ควรติดตั้งวาล์วน้ำเป็น 4 ระบบ โดยมีวาล์วน้ำทั้งหมด 5 จุด ถ้าอยากให้น้ำไหลเข้าถังมากขึ้น ก็เปิดวาล์วตัวที่ 3-5 และเปิดปั๊มน้ำ และเมื่อน้ำเต็มถังแล้วก็ปิดได้ เปิดไว้เฉพาะวาล์วตัวที่ 2 และ 3 เพื่อให้มีน้ำใช้ในวันอื่น ๆ
การเลือกปั๊มน้ำให้เข้ากับบ้าน ต้องดูที่อะไรบ้าง?
1. ประเภทปั๊มน้ำ
ภาพ: ปั๊มน้ำอัตโนมัติ
เดี๋ยวนี้การติดตั้งปั๊มน้ำมีให้เลือกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบ้าน จะเป็นสำหรับคนบัดเจ็ทน้อย บ้านที่มีก๊อกน้ำหลายจุด หรือบ้านเน้นความคุ้มค่า ก็เลือกได้ตามใจ โดยแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้แก่
- ปั๊มน้ำอัตโนมัติมีถังแรงดัน เป็นปั๊มราคาประหยัด มีถังแรงดันติดมากับมอเตอร์ ทำงานด้วยการดูดน้ำจากถังด่านล่างมาเก็บไว้ก่อน พอเปิดน้ำปั๊มก็จะส่งน้ำไปที่จุดนั้นเลย
- ปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันคงที่ เป็นปั๊มขนาดกะทัดรัด เสียงเบา ปล่อยน้ำได้หลาย ๆ จุดพร้อมกัน โดยแรงดันยังคงที่ บ้านหลายชั้นก็ใช้ได้แบบหายห่วง
- ปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบอินเวอร์เตอร์ เป็นปั๊มน้ำที่ช่วยประหยัดไฟ เพราะมีระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ควบคุมมอเตอร์ให้ตัดไฟตามปริมาณน้ำที่ใช้ มอเตอร์ก็จะทำงานแค่ตอนเปิดน้ำเท่านั้น
2. กำลังวัตต์ต้องเพียงพอ
ภาพ: ปั๊มน้ำอัตโนมัติ
กำลังวัตต์ในปั๊มน้ำเป็นจุดสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะมีผลต่อการปล่อยน้ำ (ลิตร/นาที) ถ้าเลือกวัตต์ต่ำกว่าจำนวนก๊อกน้ำในบ้าน ถึงติดตั้งปั๊มน้ำแล้วน้ำก็ยังไหลเบาอยู่ดี วันนี้จระเข้สรุปมาให้ดูกันง่าย ๆ ว่าบ้านกี่ชั้นควรจะเลือกกำลังวัตต์เท่าไรกันดี ถ้าอยากให้น้ำไหลแรงควรติดเลยตามนี้!
จำนวนชั้นบ้าน | จำนวนก๊อกน้ำในบ้าน | กำลังวัตต์ |
---|---|---|
1-2 ชั้น | 4 จุด | 150 วัตต์ |
2 ชั้น | 4-5 จุด | 200-250 วัตต์ |
3 ชั้น | 6-7 จุด | 300-350 วัตต์ |
3. การปรับแรงดันต้องคงที่
ภาพ: การต่อปั๊มน้ำกับถังน้ำ
นอกจากกำลังวัตต์แล้ว การปรับแรงดันของปั๊มน้ำก็สำคัญเหมือนกัน เพราะว่าจะช่วยให้ปรับแรงดันน้ำให้เหมาะกับรูปแบบการใช้น้ำของแต่ละบ้าน โดยทุกวันนี้ปั๊มน้ำก็มาพร้อมฟังก์ชันปรับแรงดันอัตโนมัติกันแล้ว แต่ถ้าจะให้ชัวร์ที่สุดควรเลือกปั๊มแบบแรงดันคงที่ จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าต่อให้เปิดก๊อกน้ำหลายจุดพร้อมกัน น้ำก็ยังไหลแรงไม่มีแผ่ว
4. เสียงรบกวนต้องน้อย
ภาพ: ระบบปั๊มน้ำ
เวลาปั๊มน้ำทำงานมักจะมีเสียงดังตามมาด้วย ถ้าเกิดทำงานตอนกลางคืนส่งเสียงรบกวนไม่ได้นอนคงไม่ดีแน่ จึงควรเลือกปั๊มน้ำระบบอินเวอร์เตอร์ที่เสียงดังเพียง 45 เดซิเบล หรือถ้าเป็นแบบทั่วไปควรติดตั้งปั๊มน้ำที่มีระดับเสียง 50-60 เดซิเบล ก็อยู่ในระดับที่พอดีแล้ว
5. วัสดุต้องแข็งแรงทนทาน
ภาพ: ปั๊มน้ำบริเวณนอกบ้าน
สุดท้ายเป็นวัสดุที่ใช้ผลิตปั๊มน้ำ เพราะว่าการต่อปั๊มน้ำมักจะติดไว้นอกบ้าน ต้องเจอแดดเจอฝน อากาศเปลี่ยนแปลงกันตลอด ถ้าตัวถังไม่แข็งแรงพอ ก็อาจจะเสียหายต้องคอยซ่อมคอยเปลี่ยนกันบ่อย ๆ สำหรับวัสดุที่เหมาะสุดก็คืออลูมิเนียม เพราะแข็งแรง แถมไม่เป็นสนิมอีกด้วย
การติดตั้งปั๊มน้ำที่ถูกต้องอย่างเดียวยังไม่พอ อย่าลืมป้องกันการรั่วซึมด้วยจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
ภาพ: จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
คลิกสั่งซื้อสินค้า: จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
นอกจากการติดตั้งปั๊มน้ำที่ถูกต้องช่วยให้น้ำไหลแรง ไม่มีเอื่อย ใช้ชีวิตได้แบบสะดวกสบาย อย่าลืมปกป้องบ้านจากการรั่วซึมด้วยจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ซีเมนต์ทากันซึมชนิดยืดหยุ่น ผลิตจากวัสดุคุณภาพ ออกแบบมาเพื่อป้องกันการรั่วซึมโดยเฉพาะ แถมยังใช้ง่ายแค่ผสมน้ำ มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น
- ซีเมนต์กันซึมที่มีความอ่อนตัวสูง ปกปิดรอยร้าวได้ดี สำหรับพื้นผิวที่มีการเคลื่อนตัวไม่เกิน 0.75 มม.
- ปล่อยเปลือยได้ ทนรังสี UV ทนต่อสภาวะอากาศได้ดี ใช้เป็นปูนกันซึมดาดฟ้าและหลังคาได้
- ไม่มีสารพิษ (Non-toxic) สามารถใช้เก็บน้ำดื่มและทาผนังพื้นบ่อเลี้ยงปลาได้
- ทนแรงดันน้ำได้มากกว่า 1.5 bar โดยไม่รั่วซึม
ไม่ว่าจะประตู หน้าต่าง ผนัง พื้น หลังคา หรือชั้นใต้ดิน จระเข้ก็ออกแบบผลิตภัณฑ์มาเพื่อปกป้องบ้านทุกส่วน ถ้ายังไม่รู้จะไปซื้อที่ไหนดี ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด ค้นหาร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์จระเข้