บ้านเรือนไทย 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ถือเป็นอีกหนึ่งแบบบ้านที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากการออกแบบที่สวยงาม โดดเด่น เรือนไทย 4 ภาคส่วนใหญ่ มักออกแบบแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ โดยเน้นที่ความสะดวกสบาย และประโยชน์ใช้สอย โดยการปลูกบ้านเรือนไทยในประเทศไทยมีลักษณะอย่างไรวันนี้ตามจระเข้ไปดูกัน
ภาพ: บ้านเรือนไทย
ก่อนจะทำความรู้จักกับเรือนไทย 4 ภาค เรามาดูจุดเด่นของบ้านเรือนไทยก่อนว่ามีอะไรบ้าง?
จุดเด่นของบ้านเรือนไทย
1. หลังคาทรงจั่วช่วยระบายความร้อน
ภาพ: หลังคาหน้าจั่ว
หลังคาหน้าจั่ว เป็นจุดเด่นสำคัญของบ้านเรือนไทย โดยส่วนมากมักเป็นหลังคาหน้าจั่วทรงสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงพื้นได้เร็วขึ้น และยังช่วยระบายความร้อนออกจากตัวบ้านได้อย่างดี ช่วยให้ไอความร้อนสัมผัสตัวที่อยู่อาศัยได้ยากขึ้น เหมาะสำหรับภูมิอากาศของไทยที่เป็นเมืองร้อน เมื่อนำมาสร้างด้วยไม้ซึ่งคลายความร้อนได้ดี ก็จะยิ่งช่วยให้อากาศภายในบ้านเย็นสบายยิ่งขึ้น
2. ใต้ถุนสูงป้องกันน้ำท่วมและสัตว์
ภาพ: บ้านใต้ถุนสูง
อีกหนึ่งจุดเด่นสำคัญของบ้านเรือนไทยก็ คือ ตัวบ้านยกสูงหรือบ้านใต้ถุนสูงนั่นเอง โดยบ้านเรือนไทยสวย ๆ บางหลังอาจมีความสูงถึง 2 เมตรเลยทีเดียว โดยพื้นที่บริเวณใต้ถุนนั้นใช้สำหรับรับมือกับน้ำท่วม และป้องกันสัตว์ที่มีพิษร้ายประเภทต่าง ๆ เข้าสู่ตัวบ้าน อีกทั้งยังใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกอีกด้วย
3. พื้นไม้เว้นร่อง
ภาพ: พื้นบ้านเรือนไทย
บ้านเรือนไทยส่วนใหญ่มักทำพื้นชานเรือนแบบตีเว้นร่อง เพื่อให้อากาศที่ถ่ายเทจากการสร้างบ้านให้มีใต้ถุนสูงพัดขึ้นมาด้านบนได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งหากมีฝนตกเข้าสู่ตัวบ้านก็ยังช่วยระบายน้ำออกจากบ้านได้เร็วขึ้นด้วย
อย่างที่เห็นภาพกันไปแล้วว่าบ้านเรือนไทยนั้นดูเหมือนกับบ้านหลาย ๆ หลังประกอบกัน เราจะพาไปดูกันต่อว่าส่วนประกอบของบ้านเรือนไทยนั้นมีอะไรกันบ้าง?
ส่วนประกอบของบ้านเรือนไทย
เนื่องจากบ้านเรือนไทยส่วนใหญ่นิยมสร้างแบบเรือนหมู่ ซึ่งเกิดจากการก่อสร้างตามกำลังทรัพย์โดยค่อย ๆ สร้างเรือนเพิ่มตามการใช้งาน ทำให้ส่วนประกอบของบ้านเรือนไทยมีหลายส่วน ดังต่อไปนี้
1. เรือนนอน
ภาพ: บ้านเรือนไทย
เรือนนอนเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย พักผ่อนหย่อนใจ มักแบ่งห้องตามจำนวนสมาชิก หากมีสมาชิกเพิ่มขึ้นหรือครอบครัวขยายตัวมากขึ้น จะมีการสร้างเรือนเพิ่มรอบ ๆ แล้วเชื่อมต่อกันด้วยชานเรือน
2. ชานเรือน
ภาพ: ชานเรือน
ชานเรือนเป็นพื้นที่โล่งกว้างเชื่อมระหว่างห้องต่าง ๆ ใช้สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สำหรับพักผ่อน พบปะสังสรรค์ ใช้เป็นพื้นที่รับรองแขก รวมไปถึงใช้จัดพิธีแต่งงานได้อีกด้วย
3. เรือนครัว
ภาพ: เรือนครัว
เรือนครัว เป็นเรือนที่มักสร้างแยกจากบริเวณที่พักอาศัย โดยออกแบบให้มีช่องระบายอากาศ เพื่อระบายควันไฟ และกลิ่นอาหารออกสู่ภายนอก และนิยมตีไม้เว้นช่องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าบ้านเรือนไทย 4 ภาค สร้างขึ้นตามสภาพพื้นที่และอากาศ โดยแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันอย่างโดดเด่นชัดเจน เห็นได้ดังต่อไปนี้
แนะนำสินค้า
คลิก: สั่งซื้อสินค้า จระเข้ พียู โฟม
สเปรย์โฟม ส่วนผสมเดียว เป็นโฟมกระป๋องสำเร็จรูปใช้งานอเนกประสงค์ ขยายตัวได้ ใช้เป็นโฟมอุดรอยรั่ว ใช้อุดรูโพรง ช่องว่าง รอยต่อหรือรอยแตกร้าว สำหรับงานก่อสร้าง งานตกแต่งหรืองานซ่อมแซมทั่วไป ใช้งานง่าย เป็นฉนวนกันความร้อนกันเสียงรบกวน ยึดติดกับพื้นผิวได้หลายประเภท เช่น ปูน คอนกรีต ไม้ กระจก พลาสติก เป็นต้น สเปรย์โฟมใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก ใช้งานได้สะดวกโดยใช้หัวฉีดวาล์ว คลิก: สั่งซื้อสินค้า จระเข้ พียู โฟม
รูปแบบของบ้านเรือนไทย 4 ภาค
1. บ้านเรือนไทยภาคเหนือ
ภาพ: บ้านสไตล์ล้านนา
เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น บ้านเรือนไทยทางภาคเหนือจึงนิยมสร้างเป็นเรือนแฝด และมีหลังคาเตี้ยกว่าเรือนไทยภาคอื่น ๆ รวมถึงสัดส่วนของตัวบ้านด้วยเช่นกัน โดยนิยมสร้างบ้านเรือนให้ปิดมิดชิด เจาะหน้าต่างเล็ก ๆ เพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยจากอากาศเย็น และใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น
โดยบ้านเรือนไทยภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนามักเรียกว่า “เรือนกาแล” ซึ่งมีความสวยงามอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นเรือนสำหรับผู้ที่มีฐานะ อย่างเช่น ผู้นำชุมชน หัวหน้า เป็นต้น โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเรือนสามัญชน จุดเด่นของเรือนกาแลมีสลักสวยงามที่ปลายยอดจั่ว เนื้อไม้แข็ง ยกใต้ถุนสูง ปัจจุบันมีการปลูกเป็นเรือนแฝด มีชายคาคลุมเรือนทั้งหมด ผนังผายออก
2. บ้านเรือนไทยภาคอีสาน
ภาพ: บ้านทรงไทยภาคอีสาน
ที่อยู่อาศัยภาคอีสานส่วนใหญ่ มักตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ หรือหนองบึง และนิยมสร้างด้านกว้างให้หันไปทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และสร้างด้านยาวไปทางทิศเหนือและทิศใต้ โดยบ้านเรือนไทยภาคอีสานที่นิยมสร้างมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
- เฮือนเกย เป็นเฮือนเดี่ยว มีการออกแบบยื่นชายคาหลังคาด้านหนึ่งยาวออกไป คลุมพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด เรียกว่า “เกย”
- เฮือนแฝด หลังคาทรงจั่วสองเรือนสร้างชิดกัน มีผนังครบทุกด้าน เป็น “เฮือนใหญ่”
- เฮือนโข่ง มีลักษณะคล้ายเฮือนแฝด มีการแยกโครงสร้างออกจากกัน เพื่อให้เกิดเป็นช่องทางเดินตรงกลางเชื่อมต่อพื้นที่ หลังคาลาดชันน้อย
3. บ้านเรือนไทยภาคกลาง
ภาพ: บ้านเรือนไทยภาคกลาง
บ้านเรือนไทยภาคกลางส่วนใหญ่นิยมสร้างใกล้กับที่ราบลุ่มแม่น้ำเช่นเดียวกับบ้านภาคอีสาน แต่เนื่องจากภาคกลางมีอากาศร้อนอบอ้าว คนส่วนใหญ่จึงมักสร้างบ้านหลังคาสูง เพื่อถ่ายเทความร้อนออกจากตัวบ้าน และช่วยให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้เร็ว โดยบ้านเรือนไทยภาคกลางมักสร้างด้วยไม้ไผ่สลับไม้เนื้อแข็ง นิยมสร้าง 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
- เรือนเดี่ยว ครอบครัวขนาดเล็กมีเรือนนอน แยกกับเรือนครัว และมีการเชื่อมด้วยชานเดียวกัน
- เรือนหมู่ เรือนหลายหลังเชื่อมต่อกัน เป็นเรือนของผู้มีฐานะมาก วัสดุก่อสร้างเป็นเรือนไม้เนื้อแข็ง ใต้ถุนสูง หลังคาจั่วทรงสูง อ่อนโค้ง ประดับด้านจั่ว “เหงา” หรือ “หางปลา” มีระเบียงบ้านรับลม
4. บ้านเรือนไทยภาคใต้
ภาพ: บ้านเรือนไทยภาคใต้
เนื่องจากภูมิประเทศทางภาคใต้นั้นแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ เป็นอย่างมาก เพราะมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ผู้คนทางภาคใต้จึงมักสร้างบ้านที่มีหลังคาสูงเพื่อระบายน้ำฝนให้ไหลลงผ่านชาคาที่คลุมไปถึงบันได และนิยมใช้ไม้กระดาน ไม้ไผ่สาน หรือวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ตามหลักวัฒนธรรม และความเชื่อของภาคใต้ การปลูกบ้านจึงมีทั้งหมด 2 แบบ คือ เรือนไทยมุสลิม และเรือนไทยพุทธ ดังนี้
- เรือนไทยพุทธภาคใต้ ลัษณะเรือนไม้ใต้ถุนสูง มีหลังคาทรงปั้นหยา และจั่วภายในบ้านมีการกั้นห้องแบ่งเป็นสัดส่วน ชายคายื่นยาว หรือชานเชื่อมแต่ละเรือนเข้าด้วยกัน การก่อสร้างไม่ซับซ้อน
- เรือนไทยมุสลิมภาคใต้ เน้นใต้ถุนสูง มีหลังคา 3 แบบ ปั้นหยา มนิลา และ จั่ว ภายในสบาย มักจะเปิดโล่ง มีเฉพาะห้องที่สำคัญเป็นส่วนตัวเท่านั้น
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับบ้านเรือนไทย 4 ภาค จะเห็นได้ว่าบ้านเรือนไทยแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ นั้นมีลักษณะบ้านที่ไม่เหมือนกัน มักปลูกสร้างตามภูมิภาค คำนึงสภาพอากาศ ความเป็นอยู่ แต่จุดที่เหมือนกันเลยก็คือหลังคาบ้านที่เป็นหลังคาจั่ว ที่ระบายน้ำ และความร้อนได้ดี ต่างจากหลังคาประเภทอื่น ๆ ที่มักพบกับหลังรั่วซึม แตกร้าว หากใครที่พบปัญหานี้อยู่ควรเลือกใช้ จระเข้ ซิลิโคน ซีล เอ็น ซิลิโคนไร้กรด อุดรอยต่องานทั่วไปช่วยแก้ปัญหาชวนปวดหัวนี้