ประเด็นสำคัญ
- หลังน้ำท่วมนอกจากเรื่องทำความสะอาดแล้ว ยังมีเรื่องการสำรวจบ้านเพื่อซ่อมแซม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างบ้านส่วนต่าง ๆ ทั้งพื้น ผนัง ฐานราก เสา ไปจนถึงหลังคาและรางน้ำ
- จุดที่ควรจะเรียกช่างมาซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม ก็คงหนีไม่พ้นระบบไฟฟ้าที่ต้องตรวจเช็กปลั๊ก เบรกเกอร์ และระบบประปาที่ควรจะสำรวจการรั่วซึมต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน
น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายได้ทั้งภายในและภายนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่มักจะเจอน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาหลังจากน้ำลด เช่น รอยแตกร้าว พื้นบวม หรือผนังพอง ไปจนถึงระบบไฟฟ้าและระบบประปา ก็อาจเกิดความเสียหายได้เช่นกัน วันนี้จระเข้เลยมีเช็กลิสต์มาเป็นแนวทางให้กับทุกคนว่ามีส่วนไหนของบ้านที่ควรจะตรวจสอบมากเป็นพิเศษ
จุดเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องตรวจหลังน้ำลด
1. โครงสร้างบ้าน
-
ผนังและพื้นบ้าน
"ดูรอยแตกร้าวตามผนังและพื้นที่ทรุดตัว"
หลังจากน้ำลดลงควรรีบตรวจสอบสภาพของผนังและพื้นบ้านอย่างละเอียด ควรดูว่าพื้นผนังมีร่องรอยบวม ร้าว หรือเสียหายจากน้ำซึมหรือไม่ โดยเฉพาะพื้นผิวที่พองขึ้นมา เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าผนังเสียหาย นอกจากนี้ควรจะเช็กดูรอยแตกบนชั้นปูนฉาบด้วย เพื่อไม่ให้รอยร้าวขยายตัวจนเป็นอันตรายต่อโครงสร้างบ้านได้
-
ฐานราก
"ควรดูพื้นดินรอบบ้านว่าทรุดตัว ยุบลงหรือเปล่า"
น้ำที่ขังนานอาจทำให้พื้นดินรอบ ๆ บ้านทรุดตัวได้ ฐานรากของบ้านอาจเสียหาย ทำให้บ้านเริ่มเอียงหรือทรุดตัว ควรตรวจสอบพื้นดินรอบ ๆ บ้าน ดูว่ามีรอยร้าวหรือพื้นรอบบ้านยุบตัวลงเป็นรูโพรงหรือไม่ และหากพบปัญหาควรเรียกวิศวกรมาตรวจสอบโครงสร้างโดยด่วน
-
เสาและคาน
"พื้นผิวหลุดล่อน เกิดรอยร้าว หรือเป็นสนิม ควรเรียกช่างมาดูด่วน"
เสาและคานเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของบ้าน ถ้าได้รับความชื้นจากน้ำท่วมขัง อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การผุกร่อนหรือสนิม หากเสาหรือคานมีหน้าตาผิดปกติไป ไม่ว่าจะเปลี่ยนสี พื้นผิวหลุดล่อน มีรอยร้าว หรือมีร่องรอยสนิม ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประเมินสถานการณ์ เพื่อทำการซ่อมแซมหรือเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างบ้าน
2. ระบบไฟฟ้า
"ระบบไฟฟ้าให้ช่างมาตรวจก่อนดีกว่า ปลอดภัยสุด"
น้ำถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของระบบไฟฟ้าเลย ไม่ใช่แค่ทำให้เสียหาย แต่ยังอันตรายต่อคนในบ้านแบบสุด ๆ เพราะถ้าเกิดไฟลัดวงจร หรือไฟชอร์ตขึ้นมา ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถ้าน้ำลดแล้วรีบเสียบปลั๊ก เปิดสวิตช์เลย อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ โดยจุดที่ควรจะเช็กให้ดี ได้แก่
- เต้ารับและปลั๊กไฟ ส่วนนี้ต้องเช็กให้ดีเป็นพิเศษ เพราะหากน้ำเข้าไปในเต้ารับหรือปลั๊กไฟ อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรตรวจดูสายไฟ เต้ารับ และปลั๊กไฟด้วยว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้หรือไม่ หากพบว่ามีน้ำซึมอย่าเพิ่งใช้งาน และให้ช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบจะดีกว่า
- ตู้ควบคุมไฟฟ้า (ตู้เบรกเกอร์) น้ำท่วมอาจทำให้ตู้เบรกเกอร์ของบ้านเสียหาย น้ำอาจทำให้ระบบไฟฟ้าทั้งบ้านไม่เสถียร และเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าชอร์ต ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรให้ช่างไฟมาตรวจสอบก่อนเปิดใช้งาน
3. ระบบประปาและท่อน้ำทิ้ง
"ตรวจดูปัญหาอุดตัน รั่วซึม และดูท่อระบายน้ำด้วย"
ระบบประปาถือเป็นอีกระบบที่สำคัญของบ้าน ถ้าไม่ตรวจสอบก่อนอาจจะเจอปัญหาน้ำรั่วซึม ท่อน้ำทิ้งไม่ระบายได้ดีเท่าที่ควร ไปจนถึงสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมาในถังเก็บน้ำด้วย โดยจุดต่าง ๆ ที่ควรเช็กให้ดีมีดังนี้
- ท่อภายในบ้าน เปิดน้ำจากก๊อกต่าง ๆ ดูว่าน้ำไหลสม่ำเสมอหรือไม่ หากน้ำไหลช้า หรือมีเศษดินโคลนหลุดออกมากับน้ำ แสดงว่ามีการอุดตันในระบบท่อ ควรใช้เครื่องมือทำความสะอาดท่อมาช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
- ท่อน้ำทิ้ง ถ้าพบว่าน้ำไม่ไหลลงท่อทิ้งตามปกติ ควรตรวจสอบท่อระบายน้ำว่ามีสิ่งกีดขวางหรือไม่ โดยเปิดฝาท่อและใช้เครื่องมือทะลวงท่อสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ขวางทางออกไป
- รอยรั่วต่าง ๆ ควรปิดก๊อกน้ำทุกจุดในบ้าน แล้วดูที่มาตรวัดน้ำ (Water Meter) ว่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าตัวเลขยังเปลี่ยนอยู่ แปลว่าท่อน้ำในบ้านรั่วซึม ควรรีบเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาทำการซ่อมแซมทันที
- ถังเก็บน้ำและปั๊มน้ำ ควรตรวจสอบว่าปั๊มยังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ และควรล้างถังให้สะอาดเพื่อป้องกันน้ำในบ้านปนเปื้อนสิ่งสกปรก
4. หลังคาและรางน้ำ
“ดูว่าแผ่นหลังคาหลุด หรือมีจุดไหนรั่วซึมหรือไม่”
หลังคาและรางน้ำเป็นอีกส่วนที่หลายคนมักจะมองข้ามไปหลังน้ำท่วม ยิ่งถ้าเป็นน้ำท่วมจากพายุ ฝนตกหนัก หลังคาและระบบระบายน้ำบนหลังคาก็จะเสียหายแบบเต็ม ๆ หากไม่ตรวจสอบและซ่อมแซม อาจเกิดปัญหารั่วซึม และน้ำสะสมบนหลังคา ซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างบ้านและทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในอนาคต
- วัสดุมุงหลังคา ดูว่าส่วนไหนของหลังคาที่ชำรุด บิดงอ หรือแตกหักหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีลมแรงและฝนตกหนัก และตรวจดูว่าแนวปูกระเบื้องยังคงเป็นระเบียบเหมือนเดิม หรือมีจุดไหนผิดปกติหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึมตามมา
- รางน้ำ ถ้าเจอเศษขยะ ใบไม้ ดินโคลน และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ตกค้างอยู่ในรางน้ำควรกำจัดออกให้หมด และดูว่ามีส่วนไหนของรางน้ำแตกร้าวหรือไม่ ไปจนถึงรอยต่อต่าง ๆ ว่ายังเชื่อมต่อกันแน่นหนาดีหรือไม่
กลัวน้ำท่วมอยากป้องกันตั้งแต่ต้น มีวิธีไหนบ้าง?
บ้านไหนที่เจอปัญหาน้ำท่วมบ่อย ๆ หรือว่าสร้างบ้านใหม่อยากจะป้องกันไว้ก่อนเลย ไม่รู้ว่าจะมีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ไม่ต้องกังวลจระเข้มีเทคนิคดี ๆ มาฝาก เตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อน ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม ตามอ่านได้ที่ ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมบ้าน! มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร ?
เรื่องซ่อมบ้านสบาย ๆ ไว้ใจ จระเข้ อีซี่ ซีเมนต์ซ่อมรอยแตกร้าว
การซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วมจำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เริ่มต้นจากการตรวจสอบสภาพบ้านตามเช็กลิสต์ข้างต้น หลังจากนั้นจึงทำการซ่อมแซมส่วนที่จัดการได้เอง และเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลจุดที่ซับซ้อนหรือเสี่ยงอันตราย การแก้ไขอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้บ้านกลับมาแข็งแรงและใช้งานได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว
ใครที่กำลังหาตัวช่วยดี ๆ มาซ่อมแซมบ้านเบื้องต้น ลองมาดูจระเข้ อีซี่ ซีเมนต์ซ่อมรอยแตกร้าว ที่ออกแบบมาสำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าวบิ่น รอยหลุม ใช้งานง่ายมาก แค่เปิดฝาแล้วผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนด ก็ใช้เกรียงฉาบโป๊วได้เลย จากนั้นก็แค่ปล่อยให้แห้ง ก็พร้อมฉาบแต่งต่อแล้ว มาพร้อมคุณสมบัติดี ๆ อื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น
- ใช้งานได้ทั้งแนวราบและงานเหนือศีรษะ
- แห้งเร็ว ทนทาน แข็งแรง
- เติมเต็มพื้นผิวที่ต้องการซ่อมแซมให้แข็งแกร่งอีกครั้ง
ชมรายละเอียดจระเข้ อีซี่ ซีเมนต์ซ่อมรอยแตกร้าว สั่งซื้อจระเข้ อีซี่ ซีเมนต์ซ่อมรอยแตกร้าว
อยากได้ผลิตภัณฑ์จระเข้มาดูแลบ้าน ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด