ประเด็นสำคัญ
- การติดตั้งถังดับเพลิงในบ้านควรดูที่ประเภทถังดับเพลิงกันก่อน โดยแบบที่เหมาะกับใช้ในที่อยู่อาศัยได้แก่ ชนิดน้ำ ชนิดผงเคมีแห้ง และชนิดละอองน้ำแรงดันต่ำ ที่เหมาะกับเพลิงไหม้ที่มักเกิดขึ้นในบ้าน
- มาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิงในบ้านต้องดูตั้งแต่ประเภทถัง ตำแหน่งที่หยิบใช้ได้สะดวก มีป้ายสัญลักษณ์ชัดเจน และต้องควรตรวจสอบอยู่เสมอว่าถังใช้งานได้อย่างปลอดภัย เต็มประสิทธิภาพ
เรื่องความปลอดภัยในบ้านเป็นเรื่องใหญ่ ถึงจะพยายามปกป้องบ้านขนาดไหนแล้ว ก็ยังเสี่ยงจะเกิดไฟไหม้ได้อยู่ดี ทางที่ดีอย่าลืมหาอุปกรณ์ดับเพลิงมาติดไว้ที่บ้านด้วย หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นก็ยับยั้งความเสียหายได้เบื้องต้น ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลาม
โดยการเลือกถังดับเพลิงนั้น ต้องเลือกยี่ห้อที่ได้รับมาตรฐาน มอก. วันนี้จระเข้จึงมีมาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิงมาฝากทุกคนกัน ก่อนอื่นต้องเริ่มไปทำความรู้จักกับประเภทถังดับเพลิงกันก่อน โดยจะแบ่งได้ตามรูปแบบเพลิงไหม้ดังต่อไปนี้
เพลิงไหม้แบ่งได้เป็นกี่แบบ?
ภาพ: ประเภทเพลิงไหม้และถังดับเพลิง
เคยสังเกตไหมว่าถังดับเพลิงมีทั้งสีแดง สีเขียว และสีอื่น ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะต่างกันออกไปตามสารเคมีที่บรรจุอยู่ภายใน ซึ่งจะส่งผลต่อเพลิงไหม้แบบต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ถังดับเพลิงจะมีสัญลักษณ์ของไฟแบ่งเป็นประเภท A, B, C และ K ตามประเภทของไฟ ดังนี้
- ไฟประเภท A (Ordinary Combustibles) ได้แก่ ไม้ กระดาษ และเสื้อผ้า ใช้ถังดับเพลิงประเภท A-B
- ไฟประเภท B (Flammable Liquids) ได้แก่ แก๊สโซลีน, สีผนังห้อง, น้ำมัน, จารบี และของเหลวที่ติดไฟได้ ใช้ถังดับเพลิงประเภท A-B, B-C และ A-B-C
- ไฟประเภท C (Electrical Equipment) ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ กล่องฟิวส์ เป็นต้น ใช้ถังดับเพลิงประเภท B-C และ A-B-C
- ไฟประเภท D (Combustible Metals) ได้แก่ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะติดไฟได้ ใช้ทรายดับเพลิง
- ไฟประเภท K (Combustible Cooking) ได้แก่ น้ำมันที่ใช้ในการทำอาหาร ใช้สารเคมีประเภทของเหลวดับ
ถังดับเพลิงที่เหมาะกับใช้ในบ้านมีกี่ประเภท?
1. ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers)
ภาพ: ตัวอย่างถังดับเพลิงชนิดน้ำ
“ดับไฟได้ด้วยน้ำและก๊าซ”
ถังดับเพลิงชนิดน้ำ หรือ Water Extinguishers เป็นถังดับเพลิงสุดเบสิก ภายในบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซไว้ ฉีดได้ไกล 6-8 เมตร โดยส่วนใหญ่จะเป็นถังสีแดงมีฉลากติดว่าเป็นชนิดน้ำ หรืออาจเป็นถังสีฟ้า สีน้ำเงิน เหมาะกับเพลิงไหม้ประเภท A จึงตอบโจทย์การติดตั้งถังดับเพลิงในบ้าน หรืออาคารที่อยู่อาศัยแบบอื่น ๆ
2. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
ภาพ: ตัวอย่างการใช้งานถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
“ดับไฟได้ด้วยก๊าซไนโตรเจนและผงเคมีแห้ง”
ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือ Dry Chemical เป็นรูปแบบยอดฮิตที่เห็นกันได้ทั่วไป ตัวถังเป็นสีแดง หาซื้อได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ ภายในถังจะอัดก๊าซไนโตรเจนและผงเคมีแห้ง ซึ่งมีคุณสมบัติในการหยุดปฏิกิริยาเคมีระหว่างเกิดเพลิงไหม้ พอฉีดออกมาแล้วผงเคมีจะฟุ้งกระจายไปทั่ว การติดตั้งถังดับเพลิงแบบนี้จะเหมาะกับเพลิงไหม้ประเภท A, B และ C ที่เจอได้ในบ้าน
3. ถังดับเพลิงสูตรละอองน้ำแรงดันต่ำ (Low Pressure Water Mist)
ภาพ: การใช้งานถังดับเพลิงสูตรน้ำ
“น้ำยาสูตรพิเศษช่วยป้องกันไฟประทุซ้ำ”
ถังดับเพลิงสูตรละอองน้ำแรงดันต่ำ หรือ Low Pressure Water Mist เป็นถังแบบพิเศษที่ออกแบบมาให้ดับไฟได้ทั้งแบบ A, B, C และ K โดยภายในจะบรรจุน้ำยาพิเศษที่ช่วยยับยั้งกระบวนการ Pyrolysis ที่เกิดขึ้นในการเผาไหม้ ช่วยให้อุณหภูมิจากเพลิงไหม้ลดลงกว่าการใช้น้ำทั่วไป แถมยังช่วยป้องกันไฟประทุซ้ำอีก จึงเหมาะกับการติดตั้งถังดับเพลิงในบ้านได้เป็นอย่างดี
รู้จักกับถังดับเพลิงกันไปมากขึ้นแล้ว ต่อไปเราไปดูมาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิงในบ้าน ว่ามีจุดไหนที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน!
มาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิงในบ้าน มีอะไรที่ควรรู้บ้าง?
1. เลือกประเภทถังให้เหมาะกับบ้าน
ภาพ: ถังดับเพลิงในบ้าน
ก่อนอื่นเลยต้องเลือกติดตั้งถังดับเพลิงให้ถูกประเภท เหมาะกับการใช้งานในบ้านและที่อยู่อาศัย ซึ่งเราก็ได้เล่ากันไปก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นจะเลือกใช้ถังชนิดน้ำ ชนิดสารเคมีแห้ง หรือถังแบบสูตรละอองน้ำแรงดันต่ำก็เลือกได้เลยตามความสะดวก โดยควรจะเลือกขนาดบรรจุประมาณ 10-15 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 40 ปอนด์ เพราะใหญ่เกินไป ใช้ไม่สะดวก
2. เลือกห้องที่มีความเสี่ยงสูง
ภาพ: ถังดับเพลิงขนาดเล็กในห้องครัว
สำรวจกันดูว่าตรงไหนของบ้านที่เสี่ยงจะเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ง่าย เช่น ห้องครัว หรือห้องที่มีเชื้อเพลิงชั้นดีอย่างไม้ กระดาษ น้ำมัน หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เกิดไฟไหม้ได้ง่าย ควรจะติดตั้งถังดับเพลิงกันไว้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็จะป้องกันไฟลุกลามไว้ได้ทัน
3. เห็นชัด หยิบง่าย ความสูงกำลังดี
ภาพ: การติดตั้งถังดับเพลิง
ตามมาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิง ควรติดตั้งถังไว้ตรงจุดที่เห็นชัด หยิบง่าย ไม่มีเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งกีดขวางมาบังไว้ ถ้าติดไว้ที่ผนังได้ก็จะยิ่งดี โดยติดที่ควรสูงไม่เกิน 1.53 เมตร จากพื้นถึงจะอยู่ในระดับที่พอดี พอถึงเวลาต้องใช้ก็จะได้หยิบใช้ได้เลย ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
4. ป้ายสัญลักษณ์ต้องเห็นชัด คอยทบทวนวิธีใช้เสมอ
ภาพ: สัญลักษณ์บนถังต้องชัดเจน
ป้ายหรือสัญลักษณ์บนถังดับเพลิงจะต้องชัดเจน เห็นประเภทของถัง อ่านวิธีการใช้งานได้ง่าย ที่สำคัญทุกคนในบ้านควรจะรู้วิธีการใช้ถังอย่างถูกวิธี คอยทบทวนวิธีใช้กันอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนในบ้านนั่นเอง
5. ตรวจสอบอยู่เสมอทุกเดือน
ภาพ: มาตรวัดแรงดันถังดับเพลิง
ถังดับเพลิงแต่ละแบบถึงจะไม่ได้ใช้งาน ก็ยังเสื่อมสภาพได้ เช่น ถังแบบผงเคมีแห้ง มีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี จึงควรจะคอยตรจสอบดูอยู่เสมอ เมื่อถึงเวลาหมดอายุก็ควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที ส่วนวิธีตรวจสอบถังทั่วไปก็คอยดูที่เข็มมาตรวัด ให้อยู่ในช่องสีเขียวเสมอ ถ้าแรงดันหมดก็ควรเปลี่ยนใหม่เช่นเดียวกัน
วิธีการใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกวิธีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ภาพ: วิธีการใช้ถังดับเพลิง
หลังจากเลือกซื้อถังดับเพลิงที่ตรงกับวัสดุในบ้านของเรา ก็ต้องรู้จักวิธีใช้ถังดับเพลิงด้วย ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นถังดับเพลิงสีแดง ที่ใช้ดับไฟประเภท A-C ซึ่งเป็นถังดับเพลิงประเภทที่นิยมใช้มากที่สุด มีวิธีการใช้งานดังนี้
“ดึง – ปลด - กด - ส่าย”
- ดึงสลัก ดึงสลักที่ค้ำที่จับออก โดยสลักมีไว้เพื่อล็อกไว้เพื่อป้องกันเด็กเล่น และป้องกันสารเคมีรั่วไหลขณะเคลื่อนย้าย ถ้าดึงไม่ออกให้บิดแทน
- ปลดสายฉีด ปลดสายออกจากตัวถัง โดยมืออีกข้างจับปลายสายดับเพลิง ถ้าไม่จับสายฉีดไว้ เมื่อใช้งานหัวฉีดจะสะบัดแรงมาก เล็งไปที่ฐานเพลิงไหม้ ทำมุมประมาณ 45 องศา
- กดคันบีบ จับสายและคันบีบใว้ให้มั่นคง แล้วกดคันบีบ ให้สารเคมีตรงไปยังฐานของเพลิงไหม้
- ส่ายปลายหัวฉีด ฉีดน้ำยาในระยะ 2-4 เมตร แล้วส่ายหัวฉีดไปมา หลีกเลี่ยงการฉีดลงบนเปลวเพลิงโดยตรง ถ้าเป็นพื้นต่างระดับให้ฉีดจากล่างขึ้นบน
สินค้าแนะนำ
ภาพ: จระเข้ อีซี่ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน (ทำความสะอาดสิ่งสกปรกทั่วไป ใช้ได้กับกระเบื้องทุกชนิด)
สั่งซื้อ: จระเข้ อีซี่ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน ได้เลยตอนนี้ คลิก
ป้องกันไฟไหม้เริ่มตั้งแต่ภายในโครงสร้างด้วยจระเข้ แบคกิ้ง ร็อด
ภาพ: จระเข้ แบคกิ้ง ร็อด
นอกจากมาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิงที่ควรจะรู้กันไว้แล้ว อย่าลืมสร้างบ้านให้แข็งแกร่ง แถมป้องกันเหตุไฟไหม้ได้ตั้งแต่โครงสร้างภายใน บ้านไหนจะปรับความลึกของร่องก่อนอุดด้วยซีแลนท์อย่าลืมเลือกใช้ จระเข้ แบคกิ้ง ร็อด โฟมเส้นอุดร่องชนิดโพลีเอททาลีน หรือ PE-Foam ที่มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- เมื่อเกิดไฟไหม้ ไม่มีควันพิษ ป้องกันการลามไฟระดับ Class HF-1
- ผลิตจากเม็ดพลาสติก LDPE ปลอดภัยไม่เป็นพิษ
- น้ำหนักเบา ยืดหยุ่นสูง ไม่ดูดซับน้ำ ต้านทานไอน้ำสูงซึมผ่านได้ด้วย
สั่งซื้อ: จระเข้ อีซี่ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน ได้เลยตอนนี้ คลิก
ไม่ว่าจะประตู หน้าต่าง ผนัง พื้น หลังคา หรือชั้นใต้ดิน จระเข้ก็ออกแบบผลิตภัณฑ์มาเพื่อปกป้องบ้านทุกส่วน ถ้ายังไม่รู้จะไปซื้อที่ไหนดี ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด