สร้างบ้านเดือน 5 แต่ว่าฝนตก ควรจะหยุดหรือไปต่อ?
ง
ง
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมืองไทยนั้นมีช่วงฤดูฝนที่สั้น ๆ แต่ก็เพียงพอที่จะทำเกษตรกรรม ลงพืชไร่ พืชสวน แต่หากจะแต่งงานหรือสร้างบ้านช่วงนี้มีแต่คนห้าม ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
คนโบราณมีความเชื่อว่าไม่ควรแต่งงานในช่วงเดือน 5 เพราะเดือน 5 เป็นหน้าฝน แขกเหรื่อจะเดินทางมางานลำบาก และไม่สามารถจัดงานกลางแจ้งได้ เสี่ยงต่อพายุฝน ส่วนการสร้างบ้านนั้นที่ไม่นิยมสร้างกันหน้าฝน มันจะตามมาด้วยความลำบากหลายอย่าง ต่อไปนี้
5 เหตุผลที่คนโบราณไม่อยากให้สร้างบ้านหน้าฝน
ง
1 ลงเสาเอกไม่แข็งแรง
วิธีการลงเสาเข็ม และ เสาเอกในสมัยก่อนใช้วิธีตอกเพียงอย่างเดียว หากตอกเสาเข็มในฤดูฝน เสาอาจจะโล้ เนื่องจากเกิดดินสไลด์ แต่ปัจจุบันมีการลงเสาด้วยวิธีใหม่ ใช้แม่แบบหล่อเสาขึ้นมา ความชื้นมีผลกับการยึดตัวของปูนในหน้าฝนด้วย แต่ปัจจุบันมีซีเมนต์ที่ถูกปรับปรุงพัฒนาสูตร เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่ผู้ที่ต้องการก่อสร้างในความชื้นต่าง ๆ
2 ก่ออิฐฉาบปูนไม่แห้ง
การก่ออิฐมวลเบาด้วยปูนดำแล้วฉาบปูนตกแต่งผนังต้องใช้เวลา และความชื้นสัมพัทธ์ต้องพอดีให้ซีเมนต์นี้แห้งสนิท เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการตกแต่งผนังอื่นๆ ต่อไป ถ้าก่ออิฐแล้วรอให้แห้ง จะต้องเพิ่มเวลามากกว่าเดิม เป็นวันๆ เจ้าของบ้านส่วนใหญ่จึงไม่อยากเสี่ยงสร้างบ้านหน้าฝนด้วยเหตุผลนี้เป็นหลัก
3 สนิมขึ้นเหล็กโครงหลังคา
ตัวโครงสร้างหลังคา และโครงสร้างคานที่เป็นเหล็ก อาทิ เหล็ก H Beam ที่แม้ว่าจะเคลือบสารกันสนิมแล้ว แต่ก็มีบางยี่ห้อที่ไม่ได้มาตรฐานโดยการใช้งานที่ไม่ถูกวิธีทำให้ผิวเหล็กถูกขูดขึ้นสนิมได้ หากหลังคาชื้น โครงเหล็กไม่แข็งแรง
4 พื้นซึมจากน้ำฝน
หากราดคอนกรีตเทพื้นในช่วงหน้าฝนในที่โล่ง บริเวณที่เป็นพื้นที่น้ำขัง ฝนตกจะทำให้เกิดรอยริ้วบนคอนกรีต และไม่สามารถควบคุมระยะเวลาบ่มคอนกรีตได้ ประสิทธิภาพในการใช้งานจะไม่ได้มาตรฐาน หากจะเทพื้นคอนกรีตหน้าฝนต้องกางผ้าใบยาวพอจะปกป้องพื้นที่หน้างานจากน้ำขัง และต้องหมั่นกวาดน้ำขังออก
5 ทาสีไม่แห้ง
บางครั้งการที่น้ำซึมขึ้นมาบนผนัง ทำให้คุณไม่เห็นว่าสีที่ทาทับลงไปแล้วลอกเพราะผนังชื้น โดยเฉพาะสีอะคริลิก ที่ไม่ติดกับผิวผนัง แม้ว่าจะลงรองพื้นแล้วก็ตาม หน้าฝนจะควบคุมการทาสียาก ยกเว้นว่าจะใช้สีประเภทอื่นอย่างสีสตัคโค และ สีคัลเลอร์ซีเมนต์ ที่มีซีเมนต์เป็นองค์ประกอบกับเนื้อคอนกรีตได้เลย ก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องสีลอกนี้
อย่างไรก็ดี บางพื้นที่มีโอกาสเสี่ยงจาก “น้ำท่วม” ในช่วงหน้าฝน ทั้งน้ำท่วมขัง และน้ำไหลหลาก ฝนตกแต่ละครั้งจะพัดพาเอากองทราย ที่เราเตรียมไว้ผสมคอนกรีตนั้นละลายไปตามพื้น ตามเก็บกันลำบาก ดังนั้น จึงคำนวณข้อดีข้อเสีย กับที่ดินที่คุณต้องการสร้างบ้าน
ง
หากที่ดินบริเวณนั้นสามารถขึงผ้าใบได้ และไม่ได้มีฝนมากมายจนน่ากลัวว่าน้ำจะท่วม ก็ไม่มีผลอะไรที่จะไม่ก่อสร้างในช่วงนี้ แต่ก็ยากที่จะหาผู้รับเหมาที่ยอมรับงานหน้าฝน เนื่องจากหากงานได้รับความเสียหาย ก็จะกลายเป็นความผิดช่าง รู้อย่างนี้แล้วต้องประเมินความเสี่ยงดูว่าจะหยุด หรือ ลุยต่อ เป็นเรื่องที่คนอยากมีบ้านต้องทำการบ้านมากขึ้นครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ซ่อมบ้านจากพายุ "ลูกเห็บ" ภัยธรรมชาติที่ห้ามไม่ได้
หน้าฝนทีไร...ผนังบ้านเกิดรอยร้าว น้ำฝนซึม ทำอย่างไรดี!
ผลิตภัณฑ์จระเข้ตัวไหน ตอบโจทย์ “ห้องน้ำรั่วซึม”