3 วิธี ป้องกันงูเข้าชักโครก ด้วยผลิตภัณฑ์จระเข้
เมื่อบ้านมีความชื้นในหน้าฝน ไม่เพียงแค่ปัญหาบ้านรั่วซึมเท่านั้น หากลักษณะบ้าน หรือ รีสอร์ท ที่พักของคุณ มีต้นไม้อยู่เยอะ ความชื้นไม่ได้พาแค่คราบน้ำตะไคร่มาให้เห็น บางทีอาจจะมีสิ่งมีชีวิตที่มาขอหลบภัยภายในบ้าน นั่นก็คือ “งู” นั่นเอง ถ้างูมันเลื้อยเข้าบ้าน อย่างตามหลังคาหรือหน้าต่าง ก็ยังพอเห็นตัวให้จับได้ทัน แต่หากมาตามท่อน้ำ หรือ ซอกหลืบของบ้าน ก็ยากต่อการพบเห็น
“งู” เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษและไม่มีพิษ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน และต้นไม้ และเมื่อระดับน้ำในดินสูง ด้วยน้ำฝน หรือมีพื้นที่น้ำท่วมใกล้เคียงจนงูต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ มันอาจจะมุดมาตามท่อต่าง ๆ และข่าวที่เราเห็นกันบ่อย ๆ เหมือนเรื่องตลก แต่ไม่สนุกเลย ก็คือ งูมักจะแอบลอดขึ้นมาจากชักโครก เนื่องจากท่อชักโครกอาจเป็นท่อปลายเปิดไปสู่บ่อน้ำทิ้ง ที่มีการแตกรั่วซึม งูสามารถขึ้นมาจากบ่อพัก หรือ ถังบำบัดที่ฝังไว้ใต้ดินได้ และก็ยากที่จะทราบว่าภายใต้โถสุขภัณฑ์นั้นเป็นรังของงูหรือเปล่า
ในหมู่บ้านจัดสรร ที่มีข่าวงูขึ้นชักโครก ทั้งหมู่บ้านมีบ้านอยู่หลายหลัง แต่อาจจะมีปัญหาอยู่ที่บ้านเดียว บ้านข้าง ๆ อาจไม่เจอปัญหานี้ อาจเป็นเพราะท่อ หรือ บ่อพักน้ำเสียออกสู่สาธารณะของบ้านนั้นมีรอยรั่ว ที่งูเข้ามาทำรังวางไข่เป็นที่อยู่อาศัยได้ เมื่อมีบ้านแล้วต้องตรวจสอบให้ดี อย่าละเลยแม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างบ่อทิ้งน้ำเสีย
ง
ง
วิธีป้องกันงูเข้าชักโครก
วิธีป้องกันงูเข้าชักโครก ทำได้ง่าย ๆ โดย
1. วิธีสามัญประจำบ้าน ด้วยการโรยโซดาไฟ ราดไปกับชักโครก
2. ตรวจสอบการรั่วซึมของท่อน้ำทิ้งชักโครกที่ออกสู่ถังเก็บสิ่งปฏิกูลภายนอก
บ้านใหม่
ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างบ้าน เพื่อป้องกันงูและสัตว์เลื้อยคลานอย่างอื่น ควรใช้ตาข่าย ที่มีใหญ่พอที่จะป้องกันงูเลื้อยขึ้นมาจากบ่อพักน้ำ ซึ่งเป็นทางที่ออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ
บ้านเก่า
หากพบว่า ถังบำบัดมีรอยแตก สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ จระเข้ปลั๊ก เพื่ออุดรอยรั่วซึมได้ โดยการปั้น ดูวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ จระเข้ปลั๊ก
แต่หากเป็นรอยร้าวลักษณะรอยยาว ใช้คู่กับผลิตภัณฑ์ จระเข้แพทช์เพื่อแก้ปัญหารอยแตกได้ ในกรณีที่ไม่ต้องการเปลี่ยนถังบ่อพักใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ยุ่งยาก (อาจจะต้องขุดลงไปดูเพื่อหาจุดที่เป็นรอยรั่ว) และมีมูลค่าสูง
ง
ง
ถ้าเห็นงูก่อนที่จะใช้งานชักโครก ก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากเจองูขณะที่กำลังปฏิบัติภารกิจอยู่แล้วอาจจะลำบากอย่างยิ่ง และหากโดนงูกัดก็ต้องรู้จักวิธีปฐมพยาบาล หากไม่สามารถจับงูไปพบแพทย์ด้วยได้ ก็ถ่ายรูปไว้ เพื่อระบุสายพันธุ์ คุณหมอจะได้หาเซรุ่มให้ถูกชนิด พี่เข้หวังว่าทุกท่านจะปลอดภัยจากเจ้างูร้ายที่แอบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านของคุณ! รู้วิธีป้องกันแล้วอย่าลืมบอกเพื่อนบ้านด้วยนะครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ผลิตภัณฑ์จระเข้ตัวไหน ตอบโจทย์ “ห้องน้ำรั่วซึม”
ผลิตภัณฑ์จระเข้ที่ควรเลือกใช้ สำหรับผนังคอนกรีตสำเร็จรูป
ซ่อมบาง ซ่อมหนา ซ่อมเร็ว ใช้ผลิตภัณฑ์จระเข้ ต้องใช้ตัวไหน