Crocodile Silicone Seal ซิลิโคนอเนกประสงค์ สำหรับอุดรอยต่อเหมาะกับงานประเภทใด
ช่วงนี้ซึมเก่ง! ก็แหมฝนตกทุกวี่ทุกวันมันก็ย่อมเผยให้เห็นจุดรั่วซึมของบ้านง่ายขึ้น หลายบทความก่อนหน้านี้พี่เข้ได้เขียนถึงวิธีแก้ปัญหาร้าว รั่ว ซึม ตามจุดต่างๆของตัวบ้านไปหลายบทความแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหลังคารั่ว ดาดฟ้ารั่ว ผนังแตกร้าวจนน้ำซึมผ่าน แต่วันนี้จะมาพูดถึงอีกบริเวณที่พบได้บ่อยเช่นกันซึ่งก็คือ "รอยต่อของขอบกระจกหน้าต่าง" ที่ต้องเผชิญกับน้ำฝนที่สาดปะทะอยู่บ่อยครั้ง พร้อมแนะนำผลิตภัณฑ์แก้ไข คุณสมบัติพิเศษ รวมถึงวิธีการใช้งานมาฝากกันครับ
น้ำซึมขอบกระจกมีสาเหตุหลักๆดังต่อไปนี้
1. กรณีฝนสาดปะทะโดยตรง เมื่อกระจกบริเวณประตูหรือหน้าต่างเกิดมีช่องว่างอันเกิดจากยาแนวเสื่อมสภาพจนหลุดล่อนหรืองานติดตั้งไม่ได้มาตรฐานก็จะทำให้น้ำเข้าไปเก็บสะสมจนเต็มร่องจากนั้นจะไหลซึมผ่านเข้าสู่ภายในตัวบ้านให้เห็นเจิ่งนองเต็มพื้นนั่นเอง
2. กรณีไม่ถูกฝนสาดปะทะโดยตรงแต่บริเวณดังกล่าวไม่ได้ติดตั้งกันสาด น้ำฝนที่สาดปะทะผนังบ้านที่ตำแหน่งสูงกว่าก็จะไหลผ่านบริเวณกระจกเป็นเหตุให้เกิดน้ำซึมผ่านเข้าตัวบ้านได้เช่นกัน
แยกให้ออกระหว่างกรอบกระจก กับ กรอบวงกบ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนครับว่าบทความนี้เรากำลังพูดถึงกรณีน้ำซึมผ่านรอยต่อของกรอบกระจกประตูหรือหน้าต่างเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีน้ำรั่วซึมบริเวณวงกบประตูหน้าต่างแต่อย่างใด ก็เพราะถ้าเป็นกรณีน้ำซึมที่บริเวณกรอบวงกบประตูหน้าต่าง ลักษณะนี้จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ จระเข้ อะคริลิก ซีล พลัส (Crocodile Acrylic Seal Plus) อะคริลิกอุดยาแนวคุณภาพสูงผสมสารกันเชื้อรา ถึงจะตอบโจทย์กว่า
แต่หากเป็นกรณีรั่วซึมบริเวณกรอบกระจกตามหัวข้อที่เกริ่นนำไว้ จำเป็นต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ จระเข้ ซิลิโคน ซีล ซิลิโคน ยาแนวกระจก หน้าต่างสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าวเท่านั้นนะครับ
จระเข้ ซิลิโคน ซีล คืออะไร ?
Crocodile Silicone Seal คือ กาวซิลิโคนยาแนวส่วนผสมเดียว คุณภาพสูง ชนิดแห้งเร็ว บ่มตัวโดยใช้ความชื้นในอากาศ เนื้อซิลิโคนมีอายุการใช้งานยาวนาน ใช้สำหรับยาแนวกันรั่วซึมของน้ำ ความชื้น และอากาศ เหมาะสำหรับใช้กับวัสดุประเภทกระจกแก้ว อลูมิเนียม คอนกรีต สังกะสี เซรามิก โลหะ แสตนเลส ไฟเบอร์กลาส แกรนิต วัสดุเคลือบสีไม้แห้งสนิท อะคริลิก พลาสติกบางประเภท (เช่น อีพ๊อกซี่ โพลีเอสเตอร์ โพลีคาร์บอเนต) และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ โดยไม่ต้องใช้รองพื้น
คุณสมบัติพิเศษของ จระเข้ ซิลิโคน ซีล
1. มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นตัวสูงเมื่อแห้งตัว
2. แห้งตัวเร็วด้วยการระเหย กรดอะซิตริก (คล้ายน้ำสมสายชู)
3. ทนทานดีเยี่ยมต่ออากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น รังสี UV แรงสั่นสะเทือน ความชื้น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มลภาวะทางอากาศ น้ำยาทำความสะอาด และสารละลายต่างๆ
4. เนื้อซิลิโคนไม่ไหลย้อย จึงสามารถใช้ยาแนวรอยต่อในแนวดิ่งและงานเหนือศีรษะได้ดี
5. มีสีให้เลือกใช้ทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีขาว สีใส และสีดำ
ลักษณะพื้นที่การใช้งาน
จระเข้ ซิลิโคน ซีล นอกจากเหมาะสำหรับใช้งานอุดยาแนวขอบกระจกหน้าต่างแล้ว ยังเหมาะนำไปใช้กับงานลักษณะยาแนวแต่งขอบงานทั่วไปหรือเป็นตัวอุดร่องที่รองรับการเคลื่อนไหว เช่น ขอบหน้าต่าง วงกบ ประตู ตู้ปลา งานหลังคา กันสาด รางระบายน้ำ ตัวถังรถ ตู้คอนเทนเนอร์ ป้ายโฆษณา ซีลปะเก็น ยาแนวกระเบื้อง ท่อส่งลม ตู้โชว์ เฟอร์นิเจอร์ ได้เช่นกัน
ข้อแนะนำการใช้งาน
การเตรียมพื้นผิว
1. พื้นผิวต้องแห้งและสะอาด ปราศจากฝุ่น สี คราบน้ำมัน หรือสิ่งสกปรก
2. ขนาดร่องที่เหมาะสม ควรกว้างประมาณ 3-12 มิลลิเมตร ลึก 5-10 มิลลิเมตร โดยความกว้างควรเท่ากับหรือมากกว่าความลึกของร่อง อาจใช้โฟมเส้นอุดรอยต่อเพื่อปรับระยะความลึกให้เหมาะสม
3. ใช้เทปกาวปิดข้างแนวรอยต่อเพื่อไม่ให้มีส่วนเกินล้นออกแนวต่อในขณะอุดรอยต่อ
การใช้งาน
1. ตัดปลายหลอดและปลายจุก (เฉียง 45 องศา) และสวมจุกเข้ากับหลอด
2. ใช้เทปกาวปิดข้างแนวรอยต่อเพื่อไม่ให้มีส่วนเกินล้นออกแนวรอยต่อในขณะอุดรอยต่อ
3. ใช้ปืนยิงกาวชนิดก้านคู่หรือแบบอัดลม บีบกาวในร่องที่ต้องการให้เต็มร่อง
4. ปาดเนื้อกาวให้เรียบ ภายใน 5 นาที
5. เช็ดทำความสะอาดส่วนเกินด้วยผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำหมาด
6. ลอกกระดาษกาวด้านข้างออกภายใน 10-15 นาที ก่อนกาวแห้ง
7. ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ก่อนใช้งานหรือทาสีทับ
เป็นอย่างไรบ้างครับท่านเจ้าของบ้านท่านใดที่กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอยต่อกระจกอยู่ในเวลานี้ไม่ว่าจะเกิดที่จุดใดของบ้าน จระเข้ ซิลิโคน ซีล สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปได้อย่างง่ายดายด้วยตัวคุณเอง ไม่ต้องจ้างช่าง ไม่เปลืองค่าใช้จ่าย สนใจสั่งซื้อได้ที่ Online Shop ของบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือโทรปรึกษาฟรีได้ที่ Call Center 02-720-1112 บริการให้คำปรึกษาโดยทีมงานมืออาชีพ
อ่านเพิ่มเติม
ไอเดียต่อเติมห้องกระจก เพิ่มพื้นที่บ้าน
วงกบประตูหน้าต่างเป็นรู มีน้ำรั่วซึม! แก้ปัญหาอย่างไรดี ?
น้ำรั่วซึมบริเวณขอบประตู หน้าต่าง มีวิธีแก้ไขอย่างไร ?
ติดตามข้อมูลข่าวสาร Line Official Jorakay ได้ที่นี่