ประเด็นสำคัญ
- แบบหลังคากันแดดหน้าบ้านเลือกได้ทั้งหลังคาแบบที่พับเก็บได้ หลังคาที่ต่อเติมออกจากบ้าน หรือจะเป็นหลังคาที่ไม่ได้บังแดดทั้งหมดจนอึดอัด เช่น ไม้ระแนง หลังคาโปร่งแสง ก็ถือว่าเก๋ไก๋ไม่เบา
- วัสดุหลังคากันแดดมีให้เลือกทั้งโพลีคาร์บอเนต ไวนิล เมทัลชีท และไฟเบอร์กลาส ซึ่งแต่ละแบบก็เป็นวัสดุที่ทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกได้เป็นอย่างดี พร้อมรับแสงแดด ลม ฝน ได้อย่างเต็มที่
อย่างที่รู้กันดีว่าเมืองไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนจัด นอกจากการออกแบบบ้านให้รับลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แต่เท่านั้นอาจจะยังไม่พอ เพราะแดดที่ส่องเข้าบ้านอาจจะรุนแรงเกินรับไหว จึงควรเลือกแบบหลังคากันแดดหน้าบ้านมาเป็นตัวช่วยกันแดดอันร้อนแรง สำหรับใครที่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำแบบไหนดี จระเข้มีแนวทางมาฝากกันแล้ว!
10 แบบหลังคากันแดดหน้าบ้าน เลือกแบบไหนดีให้ตอบโจทย์
1. หลังคาผ้าใบ
ภาพ: หลังคาผ้าใบ
“หลังคากันแดดยอดฮิต บ้านไหนก็ใช้ได้”
หลังคาผ้าใบถือเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมาเป็นลำดับต้น ๆ เพราะใช้งานง่าย ส่วนใหญ่มักจะมาเป็นแบบพับเก็บได้ แถมยังทนทาน ทนต่อสภาพอากาศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์ไหนก็เลือกใช้ได้ เพราะมีดีไซน์ให้เลือกได้ตามความชอบของแต่ละคน
2. หลังคากันแดดแบบผ้า
ภาพ: หลังคาผ้ากันแดด
“หลังคาผ้าได้ฟีลสบาย ๆ สำหรับสายชิว”
บ้านไหนอยากได้แบบกันแดดหน้าบ้าน พร้อมกับเป็นมุมผักผ่อน หรือนั่งอ่านหนังสือ ควรเลือกใช้หลังคาผ้าง่าย ๆ กันดู เพราะหลังคาผ้าจะโปร่งแสงไม่หนาจนเกิน แต่มีจุดอ่อนตรงที่หากฝนตกจะทำให้เกิดความชื้น ส่งผลให้เกิดเชื้อราและมีคราบสกปรกได้ง่าย
3. หลังคาต่อเติมยื่นออกจากบ้าน
ภาพ: หลังคากันแดดยื่นออกจากบ้าน
“เพิ่มหลังคาออกจากบ้าน กันแดดได้ดีขึ้น”
สำหรับบ้านที่มีหลังคายื่นออกมาอยู่แล้วแต่ยังกันแดดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ลองเพิ่มหลังคาผ้าใบเข้าไปกันดู เแนะนำให้ติดตั้งโครงเหล็กและปูผ้าใบด้านบน โดยเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันแสงแดดได้อย่างดีเยี่ยม แถมได้พื้นที่อเนกประสงค์ไว้ทำกิจกรรมเพิ่มเติมได้ด้วย
4. หลังคากันสาดเหล็ก
ภาพ: กันสาดเหล็กหน้าบ้าน
“กันสาดเหล็ก ได้ฟีลโมเดิร์น น่าค้นหา”
อยากให้บริเวณบ้านดูทันสมัย โมเดิร์นแบบไม่ต้องตกแต่งมากจนเกินไป ลองใช้แบบหลังคากันแดดหน้าบ้านที่ทำจากเหล็กพ่นสีดำกันดู ถ้าคุมโทนกับบ้านสีขาว เรียกได้ว่าสร้างความน่าสนใจได้โดยไม่ต้องทำอะไรมาก แถมยังกันแดดกันความร้อนได้ดีอีกด้วย
5. หลังคาทรงสูงโปร่ง
ภาพ: แบบหลังคากันแดด
“อากาศถ่ายเท นั่งพักผ่อนไม่มีเบื่อ”
สำหรับใครที่อยากมีมุมพักผ่อนบริเวณพื้นที่โล่ง แต่ก็กลัวแดดจะมาทำให้การพักผ่อนต้องสะดุด แนะนำให้สร้างหลังคากันสาดแบบเต็มพื้นที่ โดยต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี และเน้นความสูงโปร่ง เพื่อจะได้มีอากาศถ่ายได้สะดวก
6. หลังคากันแดดไม้ระแนง
ภาพ: หลังคาไม้ระแนง
“แดดส่องได้บ้าง ไม่ทึบจนอึดอัด”
ใครอยากได้แบบหลังคากันแดดหน้าบ้าน ที่เหมาะจะสร้างบริเวณสวนหย่อมหน้าบ้าน หรือบริเวณที่ตกแต่งด้วยต้นไม้ดอกไม้ โดยจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น ไม่มืดทึบอึดอัด พร้อมทั้งให้ความรู้สึกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติอีกด้วย
7. หลังคาเต็มพื้นที่
ภาพ: หลังคาพื้นที่นั่งเล่นหน้าบ้าน
“นั่งเล่นหน้าบ้านชิว ๆ ไม่กลัวแดด”
อยากให้พื้นที่นั่งบ้านใช้งานได้ทั้งวันไม่กลัวแดดส่อง ลองต่อเติมหลังคากันแดดออกจากตัวบ้านดู โดยออกแบบให้เหมือนกับศาลาสไตล์โมเดิร์นไม่เหมือนใคร อย่าลืมสำรวจโครงสร้างให้ดีก่อนต่อเติม จะได้ใช้กันยาว ๆ ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง
8. หลังคาไฟฟ้า
ภาพ: หลังคาไฟฟ้าพับเก็บได้
“พับเก็บสะดวก เลือกเวลาใช้งานได้ตามใจ”
หลังคาไฟฟ้าที่พับเก็บได้ เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่สวยโมเดิร์น แถมยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย กางออกได้เมื่อแดดแรง และพับเก็บได้สะดวกเมื่อไม่มีแดดแล้ว เป็นอีกแบบหลังคากันแดดหน้าบ้านอเนกประสงค์ที่น่าสนใจไม่น้อย
9. หลังคากระจก
ภาพ: หลังคากระจก
“หลังคากระจกเก๋ ๆ กันความร้อนได้ระดับหนึ่ง”
หลังคากระจกอาจจะดูบังแดดได้ไม่ดีมากนัก เมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ แต่ก็ถือว่าช่วยกันความร้อนได้ดีไม่น้อย แถมยังทำให้บริเวณบ้านดูเก๋ไก๋มากขึ้น จะเป็นที่นั่งพักผ่อน หรือพื้นที่สังสรรค์กับเพื่อน ๆ ก็เลือกได้ตามใจชอบ
10. หลังคากันสาดผสมไม้ระแนง
ภาพ: หลังคากันแดดแบบโปร่งแสง
“โมเดิร์นอีกขั้น บังแดดหน้าบ้านด้วยไม้ระแนงยื่นออกจากกันสาด”
สุดท้ายเป็นแบบกันแดดหน้าบ้านที่ผสมผสานหลังคาเรียบ ๆ แบบโมเดิร์น กับไม้ระแนง โดยเลือกใช้สีขาว เพื่อให้ฟีลโมเดิร์น หรือจะเลือกใช้สีอื่น ๆ อย่างลายไม้ หรือสีโทนเข้ม ก็โมเดิร์นเข้ากับบ้านสไตล์ใหม่ ๆ ได้อย่างลงตัว
ได้ไอเดียแบบหลังคากันแดดหน้าบ้านกันไปแล้ว มาดูกันต่อว่าวัสดุหลังคาแบบไหนที่น่านำมาใช้กันบ้าง แบบไหนจะทนทานน่าใช้ เลือกได้ทั้งแบบทึบ แบบโปร่งแสง พร้อมแล้วไปดูกันเลย!
เลือกประเภทกันแดดแบบไหนดี ?
1. หลังคาโพลีคาร์บอเนต ไม่แพง ถูกใจคนงบน้อย
ภาพ: หลังคาโพลีคาร์บอเนต
หลังคาโพลีคาร์บอเนตเป็นกันสาดประเภทพลาสติกเทอร์โมพลาสติก มีจุดเด่นที่ความโปร่งใส เลือกได้ทั้งแบบกลวงและแบบตัน พร้อมด้วยราคาไม่แพง เหมาะกับคนมีงบน้อย มีจุดอ่อนเล็กน้อยที่กรอบและแตกง่าย และยังหดตัวเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนอีกด้วย จึงควรเลือกตำแหน่งให้ดีก่อนติดตั้ง
2. ไวนิล เหนียวแข็งแรง น้ำหนักเบา
ภาพ: หลังคาไวนิล
หลังคาไวนิลเป็นวัสดุหลังคากันแดดที่ทำจาก PVC จุดเด่นที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ ความแข็งแรงทนทาน ทึบแสง รวมถึงป้องกันความร้อนภายนอกได้ดี ที่สำคัญคือติดตั้งง่าย แต่อาจจะเป็นรอยขีดข่วนง่ายเสียหน่อย ถือเป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ไม่ควรมองข้าม เหมาะกับทำที่บังแดดหน้าบ้านแบบสุด ๆ
3. เมทัลชีท ทนสุด ติดตั้งก็สบาย
ภาพ: กันสาดเมทัลชีท
ถ้าจะตามหาวัสดุมุงหลังคาที่เหมาะจะมาใช้เป็นแบบหลังคากันแดดหน้าบ้าน เมทัลชีทนี่แหละคือวัสดุยอดฮิต ตอบโจทย์การสร้างสุด ๆ เพราะติดตั้งง่าย และแข็งแรงเพราะทำจากเหล็กรีดผสมอลูมิเนียมและสังกะสี มีหลายเกรดให้เลือกใช้ มีจุดอ่อนที่เรื่องเสียงค่อนข้างดัง เมื่อมีฝนตกกระทบ
4. ไฟเบอร์กลาส ทนร้อน ทนชื้น เกิดคราบยาก
ภาพ: กันสาดไฟเบอร์กลาส
ไฟเบอร์กลาสเป็นวัสดุที่ผลิตจากเส้นใยแก้ว ที่มีส่วนประกอบของหินปูน กรดบอริก และทรายแก้ว รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ มาหลอมละลายรวมกัน จึงได้วัสดุที่แข็งแรง แถมยังโปร่งแสง กระจายแสงได้ดี เหมาะกับบ้านที่อยากจะทำหลังคากันแดดหน้าบ้านแบบโปร่งแสง เพราะเกิดคราบราดำ และตะไคร่น้ำได้ยากด้วย
เก็บงานหลังคากันแดดเป๊ะ! อุดรอยต่อครบอย่าลืมเลือก จระเข้ โพลี-ยู ซีล
ภาพ: จระเข้ โพลี-ยู ซีล
ช้อป: ปืนยิงกาวซิลิโคน กาวอะคริลิค
จะแบบหลังคากันแดดหน้าบ้านแบบไหน ก็อย่าลืมติดตั้งให้ได้มาตรฐานโดยช่างที่มีประสบการณ์ และเก็บงานด้วยจระเข้ โพลี-ยู ซีล โพลียูริเทนซีลแลนท์ ที่ยืดหยุ่นตัวสูงกว่า 700% ใช้งานง่ายแค่ใส่ปืนยิงกาว แห้งตัวเร็ว ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน ตามจุดต่าง ๆ ของบ้านได้หลากหลายตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น
- อุดรอยต่อแผ่นวัสดุปูหลังคา แผ่นคอนกรีต หรือผนังก่ออิฐฉาบปูน
- อุดร่องกันแตก รอยต่อโครงสร้าง หรือรอยแตกร้าว
- อุดร่องที่ขอบวงกบประตู กรอบหน้าต่างประเภทต่าง ๆ
- ใช้ยาแนวกระเบื้องเซรามิก หิน ไปจนถึงสุขภัณฑ์
ชมรายละเอียดจระเข้ โพลี-ยู ซีล
ยังไม่รู้จะไปซื้อผลิตภัณฑ์จระเข้ที่ไหนดีมาปกป้องบ้านตั้งแต่หลังคาจนถึงชั้นใต้ดิน ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด ค้นหาร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์จระเข้