ประเด็นสำคัญ
- ทำพื้นบังแดดในบริเวณบ้าน ให้ได้บรรยากาศที่โล่ง โปร่ง สบายตา ลองเลือกใช้หลังคาโปร่งแสง ซึ่งมีวัสดุให้เลือกหลายแบบ เช่น อะคริลิก ไฟเบอร์กลาส ลามิเนต ยูพีวีซี และโพลีคาร์บอเนต
- หลังคาแบบใสติดตั้งได้หลายจุดของบ้าน ทั้งเป็นกันสาดประตู หน้าต่าง ทำเป็นหลังคาลานซักล้าง และยังเหมาะกับใช้เป็นหลังคาพื้นที่ส่วนต่อเติมอื่น ๆ ได้อีกด้วย เพราะทั้งมีดีไซน์โมเดิร์นทันสมัย และไม่ทำให้ภาพรวมของบ้านดูอึดอัดมากเกินไป
หลังคาโปร่งแสงเป็นหนึ่งในทางเลือกของการตกแต่งบริเวณบ้านให้ดูโล่ง โปร่ง ดูทันสมัยและใช้งานได้อย่างเต็มที่ไปพร้อม ๆ กัน สำหรับหลังคาแบบใสในยุคนี้ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้แค่กระจกเท่านั้น แต่ยังมีวัสดุอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่แข็งแรง ทนทาน รับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีเยี่ยม และยังปลอดภัยไม่ต้องกลัวแตกด้วย สำหรับใครที่กำลังหาว่าเลือกหลังคาโปร่งแสงแบบไหนดี จระเข้มีความรู้ดี ๆ มาฝากกัน ตามไปดูกันได้เลย!
5 วัสดุทำหลังคาโปร่งแสงแบบไหนดี แข็งแรง ทนทาน น่าใช้งาน
1. อะคริลิก (Acrylic)
ภาพ: หลังคาอะคริลิก
อะคริลิกเป็นพลาสติกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นวัสดุยอดนิยมสำหรับใช้เป็นหลังคาโปร่งแสง เพราะใสคล้ายกับกระจก ผิวเรียบ เงา เนื้อเหนียวกว่ากระจก แต่น้ำหนักเบากว่ามาก เนื้อเหนียว ทนต่อความร้อนได้ดีไม่แตกกรอบง่าย มีความหนาให้เลือกหลายแบบตามความต้องการ บางยี่ห้ออาจมีฟังก์ชันกรองแสงเสริมมาด้วย
ข้อดี: ใสคล้ายกับกระจก แต่มีน้ำหนักเบากว่าจึงติดตั้งได้ง่าย ดัดโค้งได้ ทนสภาพอากาศ และกันความร้อนได้ดี
ข้อเสีย: ราคาสูง ทนแรงกระแทกได้ดี
2. ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)
ภาพ: ตัวอย่างเส้นใยไฟเบอร์กลาส
ไฟเบอร์กลาสเป็นวัสดุทำหลังคาโปร่งแสงที่ผลิตจากเส้นใยแก้ว ผสมกับหินปูน หินฟันม้า ทรายแก้ว กรดบอริก และสารอื่น ๆ จากนั้นนำไปหลอมในเตาอบ โดยนำวัสดุที่ได้ไปเสริมแรงให้เรซิ่น และทำขึ้นเป็นแผ่น ทำให้ได้แผ่นหลังคาแบบใสที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นหลังคาแบบลอน จุดเด่นสำคัญคือใช้ติดตั้งแทรกในกระเบื้องมุงหลังคาได้เลย ช่วยเพิ่มแสงสว่างให้กับบ้านโดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้า
ข้อดี: ราคาถูก น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ใช้ติดตั้งคู่กับวัสดุมุงหลังคาประเภทอื่นได้เลย
ข้อเสีย: อายุการใช้งานไม่ยาวนานเท่าที่ควร เมื่อถูกความร้อนนาน ๆ จะเกิดรอยเส้นบนแผ่น
3. กระจกลามิเนต (Laminated Glass)
ภาพ: ตัวอย่างกระจกลามิเนต
กระจกลามิเนตเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งนำกระจกนิรภัยเทมเปอร์และกระจกธรรมดา มาประกบกันเป็นชั้น ๆ โดยใช้แผ่นฟิล์มคั่นกลาง ทำให้ได้แผ่นหลังคาโปร่งแสงที่หนาและแข็งแรงมากขึ้น ความหนาของแต่ละชั้นจะอยูที่ 4-5 มม. ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน จุดเด่นสำคัญของวัสดุชนิดนี้คือความปลอดภัย เพราะหากกระจกแตกก็จะไม่กระจายตัว ไม่แหลมคม เศษกระจกจะมีลักษณะเหมือนเม็ดข้าวโพด
ข้อดี: แผ่นหนา ใส แข็งแรง ทนทาน ปลอดภัย ไม่ค่อยมีเสียงรบกวนเมื่อฝนตก มีสีสันให้เลือกหลายแบบ บางรุ่นเคลือบน้ำยาลดการเกิดคราบ ทำให้ไม่ต้องทำความสะอาดบ่อย ๆ
ข้อเสีย: ราคาสูง น้ำหนักมากจึงต้องใช้โครงสร้างที่แข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มตามไปด้วย
4. ยูพีวีซี (uPVC)
ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสง
แผ่นหลังคายูพีวีซี หรือ uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride) เป็นพลาสติกอีกชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนา ผสมสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทานให้มากกว่าพลาสติกพีวีซีทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะใช้เป็นแบบลอนเหมือนกับแผ่นเมทัลชีท เลือกได้ทั้งแบบขาวขุ่นและผสมสีสันต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการตกแต่งที่ต้องการ
ข้อดี: เนื้อเหนียว แข็งแรง น้ำหนักเบา ดัดโค้งได้ เมื่อฝนตกไม่ค่อยมีเสียงรบกวนมากนัก
ข้อเสีย: เนื้อขาวขุ่น สีสันอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ และหากเจอความร้อนนาน ๆ อาจแอ่นตัวได้
5. โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate)
ภาพ: การติดตั้งหลังคาโพลีคาร์บอเนต
อีกหนึ่งวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำหลังคาโปร่งแสงก็คือ โพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นวัสดุที่มักจะใช้แทนกระจก เพราะมีเนื้อเหนียว ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ แบบตันเรียบ แบบลอนลูกฟูก และแบบลอนทั่วไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตกแต่งที่ต้องการ มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี แสงสว่างส่องผ่านได้มาก ขึ้นอยู่กับสีที่เลือกใช้
ข้อดี: สวยงาม แข็งแรง น้ำหนักเบา ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าโครงสร้าง ยืดหยุ่น ดัดโค้งได้ มีให้เลือกหลายแบบ หลายสี
ข้อเสีย: เกิดคราบสกปรกได้ง่าย เช่น ตะไคร่น้ำ เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเริ่มขุ่นและซีดจาง อาจมีเสียงรบกวนบ้างเมื่อฝนตก
หลังคาโปร่งแสงใช้กับจุดไหนของบ้านได้บ้าง
ภาพ: หลังคาแบบใสในส่วนต่อเติมบ้าน
- กันสาดประตู หน้าต่าง หากประตูหรือหน้าต่างบ้านตั้งอยู่ทางทิศที่แดดส่องเข้าถึง หรือฝนสาดเข้าตัวบ้านเต็ม ๆ สามารถติดตั้งหลังคาโปร่งแสงเพิ่มเติมได้ เพื่อลดปริมาณน้ำฝนที่สาดเข้าบ้าน ป้องกันการรั่วซึมบริเวณขอบประตู หน้าต่าง
- หลังคาลานซักล้าง อยากได้หลังคาที่ทั้งกันฝนแต่ก็ยังรับแสงแดดได้เต็มที่ หลังคาแบบใสถือว่าตอบโจทย์ เพราะหากจะทำงานบ้านนอกบ้านก็ไม่ต้องกลัวร้อน หรือถ้าตากผ้าไว้ก็ช่วยกันฝน แต่ก็รับแดดในช่วงแดดออกได้เช่นกัน
- พื้นที่ต่อเติมส่วนอื่น ๆ จะต่อเติมโรงจอดรถ ครัวหลังบ้าน พื้นที่พักผ่อน หลังคาโปร่งแสงก็เหมาะสมทั้งสิ้น โดยเลือกได้ว่าจะติดตั้งเป็นหลังคาแบบใสทั้งหมด หรือเสริมกับกระเบื้องมุงหลังคา โดยจะต้องสำรวจทิศทางแสงให้ดีเสียก่อน
ป้องกันการรั่วซึมระหว่างแผ่นหลังคาโปร่งแสงด้วยจระเข้ โพลี ยู ซีล
ภาพ: จระเข้ โพลี ยู ซีล
ภาพ: จระเข้ โพลี-ยู ซีล (โพลียูริเทนอุดรอยต่อ สำเร็จรูป ใช้งานง่าย แห้งเร็ว)
สั่งซื้อ: จระเข้ โพลี-ยู ซีลได้เลยตอนนี้ คลิก
มาถึงตรงนี้ต้องมีคนสนใจหลังคาโปร่งแสงกันมากขึ้นแล้วแน่ ๆ นอกจากจะต้องเลือกวัสดุให้แข็งแรงทนทาน และเหมาะกับงบประมาณที่จะใช้แล้ว อย่าลืมเก็บรอยต่อระหว่างแผ่นหลังคาแบบใสด้วยจระเข้ โพลี ยู ซีล โพลียูริเทนซีลแลนท์สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน เหมาะสำหรับอุดรอยต่อพื้นที่ที่มีโอกาสเคลื่อนตัว ยืดหยุ่นตัวสูงได้ถึง 700% ทนต่อสภาพอากาศต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะกับการเก็บงานรอยต่อระหว่างกระเบื้องมุงหลังคา เพื่อป้องกันการรั่วซึมได้อีกทางหนึ่ง ช่วยป้องกันความเสียหายที่จะต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมาก สั่งซื้อ: จระเข้ โพลี-ยู ซีลได้เลยตอนนี้ คลิก