พี่เข้ขอเสนอ…แบบบ้านต้านพายุฝน!
พายุฝนถือเป็นภัยธรรมชาติที่มักสร้างความเสียต่อบ้านเรือนหลายจังหวัดในประเทศไทย อีกทั้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ เตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรชาติในทุกรูปแบบ รวมถึงสร้างบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย
ถ้าไม่อยากอยู่อย่างหวาดกลัวว่าบ้านจะได้รับความเสียหายหนักแค่ไหนในช่วงฟฤดูฝน พี่เข้มีแบบบ้านต้านพายุฝนมาแชร์ครับ
ห้าม! วางผังบ้านเป็นรูปตัว L หรือตัว U
เนื่องจากเหลี่ยมของมุมบ้านจะเกิดมุมดักลม ทำให้กระแสลมไม่สามารถไหลผ่านไปได้ ซึ่งทำให้เกิดลมสะสมที่ปะทะบริเวณหัวมุมทำให้อาคารเกิดความเสียหาย ดังนั้น ควรออกแบบผังบ้านรูปเหลี่ยมครบมุมที่มีขนาดกระทัดรัด เพื่อลดแรงปะทะที่รุนแรง โดยสามารถทำได้ทั้งแบบสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือรูปทรงหลายเหลี่ยม อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือไม่ควรยื่นพื้นเกิดออกมามากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดลมปะทะได้
เลือกหลังคาทรงปั้นหยา
เป็นประเภทหลังคาที่สามารถป้องกันแรงปะทะได้ดี โดยควรเพิ่มมุมหลังคาให้ครอบคลุมพื้นที่บ้าน จะได้รับแรงปะทะจากลมพายุได้รอบด้าน รวมถึงควรออกแบบให้มีหลายแผง และหลายมุมจั่ว ซึ่งจะช่วยต้านแรงปะทะได้ดีขึ้น
เลือกใช้โครงสร้างที่แข็งแรง
เพื่อความแข็งแรงของบ้าน โครงสร้างเหล็กเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากที่สุด เนื่องจากเหล็กมีคุณสมบัติที่รับแรงดึงได้ดีกว่า อีกทั้งสามารถดูดซับแรง และรักษารูปทรงให้คงสภาพอยู่ได้ ป้องกันการแตกหักพังทลายได้ดี
สร้างช่องลมใต้หลังคา
เพื่อป้องกันบ้านร้อนอบอ้าว แนะนำให้สร้างช่องลมบริเวณใต้หลังคา โดยเลื่อนลงมาประมาณ 1 ฟุต วัดจากจุดสูงสุดของหน้าจั่ว โดยจะช่วยลดแรงลมที่อาจทำลายโครงสร้างหลังคา หรือพัดผืนหลังคาหลุดออกไป
เชื่อมโครงสร้างให้ยึดติดกัน
การเชื่อมโครงสร้างหลังคากับเสาและผนังบ้านให้ยึดติดกันแบบแนบสนิท จะช่วยเสริมแข็งแรงได้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการป้องกันลมพัดหลังคาปลิวออกจากตัวบ้านได้เช่นกัน นอกจากนี้ควรเลือกใช้กระเบื้องมุงแบบเหล็ก รวมถึงมีระยะยึดเกาะแบบถี่ๆ เพื่อที่จะช่วยเพิ่มจุดยึดเกาะให้แน่นหนาขึ้นบนผืนหลังคา อีกทั้งการปูกระเบื้องชายคายื่นออกไปไม่เกิน 50 เซนติเมตร ก็ช่วยลดพื้นที่รับปะทะได้
ออกแบบชายคาให้แยกจากหลังคา
การแยกโครงสร้างกันสาดออกจากโครงหลังคา สามารถช่วยลดความเสียหายเมื่อเกิดลมพายุได้ โดยให้ทำชายคายื่นออกมาจากคาน หรือระเบียง
เลือกใช้เชิงชายและไม้ปิดลอน
นอกจากจะช่วยป้องกันสัตว์ต่างๆ อาทิ หนู นก รวมถึงแมลงหลากชนิดแล้ว ยังช่วยลดปริมาณลมที่พัดเข้าใต้หลังคาอีกด้วย
สร้างบ้านต้านพายุได้จริงหรือ ? ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ออกแบบบ้านที่เหมาะสม รวมถึงเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ไม่ส่งผลเสียทำให้บ้านได้รับความเสียหายภายหลัง และอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน การรับมือกับพายุฝนที่โหมกระหน่ำ!โดยมีวิธีดังนี้
ทำความสะอาดหลังคาบ้าน
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึม รวมถึงหากหลังคารับน้ำในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นควรหมั่นทำความสะอาดหลังคาบ้านให้ปราศจากสิ่งอุดตัน รวมถึงตรวจสอบว่ามีรอยร้าว รอยแตกหักหรือไม่ เพื่อจะได้ทำการซ่อมแซมได้ทันท่วงที
ตรวจเช็คกระเบื้องหลังคา
หากมีลมพายุรุนแรงมีส่วนทำให้กระเบื้องหลังคาปลิวหลุดออกไปได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบว่ากระเบื้องหลังคาแผ่นไหนที่ได้รับความเสียหาย หรือแตกหัก เพื่อจะได้ทำการซ่อมแซม
ตัดแต่งกิ่งไม้ให้เป็นระเบียบ
กิ่งก้าน และรากของต้นไม้คืออีกหนึ่งสาเหตุที่สร้างความเสียหายต่อตัวบ้านได้เช่นกัน ดังนั้นควรหมั่นตัดแต่งกิ่งไม้ให้เรียบร้อย และตรวจสอบรากต้นไม่ว่าแข็งแรงดีหรือไม่
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ่อมแซมภายหลัง นอกจากเลือกช่างที่มีความรู้ความสามารถแล้ว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สร้างบ้านจากจระเข้ พร้อมมอบโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน จะกี่พายุฝนก็ไม่หวั่น ไร้ปัญหาการซ่อมแซมที่ไม่รู้จบ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมบ้าน! มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร ?
ฝนสาดเข้าห้องนอน! แก้ปัญหาอย่างไรดี ?
ฝนตกหนักบ้านอับชื้น มีเชื้อราดำ! รับมือกับปัญหาอย่างไรดี ?
ติดตามข้อมูลข่าวสาร Line Official Jorakay ได้ที่นี่