สวนดาดฟ้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการทำตกแต่งสวนสำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นดาดฟ้าทาวน์เฮ้าส์ หรือดาดฟ้าตึกแถว แต่นอกจากวิธีการปลูกต้นไม้แล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมสำหรับจัดสวนบนดาดฟ้าอีกด้วย วันนี้ตามจระเข้มาดู 7 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มทำสวนบนดาดฟ้ากันว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง?
7 สิ่งที่ควรคำนึงถึง ก่อนเริ่มทำสวนดาดฟ้า
ภาพ: สวนดาดฟ้า
1. สำรวจโครงสร้างอาคาร
ภาพ: ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
สำหรับทาวน์เฮ้าส์หรือตึกแถว ก่อนจะเริ่มลงมือจัดสวนบนดาดฟ้า ควรตรวจสอบโครงสร้างให้ดีเสียก่อน ว่าอาคารรองรับน้ำหนักได้มากเท่าไหร่ เพราะการแต่งสวนดาดฟ้านั้นต้องรับน้ำหนักเป็นจำนวนมาก ทางที่ดีควรให้วิศวกรเป็นผู้ตรวจสอบสภาพโครงสร้างอาคาร รวมถึงตำแหน่งที่มีรอยแตกร้าวและการรั่วซึม
2. ซ่อมแซมรอยแตกร้าว
ภาพ: รอยแตกร้าวที่พื้นดาดฟ้า
หลังจากตรวจสอบสภาพโครงสร้างอาคารเรียบร้อยแล้ว หากพบรอยแตกร้าวควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย โดยส่วนใหญ่รอยแตกร้าวที่พบเห็นได้บ่อยมักจะอยู่บริเวณพื้นดาดฟ้าซึ่งมักมีรอยแตกร้าวเป็นเส้นตรง ทั้งที่อยู่บนพื้นผิวและแตกร้าวลึกลงใต้ซีเมนต์ และรอยต่อระหว่างผนังและพื้นดาดฟ้า จึงควรใช้จระเข้ รีแพร์ มอร์ต้า ซีเมนต์สำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าวที่มีความหนาตั้งแต่ 3-40 มม. ปรับปรุงความเสียหายให้เรียบร้อย และทำกันซึมด้วยเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง
3. การทำกันซึม
ภาพ: ทาซีเมนต์กันซึม
เนื่องจากสวนบนดาดฟ้าเป็นพื้นที่ที่ต้องสัมผัสน้ำและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยตรง หากไม่ทำกันซึมให้ดีก็จะส่งผลให้ความชื้นสะสมอยู่ในพื้นผิวคอนกรีต และส่งผลให้เกิดปัญหารั่วซึมตามมาได้ และหากปล่อยไว้นานเกินไปก็จะทำให้เสียหายถึงโครงสร้างซึ่งทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำกันซึมที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
4. ระบบประปา
ภาพ: ระบบประปาบนสวนดาดฟ้า
แน่นอนว่าเป็นการจัดสวนบนดาดฟ้าก็ต้องมีระบบน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้รดน้ำต้นไม้ได้อย่างสะดวกไม่ต้องนำน้ำขึ้นมาจากชั้นล่าง โดยควรมีก๊อกน้ำบนสวนดาดฟ้าอย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้ทั่วถึง หรือจะเลือกใช้สายยางรดน้ำหรือระบบรดน้ำอัตโนมัติก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ความเหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ และงบประมาณที่จะใช้ด้วย
5. การกระจายน้ำหนักที่เหมาะสม
ภาพ: สวนดาดฟ้า
น้ำหนักเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดสวนบนดาดฟ้า ต้องกระจายน้ำหนักการปลูกต้นไม้ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างอาคาร โดยควรแบ่งโซนการปลูกต้นไม้ให้ดี สำหรับต้นไม้ที่มีน้ำหนักมากควรวางบริเวณที่ตรงกับแนวเสาและคาน
ต้นไม้น้ำหนักปานกลางควรวางใกล้กับแนวคาน และสุดท้าย คือตำแหน่งพื้นดาดฟ้าสามารถวางต้นไม้ขนาดเล็กหรือมีน้ำหนักน้อยได้ รวมถึงใช้เป็นพื้นที่ปูวัสดุที่มีน้ำหนักน้อย เพื่อทำทางเดินหรือพื้นที่พักผ่อนบนสวนดาดฟ้า
6. ระบบไฟฟ้า
ภาพ: ไฟตกแต่งสวนดาดฟ้า
สำหรับระบบไฟฟ้าส่องสว่างบนสวนดาดฟ้า ควรติดตั้งเบรกเกอร์เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และควรเลือกสวิตช์และปลั๊กไฟสำหรับใช้ภายนอกอาคาร และมีฝาครอบป้องกันน้ำเพื่อเสริมความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง
สำหรับสายไฟควรติดตั้งในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากระดับน้ำ ไม่มีน้ำไหลผ่าน หรือร้อยสายไฟใส่ท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันความร้อนและความชื้นจากสภาวะอากาศ และยังช่วยป้องกันแมลงและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายสายไฟอีกด้วย
7. เลือกต้นไม้ให้เหมาะสม
ภาพ: ต้นไม้ในสวนดาดฟ้า
หลังจากเตรียมระบบสำหรับสวนดาดฟ้าเรียบร้อยแล้ว ควรเลือกต้นไม้ให้เหมาะกับการแต่งสวนดาดฟ้า โดยคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น แสงแดด ความร้อน การดูแลรักษา ไปจนถึงการเลือกภาชนะที่จะใช้ปลูก เพราะสวนบนดาดฟ้าเป็นพื้นที่ที่โดนแดดและความร้อนอยู่ตลอด
หากเลือกต้นไม้ที่ไม่ทนความร้อนก็จะทำให้ดูแลได้ยาก หรือหากเป็นผู้ที่ไม่มีเวลาในการดูแลมากนัก ก็ควรเลือกต้นไม้ที่ชอบแสงแดด ต้องการน้ำน้อย เช่น แคคตัส เพื่อประหยัดเวลาในการดูแล
นอกจากนี้ควรคำนึงถึงภาชนะที่จะใช้ปลูกต้นไม้ด้วยว่าต้องการใช้ในภาชนะใด เช่น กระบะปลูก กระบะลอยตัวยกสูง กระถางพลาสติกหรือกระถางดินเผา เพราะอย่าลืมว่าบนดาดฟ้าไม่ได้มีแค่แสงแดดเท่านั้น แต่ยังมีลมอีกด้วย หากเลือกใช้ภาชนะปลูกไม่สอดคล้องกับตำแหน่งที่วางก็อาจทำให้เกิดปัญหาลมพัดต้นไม้เคลื่อนที่หรือล้มได้
ได้รู้จักกับ 7 สิ่งที่ควรคำนึงถึง ก่อนเริ่มทำสวนดาดฟ้ากันไปแล้ว ก็อย่าลืมทำกันซึมบนดาดฟ้าด้วยจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ที่จะช่วยให้สวนบนดาดฟ้าของทุกคนปลอดภัยจากปัญหารั่วซึม!
ป้องกันปัญหารั่วซึมบนดาดฟ้าด้วยจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ (Crocodile Flex Shield) เป็นซีเมนต์ทากันซึมชนิดยืดหยุ่น แบบส่วนผสมเดียว เหมาะสำหรับทากันซึมบนพื้นที่ดาดฟ้า เพราะทนต่อสภาวะอากาศ ทนต่อรังสี UV และยังปล่อยเปลือยได้โดยไม่ต้องต้องกังวลเรื่องพื้นผิวหลุดล่อน ทนแรงน้ำได้กว่า 1.5 bar โดยไม่รั่วซึม เนื้อซีเมนต์อ่อนตัวสูงแต่ยึดเกาะได้ดี จึงช่วยปกปิดรอยร้าวได้อีกด้วย จึงเหมาะสำหรับพื้นผิวที่มีการเคลื่อนตัวไม่เกิน 0.75 มม. อีกทั้งยังไม่มีสารพิษจึงใช้ทำบ่อเก็บน้ำดื่ม หรือบ่อปลาได้อีกด้วย
วิธีใช้งานจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
- เตรียมพื้นผิว ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด ปราศจากฝุ่นผง สิ่งสกปรก คราบน้ำมัน และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ หลังจากพื้นผิวสะอาดแล้วพรมน้ำเพื่อลดความร้อนบนพื้นผิวก่อนเริ่มทาจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์
- ผสมซีเมนต์กันซึม ผสมจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์กับน้ำตามอัตราส่วนบนผลิตภัณฑ์ แล้วปั่นด้วยสว่านความเร็วรอบต่ำ ควรใช้งานให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง หากส่วนผสมเริ่มแข็งตัวห้ามเติมน้ำแล้วนำกลับมาใช้
- ทาจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ให้ทั่ว ใช้แปรงหรือลูกกลิ่งทาลงบนพื้นผิวที่ต้องการทั้งหมด 2 รอบ โดยหลังจากทารอบแรกให้ทิ้งไว้ 30-90 นาที จากนั้นทารอบที่ 2 ให้ตั้งฉากกับรอบแรก
- ทิ้งไว้ให้แห้ง หลังจากทาจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์เรียบร้อยแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยปกป้องผิวไม่ให้โดนน้ำเป็นเวลา 3 วัน หากต้องการปูกระเบื้องทับให้ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน หากเป็นบ่อเก็บน้ำหรือบ่อปลาให้ทิ้งไว้ประมาณ 7-14 วัน
การทำสวนดาดฟ้านอกจากจะเป็นการสร้างพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นงานอดิเรกในพื้นที่จำกัดแล้ว ก็ยังเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ช่วยให้ทุกคนได้สำรวจโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ว่ายังสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ หากมีปัญหาก็จะได้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที สำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำกันซึมดาดฟ้าก็อย่าลืมนึกถึงจระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ซีเมนต์กันซึมที่จะช่วยป้องกันปัญหารั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ