อยากมีบ้านสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ทำอย่างไร?
หากใครเคยเดินทางไปเยี่ยมชมสเน่ห์ของจังหวัดภูเก็ต ต่างต้องเดินทางไปยังจุดเดียวกัน นั่นก็คือถนนตามตรอกในตัวเมืองภูเก็ต ซึ่งมักถูกจัดอยู่ในแพ็คเกจท่องเที่ยวของรถนำเที่ยวพื้นเมืองที่จะพาคุณชมบ้านที่ตกแต่งทาสีด้วยโทนส้มเหลือง ที่มองดูสวยงามแบบวินเทจ เหมือนกับก้าวย้อนเข้าไปสู่ยุคพีเรียต
แบบบ้านสไตล์ชิโนโปรตุกีส เป็นบ้านที่สร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้รับอิทธิพลการออกแบบผสมผสานกันระหว่าง จีน มลายู และโปรตุเกส โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2456 เป็นผู้ดูแลการวางผังเมือง ให้เป็นกริดตาราง เพื่อการคมนาคมที่สะดวก และเป็นระเบียบ ซึ่งอาคารต่าง ๆ สร้างโดยนักธุรกิจที่ทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก รวมระยะเวลาเกือบ 170 ปีแล้ว ที่บ้านยุคโบราณนี้ได้เผยโฉมให้คนพื้นเมืองและนักท่องเที่ยวได้เห็น ซึ่งเป็นคำตอบของผู้ที่สงสัยว่าบ้านปูนนั้นมีอายุได้กี่ปีกันแน่?
เดินดูบ้านไทยแบบชิโน โปรตุกีส ได้ที่ไหนบ้าง?
หากอยากไปนั่งรถเที่ยวชมเมืองภูเก็ต ก็สามารถชมทัศนียภาพอาคารที่สร้างสไตล์ชิโนโปรตุกีสได้ที่ ถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 210 ไร่ เป็นพื้นที่ควบคุมไม่ให้มีการสร้างอาคารสูง สไตล์บ้านชิโนโปรตุกีสนี้จะโดดเด่นแตกต่างกัน บางอาคารก็ออกแนวทรงจีนมากกว่า บางอาคารก็เป็นทรงโคโลเนียล และมีใบไม้เป็นคิ้วบัวนูนสูง ยกตัวอย่างอาคารที่ได้รับการดูแลให้มีสภาพดีและยังใช้งานได้ถึงปัจจุบัน มีดังนี้
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เคยเป็นอาคารที่สร้างเป็นโรงเรียนให้แก่ลูกหลานของนายเหมืองในจังหวัดภูเก็ต
อาคารเลขที่ 24 คริสเตียนสถาน
อาคารเลขที่ 27 เจ้าของเก่าคือ ตันเลี่ยนหิ้น ผู้ทำธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าไปปีนัง และเป็นผู้ผลิตซอสเจ้าแรกของภูเก็ต
อาคารเลขที่ 37 ถลางเกสเฮาส์
อาคารเลขที่ 56-58 บ้านของนายเหมืองขุนเลิศโภคารักษ์ เจ้าของบริษัทโฮ้ยเซี้ยง
อาคารเลขที่ 97 บ้านของตระกูลถาวรว่อง เป็นบ้านที่ตกแต่งสไตล์จีน เปิดให้ผู้สนใจได้เข้าชม
อาคารเลขที่ 135 ร้านขายผ้า ชื่อสิริรัตน์ ตกแต่งด้วยกระเบื้องตุ๊กตาปูนปั้นแบบจีน
นอกจากจังหวัดภูเก็ตแล้วเรายังเห็นบ้านสไตล์นี้อยู่ในจังหวัดระนอง กระบี่ และ แถบพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งครั้งหนึ่งบ้านสไตล์ชิโนโปรตุกีสเคสเป็นสไตล์ที่บ่งบอกรสนิยมของกลุ่มผู้ที่มีฐานะ ดังนั้นจึงมักส่งอิทธิพลไปยังการออกแบบบ้านในสถานที่อื่น ๆ ด้วย ในกรุงเทพเราก็อาจจะเห็นบ้านสไตล์นี้อยู่มาก
หลังจากที่ได้ชมที่มาของบ้านสไตล์ชิโนโปรตุกีสแล้ว หากอยากมีบ้านสไตล์นี้ต้องทำอย่างไร ? คุณสามารถสเก็ตภาพแบบบ้านในใจและปรึกษากับผู้รับเหมา หรือ บริษัทที่รับออกแบบบ้าน ซึ่งจะได้รับการร่างที่ตรงใจกับคุณมากที่สุด บ้านสไตล์นี้เหมาะกับการสร้างใหม่ทั้งหลัง หรือหากซ่อมแซมจากอาคารเก่า ๆ ก็อาจจะต้องเจาะช่องอาเขต เพื่อให้เป็นโถงทางเดินตามแบบสไตล์ชิโนโปรตุกีส
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของแบบบ้านสไตล์ชิโนโปรตุกีส คือการทาสีประเภทสีซีเมนต์ ซึ่งสมัยก่อนใช้ผงสีผสมกับเนื้อซีเมนต์แล้วฉาบทา หรือทาสีลงซีเมนต์ในขณะที่สียังไม่แห้งสนิท แต่ปัจจุบันนี้คุณสามารถเลือกใช้สีคัลเลอร์ซีเมนต์ที่มี Chart สีให้เลือกมากกว่า 40 สี เพื่อให้ตรงใจกับแบบบ้านที่คุณต้องการได้มากที่สุด
ซึ่งปัจจุบันนี้อาคารโบราณหลายแห่ง ก็ได้เลือกใช้สีจระเข้คัลเลอร์ซีเมนต์เป็นตัวช่วยในการบูรณะสีให้สวย สดใส กลับมามีชีวิตอีกครั้งเหมือนในอดีต ยกตัวอย่างเช่น วังเก่า พิพิธภัณฑ์ อาคารโบราณ ซึ่งเป็นการปรับปรุงสีของอาคารที่ยังมีโครงสร้างซีเมนต์เดิมดีอยู่ ถือเป็นการได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างประทับใจ หากคุณมีข้อสงสัยที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับการใช้สีคัลเลอร์ซีเมนต์ สอบถามได้ที่ฝ่ายบริการลูกค้า โทร 02 720 1112 ได้ในเวลาทำการ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อจำกัดการ “ปูกระเบื้อง” ภายในและภายนอกอาคาร by Jorakay
Method statement งานระบบกันซึมห้องน้ำในอาคาร (กรณีปูทับกระเบื้องเดิม)
Method statement งานระบบกันซึมห้องน้ำในอาคาร - สกัดผิวคอนกรีตเดิมออกและเท topping concrete ใหม่