ประเด็นสำคัญ
- ผนังกันเสียงเป็นวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อดูดซับเสียง ลดการสะท้อน และป้องกันไม่ให้เสียงผ่าน เลือกใช้ได้หลากหลายพื้นที่ ทั้งห้องนอน ห้องทำงาน ห้องประชุม หรือแม้แต่สตูดิโอบันทึกเสียง
- วัสดุที่ใช้ทำกำแพงกันเสียงมีให้เลือกหลายแบบ ทั้ง Shumoplast ที่ยืดหยุ่นคล้ายยาง แผ่นอะคูสติกวัสดุยอดนิยมที่ช่วยกันเสียงได้ดี และวัสดุฉนวนกันเสียงที่มีให้เลือกทั้งใยแก้ว เซลลูโลสและแบบอื่น ๆ ตามที่สะดวก
เสียงดังจากภายนอกบ้านเข้ามารบกวนชีวิตประจำวัน เป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนพบเจอ โดยเฉพาะใครที่อยู่ใกล้ถนนใหญ่ โรงงาน หรือแหล่งชุมชน ก็ยิ่งหลีกเลี่ยงเสียงดังได้ยาก ผนังกันเสียงจึงเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการความเงียบสงบ วันนี้จระเข้จะพาไปทำความรู้จักกับผนังกันเสียง ว่ามีวัสดุและแบบไหนบ้างให้เลือก รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภท พร้อมคำแนะนำในการเลือกใช้ให้เหมาะกับห้องต่าง ๆ ในบ้าน พร้อมแล้วก็ไปดูกันได้เลย
เสียงเข้าบ้านในรูปแบบไหนบ้าง?
1. Airborne Noise
Airborne Noise หรือเสียงที่เดินทางผ่านอากาศ จากจุดที่เกิดไปยังผู้รับ เสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงเครื่องจักร เสียงเหล่านี้ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของโมเลกุลในอากาศ และเมื่อเสียงเดินทางไปถึงแก้วหูของเรา มันจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สมองสามารถแปลเป็นเสียงที่เรารับรู้ได้
2. Structure-borne Noise
เสียงที่เดินทางผ่านโครงสร้าง ซึ่งจะเดินทางผ่านวัสดุที่เป็นของแข็ง เช่น เสียงการกระแทก เสียงเดิน หรือเสียงเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในอาคาร เมื่อเสียงเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น มันจะกระจายตัวไปตามโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา พื้น และผนัง ซึ่งทำให้เสียงแพร่กระจายไปทั่วพื้นที่ในอาคารได้ง่าย
สาเหตุที่เสียงทะลุเข้ามาในบ้านได้ง่าย ทั้งที่ปิดช่องว่างทุกจุดแล้ว
“ผนังหนาแน่นไม่พอ เสียงสะท้อนในห้อง และเสียงความถี่ต่ำทะลุผนังง่าย”
- การสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงรถวิ่ง เสียงคุย หรือเสียงดนตรี คลื่นเสียงจะกระจายตัวออกไปในรูปแบบการสั่นสะเทือนผ่านอากาศ ผนังบ้านจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง โดยคลื่นเสียงจะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังโครงสร้างของผนัง และหากผนังหนาแน่นไม่มากพอ เสียงจะสามารถทะลุผ่านไปได้
- เสียงสะท้อนในห้อง แม้ว่าผนังจะกันเสียงจากภายนอกได้ดี แต่ภายในห้องเองก็ยังสามารถเกิดปัญหาเสียงสะท้อนได้ เสียงที่เข้ามาผ่านผนังอาจสะท้อนกับพื้น เพดาน หรือผนังด้านอื่น ทำให้เสียงดังก้องในห้องนั่นเอง
- ความถี่ของเสียง เสียงที่มีความถี่ต่ำ เช่น เสียงเบสจากลำโพงหรือเสียงรถบรรทุก มักจะทะลุผ่านผนังได้ง่ายกว่าความถี่สูง การเลือกใช้วัสดุผนังที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดเสียงรบกวนเหล่านี้ได้
เห็นแล้วว่าเสียงเข้ามาในบ้านผ่านทางผนังได้ การก่อสร้างผนังทั่ว ๆ ไปเลยอาจจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันเสียง ตามไปดูตัวช่วยเสริมอย่างผนังกันเสียงว่าคืออะไร และจะมีแบบไหนให้เลือกบ้าง
ผนังกันเสียงคืออะไร?
"ผนังที่ออกแบบมาเพื่อดูดซับเสียง ลดการสะท้อน และป้องกันไม่ให้เสียงผ่านได้"
ผนังกันเสียงหรือผนังเก็บเสียง คือ ผนังที่ออกแบบมาเพื่อให้เสียงจากภายนอกเข้ามาในบ้านได้ยากขึ้น หรือจะเป็นเสียงจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งก็ช่วยลดเสียงได้เช่นกัน วัสดุที่ใช้ทำผนังกันเสียงมักมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง ลดการสะท้อนเสียง และป้องกันเสียงไม่ให้ผ่านไปยังพื้นที่อื่นได้ ซึ่งการเลือกใช้ผนังกันเสียงที่เหมาะสม จะช่วยลดเสียงรบกวนการใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทุกคนในครอบครัวใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ประเภทของวัสดุที่ใช้ทำผนังกันเสียง
1. Shumoplast
"ลดเสียงรบกวนและสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบ"
Shumoplast เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับการทำผนังกันเสียง มีลักษณะเป็นวัสดุเม็ดเล็ก ๆ เคลือบสีอะคริลิก ยืดหยุ่นคล้ายกับยาง โดยมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงและลดเสียงรบกวนจากภายนอก สามารถใช้ในหลายประเภทของอาคาร เช่น อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม
จุดเด่น: อายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนทานต่อการใช้งานและสภาพอากาศ น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
จุดอ่อน: ใช้เวลาติดตั้งค่อนข้างนาน
การใช้งาน: ผนังห้องนอน ห้องทำงาน หรือห้องประชุม
2. แผ่นอะคูสติก
"ควบคุมเสียงและลดเสียงสะท้อนในห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
ถ้าเป็นเรื่องการดูดซับเสียงคงต้องยกให้แผ่นอะคูสติก (Acoustic Panels) วัสดุที่ออกแบบมาเพื่อดูดซับและควบคุมเสียงในห้อง มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งโฟม โพลียูรีเทน ใยแก้ว หรือวัสดุผสมอื่น ๆ ที่ช่วยลดเสียงสะท้อนและเสียงรบกวน
จุดเด่น: มีสีสันและรูปแบบให้เลือกหลากหลาย ช่วยลดเสียงที่เข้ามาจากภายนอก น้ำหนักเบา ติดตั้งกับโครงสร้างอาคารได้ง่าย
จุดอ่อน: ราคาสูง บางชนิดอาจไม่ต้านทานไฟ
การใช้งาน: สตูดิโอบันทึกเสียง ห้องเรียน หรือห้องประชุม
3. Isoplast
"น้ำหนักเบา ทนต่อความชื้น ใช้ได้หลายสถานที่"
Isoplast หรือวัสดุไอโซปลาสต์ เป็นวัสดุที่มีโครงสร้างแบบโฟม หรือพอลิเมอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มความพิเศษในการดูดซับเสียงและการกันเสียง มักถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างและการตกแต่งภายใน เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนสูง เช่น อาคารที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนใหญ่ โรงงาน หรือบริเวณที่มีเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ
จุดเด่น: น้ำหนักเบา ไม่เพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้าง ลอดสารพิษ ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใช้งานได้ยาวนานคุ้มค่าการลงทุน
จุดอ่อน: ราคาสูง ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำ
การใช้งาน: ห้องนอน ห้องประชุม ห้องทำงาน พื้นที่สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม
4. วัสดุฉนวนกันเสียง
"ดูดซับหรือสะท้อนเสียงเพื่อลดการแพร่กระจายของเสียง"
วัสดุฉนวนกันเสียง (Soundproof Insulation) เป็นวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก หรือป้องกันไม่ให้เสียงจากภายในห้องทะลุผ่านออกไปยังภายนอก เลือกได้หลายแบบทั้งใยแก้ว เซลลูโลส โฟมโพลียูรีเทน และฉนวนใยหิน มีคุณสมบัติดูดซับหรือสะท้อนเสียง เพื่อลดการแพร่กระจายของเสียง และยังช่วยลดเสียงสะท้อนภายในห้องเอง ทำให้เสียงภายในห้องมีคุณภาพมากขึ้น
จุดเด่น: ช่วยลดเสียงจากภายนอก บางประเภทช่วยรักษาอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ เช่น ใยแก้วหรือเซลลูโลส และยังช่วยควบคุมคุณภาพเสียงได้ด้วย
จุดอ่อน: ต้นทุนการติดตั้งสูงกว่าประเภทอื่น บางประเภทอาจต้องติดตั้งด้วยวิธีที่ซับซ้อน
การใช้งาน: ห้องประชุม ห้องทำงาน สตูดิโอ ห้องบันทึกเสียง หรือโรงภาพยนตร์
วางแผนต่อเติมกั้นห้อง เลือกผนังแบบไหนดี จระเข้มีคำตอบ!
ใครที่กำลังวางแผนปรับปรุงบ้านใหม่ จะกั้นห้องหรือทำฉากกั้นให้เป็นส่วนตัว กำลังหาไอเดียว่าจะใช้ผนังแบบไหนดีมาปรับปรุงห้อง ลองไปดูความรู้ดี ๆ จากจระเข้ ที่จะมาให้ข้อมูลเรื่องการเลือกผนังเบากั้นห้อง ว่ามีวัสดุแบบไหนให้เลือกใช้ได้บ้าง รับรองตอบโจทย์ทุกห้อง ผนังเบากั้นห้องคืออะไร เหมาะกับห้องแบบไหน เลือกใช้วัสดุอะไรได้บ้าง
ติดตั้งผนังกันเสียง โครงสร้างต้องเรียบ ควรเลือกจระเข้ สกิมโค้ท สมูท
ภาพ: จระเข้ สกิมโค้ท สมูท
รู้จักกับผนังกันเสียงกันไปแล้ว ถ้าใครอยากจะเลือกมาติดตั้ง เพื่อให้ผนังบ้านแข็งแรง ไม่ต้องซ่อมแซมกันบ่อย ๆ ควรเตรียมพื้นผิวโครงสร้างผนังให้พร้อมก่อนด้วย จระเข้ สกิมโค้ท สมูท ปูนฉาบบางชนิดเนื้อละเอียด ฉาบบางตั้งแต่ 0.3-3 มม. ทาสีหรือปูวัสดุต่าง ๆ ปิดทับต่อได้ และยังมาพร้อมคุณสมบัติอื่น ๆ อีกไม่ว่าจะเป็น
- ปรับพื้นผิวให้สม่ำเสมอ ไม่หลุดล่อน ไม่เป็นฝุ่น
- เปลี่ยนผนังคอนกรีตให้เรียบเนียน ผิวแข็งแกร่ง
- ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก ทนทานต่อสภาวะอากาศได้ดี
- ไม่มีสารระเหยประกอบอินทรีย์วัตถุ (Zero VOC)
ชมรายละเอียดจระเข้ สกิมโค้ท สมูท สั่งซื้อจระเข้ สกิมโค้ท สมูท
อยากได้ผลิตภัณฑ์จระเข้มาดูแลบ้าน ลองเข้าไปหาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์กันได้ที่เว็บไซต์จระเข้ เพียงเลือกภูมิภาค จังหวัด และเขตหรืออำเภอ เพียงเท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าร้านค้าแถวบ้านร้านไหนที่มีสินค้าคุณภาพรออยู่ หรือจะลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราดูก่อนก็ได้ ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี ให้ตอบโจทย์บ้านของเรามากที่สุด